Archives 2019

เสวนาวิชาการ “ธุรกิจเพื่อสังคม”

กลุ่มจิตตปัญญาและภาวะผู้นำทางจริยธรรม จัดเสวนาวิชาการเรื่องธุรกิจเพื่อสังคม : ทฤษฎีและบทเรียนจาก University of California Berkeley โดยได้รับเกียรติจากคุณ Brighid O’Keane ผู้ร่วมก่อตั้งสหกรณ์อาหารนักศึกษาของ ​ University of California Berkeley และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพ.ปัตพงษ์  เกษสมบูรณ์ อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมเสวนาในครั้งนี้ ณ ห้องบรรยาย 1

คุณ Brighid O’Keane กล่าว​โดยมีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า “การจัดการองค์กรและการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของนักศึกษาที่อเมริกาถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีและเป็นก้าวเล็ก​ ๆ​ ของนักศึกษาในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและสังคม”

นอกจากนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพ.ปัตพงษ์  เกษสมบูรณ์ อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ ​ ได้พูดถึงแนวทางการประกอบธุรกิจเพื่อสังคมว่า “การจะทำธุรกิจ​เพื่อสังคมหรือส่วนรวมนั้น​ต้องมองถึงความเป็นไปได้ว่าภาคส่วนไหนควรที่จะเข้ามามีส่วนร่วมด้วยช่วยกัน​ หากมองภาพรวมขณะนี้ของสังคมไทยภาคส่วนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือรัฐและเอกชน​ ภาคส่วนที่น้อยที่สุดคือภาคสังคม​ คือภาคสังคมของเรามีขนาดเล็กและโตช้า​ เป็นไปได้ว่าวันหนึ่งหากภาคสังคมของเรามีขนาดใหญ่พอๆกันกับภาครัฐและเอกชน​ การเกิดธุรกิจ​เพื่อสังคมจะเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ​”

ในการเสวนาวิชาการในครั้งนี้ได้สร้างพื้นที่การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ให้กับนักศึกษาและบุคลากร เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากผู้ที่มีประสบการณ์ตรงในการขับเคลื่อนขบวนการของนักศึกษาในการพัฒนาสังคมได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยสร้างความตระหนักรู้ถึงความรับผิดชอบต่อสังคมอันเป็นฐานสนับสนุนสำคัญของการเป็นนักกฎหมายที่ดีต่อสังคมต่อไป

IMG_0693 IMG_0695 IMG_0660 IMG_0661 IMG_0667 IMG_0672 IMG_0676 IMG_0679 IMG_0688

แสดงผลงานเครือข่ายสิทธิมนุษยชน “ศิลปะเพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ”

เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2562 ศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมจัดนิทรรศการภาพวาดศิลปะของนักเรียนจาก “โรงเรียนเครือข่ายเยาวชนสิทธิมนุษยชน” ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล  ณ ศูนย์การเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

 

กิจกรรมภายในงาน ประกอบไปด้วย นิทรรศการภาพถ่ายประเด็นทางสังคมต่าง นิทรรศการภาพวาดศิลปะ ประเด็น “การใช้ทรัพยากรในอนาคต” และ “สิทธิมนุษยชน” ของเครือข่ายเยาวชนสิทธิมนุษยชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิจกรรมการรณรงค์แคมเปญ #myclothesspace นอกจากนี้ในห้องมินิเธียเตอร์ ชั้น 3 มีการแสดงดนตรีเพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติภาพจากวงสามัญชน การแสดงละครใบ้จากกลุ่ม Pantomime Life กิจกรรมแสดงภาพถ่าย (Photo-essay) ประเด็นทางสังคม สิ่งแวดล้อม การเมืองและสิทธิมนุษยชน จากกลุ่ม Realframe และการฉายภาพยนตร์สารคดีเรื่อง WHERE TO INVADE NEXT

โดยกิจกรรมงาน “ศิลปะเพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ” ในครั้งนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงการสร้างความตระหนักและการรับรู้ให้กับสังคมในประเด็นสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ  ซึ่งมิใช่การขับเคลื่อนได้แต่เฉพาะในเชิงวิชาการเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถใช้งานศิลปะแขนงต่างๆ เข้ามาช่วยทำให้เนื้อหาหรือประเด็นที่ต้องสื่อสารกับสังคมมีความน่าสนในมากขึ้นได้ด้วย  เนื่องจากการสื่อสารเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนและสันติภาพนั้น มีทั้งเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกซึ่งถ่ายทอดผ่านศิลปะได้เป็นดี

ทั้งนี้การเข้าร่วมจัดงานนิทรรศการดังกล่าว นับเป็นการเปิดพื้นที่เพื่อถ่ายทอดผลงานศิลปะของเครือข่ายเยาวชนสิทธิมนุษยชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้ทำกิจกรรมการรณรงค์ส่งเสริมด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาร่วมกันระหว่างเครือข่ายเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เป็นนักเรียน นักศึกษา และบุคลากร โดยคณะได้เป็นสะพานเชื่อมโยงองค์ความรู้ (Co-Creation) สร้างแหล่งรวมชุมชนนักกฎหมายและเครือข่ายภาคประชาสังคม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้รวมถึงการสร้างพื้นที่การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางของนโยบายด้านการส่งเสริมความรู้ด้านกฎหมาย สิทธิมนุษยชน และการเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อไป

นิทรรศการศิลปะ_๑๙๐๙๒๓_0005_0 นิทรรศการศิลปะ_๑๙๐๙๒๓_0006 นิทรรศการศิลปะ_๑๙๐๙๒๓_0007 นิทรรศการศิลปะ_๑๙๐๙๒๓_0008 นิทรรศการศิลปะ_๑๙๐๙๒๓_0010 นิทรรศการศิลปะ_๑๙๐๙๒๓_0011 นิทรรศการศิลปะ_๑๙๐๙๒๓_0013 นิทรรศการศิลปะ_๑๙๐๙๒๓_0009

คณบดีนำ นศ.เข้ารายงานผลงานนักศึกษา

คณบดีคณะนิติศาสตร์ นำนักศึกษาเข้ารายงานผลงานนักศึกษาต่อท่านที่ปรึกษารักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น

เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติบดี ใยพูล คณบดีคณะนิติศาสตร์ พร้อมด้วยอาจารย์ปริศนา คำชาย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา และคณาจารย์ นำนักศึกษาเข้าพบรองศาสตราจารย์ นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล ที่ปรึกษารักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อรายงานผลงานนักศึกษาที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานภายนอก ดังนี้

1.การแข่งขันว่าความในศาลจำลอง ประจำปี 2562 (CIPITC Moot Court Competition 2019) ระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม – 23 สิงหาคม 2562 ณ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย

ทีมภาษาไทย ได้แก่ นายพีรณัฐ มาลาหอม และนางสาวพูนสิริ เยี่ยมทรัพย์
ทีมภาษาอังกฤษ ได้แก่ นางสาวชัญญานุช ศศิวิลาสกร และนางสาวกอบแก้ว ขันธะ
ผลปรากฎว่าผ่านการคัดเลือกเข้าแข่งขันรอบสุดท้าย

2. การแข่งขันตอบปัญหากฎหมายเนื่องในวันรพี ประจำปี 2562 วันที่ 7 สิงหาคม 2562 ณ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วย

ทีมที่หนึ่ง ได้แก่ นางสาวพูนสิริ เยี่ยมรัมย์ นายพีรณัฐ มาลาหอม และนายสิทธิโชค สายเสมา ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1
ทีมที่สอง ได้แก่ นายกฤตเมธ ไวโส นายกฤษกร เพชระโยธิน นางสาวกอบแก้ว ขันทะ ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 4

3. การแข่งขันตอบปัญหากฎหมายระดับอุดมศึกษา วันที่ 19 สิงหาคม 2562 ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย

ทีมที่หนึ่ง ได้แก่ นางสาวพูนสิริ เยี่ยมรัมย์ นายสหทรัพย์ วรินทรเวท และนายสิทธิโชค สายเสมา
ทีมที่สอง ได้แก่ นายกฤตเมธ ไวโส นายกฤษกร เพชระโยธิน และนางสาวกอบแก้ว ขันธะ
ผลปรากฎว่าทีมที่หนึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1

4. การแข่งขันการประนอมข้อพิพาทจำลองในข้อพิพาทเชิงพาณิชย์ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 3 – 4 กันยายน 2562 ณ สถาบันอนุญาโตตุลาการ กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย

ทีมที่หนึ่ง ได้แก่ นายณัชพล นิลเพ็ชร และนางสาวพูนสิริ เยี่ยมรัมย์
ทีมที่สอง ได้แก่ นางสาวเกียรติสุดา แสนยานุภาพ และนางสาวศิโรรัตน์ ศิริสร้อย
ผลปรากฎว่าทีมที่สองได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1

ในช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมานั้น คณะนิติศาสตร์ ได้ส่งนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการกับหน่วยงานภายนอก เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาตามนโยบายของมหาวิทยาลัยและของคณะภายใต้ยุทธศาสตร์ของคณะในเสาหลักที่ 1 โรงเรียนสอนกฎหมาย (School of Law) เพื่อบ่มเพาะและผลิตบัณฑิตทางกฎหมายที่คำนึกถึงทักษะทางวิชาการ และทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพกฎหมาย (Non-Technical Skill) โดยมีคณาจารย์ที่ดูแลและเป็นที่ปรึกษาทำหน้าที่เป็น Interactive ควบคู่กับ Information และนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้เพื่อสร้างนักกฎหมายรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงและมีนิติทัศนะรับใช้สังคมต่อไป

งานสื่อสารองค์กร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
#โรงเรียนสอนกฎหมายที่ผลิตบัณฑิตให้มีนิติทัศนะรับใช้สังคม

DSC_6334 DSC_6337 DSC_6340 DSC_6383

อบรมเชิงปฏิบัติการความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญกับการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ 14 – 15 กันยายน 2562 ที่ผ่านมาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ สมาคมส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมและมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม จัดอบรมเชิงปฏิบัติการความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ในเรื่องของสิทธิชุมชน สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารทางราชการ และพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 รวมถึงพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 พร้อมทั้งเสริมสร้างทักษะการเจรจาต่อรอง โดยมีแกนนำกลุ่มฮักแม่น้ำเลย เข้าร่วมฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน “กลุ่มฮักแม่น้ำเลย” มีการฝึกทักษะการเจรจาต่อรอง การจัดองค์กรชุมชน การทำงานเป็นทีมและการวางแผนงาน เป็นต้น อันจะทำให้ประชาชนลุ่มน้ำเลยเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ณ วัดโพธิ์ศรีหายโศก บ้านกลาง ตำบลปากตม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ซึ่งมีอาจารย์ปริศนา คำชาย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา อาจารย์กัญญารัตน์ โคตรภูเขียว อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ และอาจารย์สุวิทย์ กุหลาบวงษ์ ที่ปรึกษาคณะ ร่วมกับบุคลากร และนักศึกษาได้ลงพื้นที่ทำกิจกรรมในครั้งนี้

และโอกาสนี้ได้ลงพื้นที่ศึกษาและรับฟังสถานการณ์ในพื้นที่การก่อสร้างโครงการประตูระบายน้ำศรีสองรัก อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย เป็นโครงการที่รับผิดชอบโดยกรมชลประทาน ตั้งอยู่พื้นที่ปากแม่น้ำเลย ก่อนที่จะไหลลงสู่แม่น้ำน้ำโขง ทั้งนี้พบว่าในพื้นที่มีปัญหาความขัดแย้งระหว่างชุมชนชนที่เห็นด้วยกับโครงการและกลุ่มที่คัดค้านโครงการ เนื่องมาจากการไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอจากภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน และขาดการมีส่วนร่วมจากชุมชน จากการลงพื้นที่พบว่า ชาวบ้านมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาน้ำท่วม และไม่ทราบปริมาณการกักเก็บน้ำ เกรงว่าจะสูญเสียที่ดินจากน้ำท่วม

ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ คณะได้ทำการศึกษาปัญหาชุมชนและเผยแพร่องค์ความรู้ทางวิชาการภายใต้นโยบายเสาหลักที่ 3 การสร้างนิติทัศนะรับใช้สังคม (Social Engagement) โดยมุ่งการเปิดพื้นที่การเรียนรู้และปฏิบัติการ (Virtual Field Trip) เชื่อมโยงกับหลักสูตรให้กับนักศึกษาเพื่อเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้กฎหมายในห้องเรียนมาเป็นการเรียนรู้จากความเป็นจริงในพื้นที่ในรูปแบบ Problem Base Learning (PBL) ด้วยการสร้างชุมนุมนักกฎหมายและเครือข่ายภาคประชาสังคม เพื่อนำไปบูรณาการร่วมกันแก้ไขปัญหาของชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ปัจจุบันทั่วโลกต่างให้ความสำคัญและเป็นจุดสนใจที่ต้องร่วมแรงร่วมใจกันในการแก้ไขปัญหาโดยคนในชุมชนต้องมีความรู้ความเข้าใจเข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา และในส่วนของภาครัฐเองต้องมีการสื่อสารที่ทำให้ประชาชนในพื้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่สำคัญ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

งานสื่อสารองค์กร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

#โรงเรียนสอนกฎหมายที่ผลิตบัณฑิตให้มีนิติทัศนะรับใช้สังคม

ลงพื้นที่เชียงคาน_๑๙๐๙๑๘_0003 ลงพื้นที่เชียงคาน_๑๙๐๙๑๘_0004 ลงพื้นที่เชียงคาน_๑๙๐๙๑๘_0005 ลงพื้นที่เชียงคาน_๑๙๐๙๑๘_0007 ลงพื้นที่เชียงคาน_๑๙๐๙๑๘_0008 ลงพื้นที่เชียงคาน_๑๙๐๙๑๘_0009 ลงพื้นที่เชียงคาน_๑๙๐๙๑๘_0010 ลงพื้นที่เชียงคาน_๑๙๐๙๑๘_0012 ลงพื้นที่เชียงคาน_๑๙๐๙๑๘_0006 ลงพื้นที่เชียงคาน_๑๙๐๙๑๘_0002

คณะนิติฯ มข. คว้า ๒ รางวัลเกียรติยศ รางวัลองค์กรดีเด่นแห่งปี ๒๕๖๒ (Organization of the year 2019)

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นคณะที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้ถึงพร้อมด้วยความรู้ทางปัญญาและทักษะที่สัมพันธ์กับวิชาชีพ การจัดการศึกษาของคณะเป็นไปตามกรอบมาตรฐานทางวิชาการและมาตรฐานทางวิชาชีพ เป็นการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เน้นการใช้ความรู้สร้างนวัตกรรมเพื่อสนองตอบต่อการปรับตัวเป็นสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalizing Knowledge-based Economy)  เพราะการเรียนรู้ยุคใหม่ การเรียนและการทำงานจะกลายเป็นสิ่งเดียวกัน การเรียนคือความท้าทายตลอดชีวิต มุ่งให้นักศึกษาสร้างการค้นหา สร้างความเป็นเลิศเฉพาะตัวเพื่อเป็นพื้นฐานการเติบโตระยะยาวอย่างยั่งยืน และส่งเสริมทักษะ Soft skills พร้อมกับมีการ Share resources ให้กับสังคม นอกจากนี้ คณะจัดการศึกษาโดยการสร้างระบบนิเวศแห่งการเรียนรู้ที่ครบวงจรและทันสมัย (Lifelong Learning Ecosystem) โดยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในการเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ มีการศึกษาค้นคว้า ลงมือปฏิบัติ มีการเชื่อมโยงองค์ความรู้จากนักศึกษาผ่านกระบวนการวิจัย บริการวิชาการ นำไปสู่การถ่ายทอดเทคโนโลยี และนวัตกรรมผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมให้กับชุมชนก่อเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ในการนี้ มูลนิธิเพื่อสังคมไทยเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาของคณะที่มีผลลัพธ์ออกมาอย่างเป็นรูปธรรมก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติในหลากหลายด้านด้วยกัน อีกทั้งยังมีการบูรณาการในหลายศาสตร์เพื่อสนองตอบต่อการพัฒนากำลังคน นำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน  จึงได้มอบรางวัลเกียรติยศ  รางวัลองค์ดีเด่นแห่งปี ๒๕๖๒ (Organization of the year 2019) ให้กับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดังนี้

    ๑. รางวัลองค์กรดีเด่น สาขา ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและพลังงาน

    ๒. รางวัลองค์กรดีเด่น สาขา สิทธิมนุษยชน โดยศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

โดยมีอาจารย์วรวิทย์  ไชยตา หัวหน้าสำนักงานคณบดี และอาจารย์ดารณี ราชภูเขียว ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการบริหารเครือข่ายทางวิชาการ เป็นผู้แทนเข้ารับรางวัลในวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๒ จากพลอากาศเอกชลิต พุกผาสุก องคมนตรี ประธานในพิธี ณ ห้องชัยพฤกษ์ หอประชุมกองทัพอากาศ  กรุงเทพมหานคร

S__15843346 S__15843347 S__15843348 S__15843349 S__15843350