เสริมประสบการณ์นอกห้องเรียน เพื่อออกแบบแก้ไขปัญหาทางสังคมด้านกฎหมาย

นักศึกษา Entrepreneurial Lawyer ลงพื้นที่เรียนรู้นอกห้องเรียน เสริมสร้างประสบการณ์เพื่อร่วมกันออกแบบและแก้ไขปัญหาสังคมด้านกฎหมาย

 

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา นักศึกษาภายใต้โครงการผลิตนักกฎหมายที่มีศักยภาพด้านการบริหารจัดการธุรกิจ (Entrepreneurial Lawyer) ลงพื้นที่ศึกษาเรียนรู้เสริมสร้างประสบการณ์และสร้างกระบวนการคิดสร้างสรรค์ที่เน้นทำความเข้าใจความต้องการของกลุ่มผู้ประกอบการ และบูรณาการศาสตร์ด้านกฎหมายเพื่อช่วยแก้ไขปัญหา โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้

กลุ่ม Business and Technology ได้ลงพื้นที่ศึกษาบริษัท ขอนแก่นแห่อวน จำกัด

IMG_9294

IMG_9272

IMG_9279

กลุ่ม Business Industry ได้ลงพื้นที่ศึกษาที่บริษัท เอส.พี. ออโต้ อินดัสทรี จำกัด

ดูงานที่ SP auto_๒๐๐๒๒๖_0019

ดูงานที่ SP auto_๒๐๐๒๒๖_0035

 ดูงานที่ SP auto_๒๐๐๒๒๖_0052

กลุ่ม Social Enterprise ได้ลงพื้นที่ศึกษาที่ สวนเกษตรมีกิน อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น

สวนเกษตรมีกิน_๒๐๐๓๐๒_0001

สวนเกษตรมีกิน_๒๐๐๓๐๒_0003

สวนเกษตรมีกิน_๒๐๐๓๐๒_0005

 

 

จากการลงพื้นที่ศึกษาเรียนรู้ในครั้งนี้ ได้มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้และเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ระหว่างภาควิชาการและภาคเอกชนที่เป็นผู้ประกอบการ โดยใช้กลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนและสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) นำไปสู่กระบวนการคิดวิเคราะห์เชิงสร้างสรรค์ โดยนักศึกษาแต่ละกลุ่มจะร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้ใหม่เพื่อบริการวิชาการให้ตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการต่างๆ ร่วมถึงสร้างผลลัพธ์ให้นักศึกษาฝึกทักษะที่จำเป็น ในลักษณะ Action Learning และฝึกทักษะ Creative and Design ในการสร้างสรรค์และออกแบบ Start up ผู้ประกอบการและผู้ประกอบการเพื่อสังคมอีกด้วย

IMG_9324 IMG_9358 สวนเกษตรมีกิน_๒๐๐๓๐๒_0020 สวนเกษตรมีกิน_๒๐๐๓๐๒_0011 ดูงานที่ SP auto_๒๐๐๒๒๖_0009 ดูงานที่ SP auto_๒๐๐๒๒๖_0002

Green Law for Green Market เปิดพื้นที่สนับสนุนสินค้าปลอดภัยจากชุมชน

กลุ่มจิตตปัญญาและภาวะผู้นำทางจริยธรรม คณะนิติศาสตร์ จัดกิจกรรม GREEN LAW FOR GREEN MARKET เปิดพื้นที่สนับสนุนสินค้าจากชุมชน เพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภค สินค้าปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ

เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2563 คณะนิติศาสตร์ โดย กลุ่มจิตตปัญญาและภาวะผู้นำทางจริยธรรม ได้จัดกิจกรรม Green Law for Green Market โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะแก้ปัญหาสังคมจากปัญหาสุขภาพ มองจากจุดเล็ก ๆ สร้างคนที่มีคุณภาพรู้ทันโลก รู้ทันการเปลี่ยนแปลงสังคม รู้เท่าทันตัวเองในมิติของการที่เรากับคนในสังคมเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน หรือก็คือคนกับสิ่งแวดล้อมต้องเกื้อกูลกัน ได้เปิดพื้นที่บริเวณลานกิจกรรมให้ผู้ประกอบการสินค้าชุมชน ได้จัดจำหน่ายสินค้าและอาหารที่ประกอบผลิตเอง ซึ่งมีการรวมกลุ่มกัน เพิ่มทางเลือก ให้กับผู้บริโภคซึ่งเป็นนักศึกษา บุคลากร คณาจารย์ รวมถึงประชาชนทั่วไปที่สนใจเลือกซื้อสินค้า เป็นการสร้างโอกาส สร้างรายได้ให้กับชุมชน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมของกลุ่มนักศึกษา อาทิ ดนตรีในสวน การเสวนา “คนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลง” การออกบู้ทกิจกรรมของชมรมต่าง ๆ ในคณะนิติศาสตร์ เป็นการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ร่วมกันของนักศึกษา อีกทั้งเป็นการสร้างระบบนิเวศทางการศึกษาวิชานิติศาสตร์ (Jurisprudence Ecosystem) โดยให้ความสำคัญต่อระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน และความยุติธรรมทางสังคม อีกทั้งยังมีการรณรงค์ลดการใช้พลาสติก และใช้ถุงผ้าแทน

ในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ นายปรเมษฐ์ ศรีวงศ์ราช ตัวแทนกลุ่มกลุ่มจิตตปัญญาและภาวะผู้นำทางจริยธรรม ได้กล่าวว่า “การสร้าง Green Law for Green Market เกิดจากได้เล็งเห็นถึงปัญหาความเจริญของโลกที่เกินขนาดที่นำเอาความรู้ด้านนวัตกรรมมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการผลิตอาหารให้กับสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการเกษตรได้มีการนำสารเคมีมาใช้อย่างมาก และผลิตผลเหล่านั้นปนเปื้อนเป็นภัยต่อร่างกายในระยะยาว แต่สิ่งสำคัญ ก็คือ การมีจิตสำนึกของผู้ผลิตที่จะไม่ทำในสิ่งที่ผิดไปจากแบบแผนของการผลิตอาหารที่ดี อีกทั้งก็เป็นสิทธิผู้บริโภคที่จะต้องได้ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของทุกภาคส่วนในสังคมไม่ใช่แต่หน่วยงานราชการใดหน่วยราชการหนึ่ง”

การจัดกิจกรรม Green Law for Green Market ได้ดำเนินมาครั้งนี้เป็นครั้งที่ 5 ซึ่งจะจัดในทุกวันพุธสัปดาห์สุดท้ายของทุกเดือน ในแต่ละเดือนนอกจากการจัดจำหน่ายสินค้าและอาหารปลอดภัยแล้ว ยังมีกิจกรรมของกลุ่มนักศึกษาที่จะมาจัดเสวนาในหัวข้อตามสถานการณ์ในสังคมปัจจุบัน เพื่อแลกเปลี่ยน พูดคุยกันของนักศึกษานิติศาสตร์ รวมถึงนักศึกษาคณะอื่น ๆ ที่เข้ามามีส่วนร่วมอีกด้วย ผู้ที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารได้ทาง Facebook Fanpage : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0005 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0014 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0024 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0033 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0035 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0040 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0049 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0052 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0064 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0071 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0080 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0087 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0092 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0102 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0103 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0107 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0109 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0122 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0129 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0139

กฎหมายสิทธิมนุษยชน สร้าง Learning Outcome ผ่านการเรียนรู้ในรูปแบบ Interactive Learning

วิชากฎหมายสิทธิมนุษยชน สร้าง Learning Outcome ผ่านการเรียนรู้ในรูปแบบ Interactive Learning พร้อมเสริมทักษะที่จำเป็นในยุคปัจจุบันให้กับนักศึกษา

คณะนิติศาสตร์ ได้กระบวนการจัดการศึกษาในรายวิชา กฎหมายสิทธิมนุษยชน โดยใช้รูปแบบการสอนที่เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง (Self–Study Learning) ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ การแลกเปลี่ยน การจับประเด็น การนำเสนอข้อมูล และการทำงานเป็นทีม ตามกระบวนการเรียนรู้แบบ Interactive Leaning ที่ให้ผู้เรียนเกิดการปฏิสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน (learner– to – learner interaction)

ทั้งนี้นักศึกษาเรียนรู้ถึงคุณค่าของสิทธิมนุษยชนจากหนังสารคดี The Story of Stuff และได้ถอดบทเรียนและอภิปรายกลุ่ม เพื่อระดมความคิดเห็นว่าหลักสิทธิมนุษยชนที่ปรากฎในสารคดีมีประการใดบ้าง ตลอดจนการออกแบบระบบความสัมพันธ์ที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งนักศึกษาได้มีการเสนอความคิดเห็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชนในสารคดี เช่น สิทธิแรงงานที่ถูกละเมิด การได้รับค่าแรงต่ำ และไม่ได้รับความปลอดภัย สิทธิด้านผู้บริโภค การได้รับความปลอดภัยในการบริโภค สิทธิในด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิทธิในด้านสุขภาพ การมีอากาศที่บริสุทธิ์ เป็นต้น นอกจากนี้นักศึกษายังได้ออกแบบการแก้ไขปัญหาที่นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนี้
ในด้านการเมือง การกดดันรัฐบาลในการควบคุมผู้ประกอบการให้ทำธุรกิจคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และการออกกฎหมายจำกัดการใช้ทรัพยากร
ในด้านสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรหมุนเวียน การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การตั้งงบประมาณวิจัยการผลิตสารทดแทนสารเคมีการเกษตรที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน การมีมาตรการควบคุมสารเคมีในกระบวนการผลิต
ในด้านสังคม ให้ความรู้กับผู้บริโภค การสร้างจิตสำนึกและปลูกฝังคนในสังคมให้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตลอดจนการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

การจัดกระบวนการเรียนรู้ในครั้งนี้เพื่อสร้างผลการเรียนรู้ของนักศึกษา (Learning Outcomes) ในด้านความรู้ ทักษะทางปัญญา และด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ นับเป็นกระบวนการที่มุ่งส่งเสริมและปลูกฝังทักษะยุคใหม่ อีกทั้งยังเป็นการจัดสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ตามการสร้างระบบนิเวศทางการศึกษานิติศาสตร์ (Jurisprudence Ecosystem) อีกด้วย

วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0001 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0002 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0003 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0004 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0005 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0006 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0007 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0008 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0009 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0010 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0011 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0012 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0013 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0014 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0015 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0016 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0017 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0018

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สัมภาษณ์ทุนประเภท ข ภาคปลาย ปีการศึกษา 2562

ประกาศรายชื่อนักศึกษาผู้มีสิทธิ์เข้าสัมภาษณ์ทุนการศึกษาประเภท ข ประจำภาคปลาย ปีการศึกษา 2562

สัมภาษณ์วันจันทร์ที่ 6 มกราคม 2563 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้อง International Learning Center @ Law ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ งานพัฒนานักศึกษา คณะนิติศาาสตร์ โทร 09 5653 4035

หมายเหตุ : นักศึกษาที่ไม่มาสัมภาษณ์ตามวันเวลาดังกล่าว ถือว่าสละสิทธิ์

200103 รายชื่อ นศ. มีสิทธิ์สัมภาษณ์ทุน ข ภาคปลาย ปีการศึกษา 2562

เติมพลังความมุ่งมั่นสร้าง “จิตสาธารณะ” เสริมนิติทัศนะรับใช้สังคม ค่ายนิติศาสตร์สู่ชุมชนครั้งที่ 8

คณะนิติศาสตร์ ร่วมกับ สโมสรนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ และศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดค่ายนิติศาสตร์สู่ชุมชนชน ครั้งที่ 8 เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิต วิถีชุมชน บริการวิชาการด้านกฎหมายและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justices) พร้อมเสริมนิติทัศนะรับใช้สังคมให้นักกฎหมายรุ่นใหม่

วันที่ 20 – 24 ธันวาคม 2562 คณะนิติศาสตร์ ร่วมกับ สโมสรนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ และศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดำเนินโครงการค่ายนิติศาสตร์สู่ชุมชน ครั้งที่ 8 ณ โรงเรียนบ้านแดง อ.เวียงเก่า จ.ขอนแก่น เพื่อให้บริการชุมชนด้านกฎหมาย และให้นักศึกษาเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีในชุมชน และเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาเรียนรู้การทำงานร่วมกันอันจะส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างระหว่างนักศึกษาด้วยกันเอง พร้อมบริการจิตสาธารณะร่วมกันพัฒนาพื้นที่โรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ รวมถึงศึกษาปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนแห่งนี้และหาแนวทางแก้ไข พร้อมสร้างนวัตกรรมทางสังคมด้านกฎหมายและงานยุติธรรม (Law and Social Justice Innovation) โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ร่วมออกเยี่ยมค่ายและดูแลนักศึกษาตลอดโครงการ

ในการทำกิจกรรมออกค่ายในครั้งนี้นักศึกษาได้ช่วยกันบูรณะซ่อมแซมโรงเรียน คือ ทาสีอาคารเรียน ทาสีรั้วโรงเรียน ปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในโรงเรียนที่เป็นแหล่งสร้างเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นอนาคตของชาติ เพื่อเป็นการสร้างจิตอาสาและจิตสาธารณะให้นักศึกษา นอกจากนี้ในแต่ละวันนักศึกษาได้แบ่งกลุ่มพักกับคนในชุมชนในแต่ละหลังคาเรือนหรือที่ในค่ายนี้เรียกว่า “บ้านพ่อฮักแม่ฮัก” เพื่อได้ทำความรู้จักคุ้นเคยกับคนในชุมชนมากยิ่งขึ้น รวมถึงการได้เรียนรู้สภาพสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างนักศึกษาและชาวบ้าน กิจกรรมส่งเสริมสิทธิมนุษยชนร่วมกับเด็กและเยาวชน เพื่อเสริมทักษะความเป็นผู้นำในการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น ทักษะการวางแผนและการแก้ไขปัญหา ถือเป็นการสร้างชุมนุมนักกฎหมายและเครือข่ายภาคประชาสังคม ที่คณะได้ทำหน้าที่ในบทบาทการเป็นสะพานเชื่อมองค์ความรู้ (Co-Creation) ระหว่างนักศึกษาและชุมชนในการถ่ายทอดองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นและความรู้ทางวิชาการ ผ่านความจริงของสภาพสังคม พร้อมเสริมทักษะที่จำเป็น (Non-Technical Skill) สำหรับการประกอบวิชาชีพนักกฎหมายในศตวรรษที่ 21 อีกด้วย

นายบรรยง ประธงศิลป์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านแดง ได้กล่าวถึงกิจกรรมในครั้งนี้ว่า “รู้สึกดีที่ลูกๆนักศึกษาได้มาลงพื้นที่ทำกิจกรรม ซึ่งตัวชุมชนและโรงเรียนก็ได้ประโยชน์อย่างมาก ทั้งการบริการความรู้ทางด้านกฎหมายในชีวิตประจำวัน การพัฒนาโรงเรียน รวมถึงทำให้ชุมชนมีสีสันขึ้น ก็ถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับนักศึกษาให้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  และขอขอบคุณทางคณะนิติศาสตร์ที่ได้เลือกพื้นที่บ้านแดง อ.เวียงเก่า จ.ขอนแก่น เป็นพื้นที่การเรียนรู้ให้กับนักศึกษาในครั้งนี้ ด้วยครับ

และนาย นายวัชเรศวร เจริญวัย นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะนิติศาสตร์ ประธานค่ายนิติศาสสู่ชุมชนครั้งที่ 8 ได้กล่าวว่า ค่ายนิติศาสตร์สู่ชุมชนได้ถูกจัดขึ้นมาแล้วทั้งสิ้น 7 ครั้ง โดยเริ่มจากกลุ่มคนเพียงไม่กี่คนที่ต้องการทำค่ายจิตอาสาจนส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นสานต่อการจัดค่ายนี้ขึ้นมาและประสบความสำเร็จไปแล้วทั้งสิ้น และในปีนี้จะเป็นการจัดค่ายครั้งที่ 8 ผมในฐานะประธานค่ายนิติศาสตร์สู่ชุมชนพร้อมทีมงานค่ายทุกคนมีความมุ่งมั่นและความตั้งใจที่จะจัดค่ายครั้งนี้ขึ้นมาเพื่อให้นักศึกษาทุกคนในคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีส่วนร่วมกับค่ายครั้งนี้ จึงเปิดโอกาสให้ทุกคนมีสิทธิในเข้าร่วม เนื่องจากค่ายครั้งนี้เป็นการร่วมกันของทั้ง  3 ฝ่ายคือ 1.ชุมนุมนิติศาสตร์สู่ชุมชน 2.ชุมนุมสิทธิมนุษยชน และ 3.สโมสรนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ จึงจะต้องคัดสรรนักศึกษาที่พร้อมจะออกไปทำกิจกรรมเพื่อสังคม ในรูปแบบค่ายอาสานิติศาสตร์เพื่อสังคม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อดำเนินการตามงานนโยบายของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่อฝึกให้นักศึกษามีนิติทัศนะรับใช้สังคม และมีจิตสาธารณะ คือให้นักศึกษาใช้เวลาว่างทำกิจกรรมให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น ควบคู่ไปกับการเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชน และใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นและคนในชุมชน และเป็นการต่อยอดการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยเป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียน เป็นการฝึกประสบการณ์จริงให้กับนักศึกษาได้ลงมือทำอะไรใหม่ๆและเรียนรู้เรื่องต่างๆ ที่ไม่มีในตำราเรียนนิติศาสตร์ เพื่อเป็นความรู้เพิ่มเติมที่ไม่ได้มาจากสายการเรียน โดยมุ่งหวังเป็นว่านักศึกษาที่มาออกค่ายทุกคน จะได้ทำประโยชน์ต่อผู้อื่น และได้รับความรู้ ความสนุกสนาน ได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ มีรอยยิ้ม มีเสียงหัวเราะ และมีความสุขกับทุกกิจกรรมที่ทางค่ายจัดเตรียมไว้ให้ เพียงเท่านี้เป้าหมายในการจัดกิจกรรมของผมในฐานะประธานค่ายก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้วครับ สุดท้ายนี้ผมและทีมงานค่ายนิติศาสตร์สู่ชุมชนขอขอบคุณคณะนิติศาสตร์ ที่ให้การสนับสนุน และทุก ๆ ฝ่ายที่เป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดค่ายนิติศาสตร์สู่ชุมชนครั้งที่  8 ครับ

นอกจากนี้นักศึกษาที่ได้เข้าร่วมออกค่ายในครั้งนี้ยังได้เผยถึงความรู้สึกว่า การได้มาร่วมค่ายนิติศาสตร์สู่ชุมชนครั้งที่ 8 รู้สึกประทับใจมาก เพราะว่าโดยปกติแล้วก็คือว่าหนูก็เป็นนักศึกษาส่วนใหญ่ก็จะได้นั่งเรียน ฟังบรรยายในห้องเรียน ทำหน้าที่ของตัวเองก็คือการเรียน แต่ในวันนี้ก็ได้มีโอกาสออกมาช่วยเหลือสังคม ได้ทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ ทาสีบ้าน ก่ออิฐก่อปูน ร่วมกันพัฒนาปรับปรุงโรงเรียน ก็เป็นสิ่งที่แปลกใหม่ มาเห็นความน่ารักและใจดีของชาวบ้านที่ให้เราพักอาศัย และดีใจที่ได้มารู้จักกับเพื่อนๆและน้องๆ มากขึ้น เป็นการสร้างความสันพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษาด้วยกัน รวมถึงบุคลากรเจ้าหน้าที่และก็คณาจารย์ที่มาคอยดูแลพวกเราด้วยค่ะ นางสาว นุชรินทร์ ชินคำ นักศึกษาชั้นปี 4 กล่าว

DSC_0085 DSC_0093 DSC_0160 DSC_0360 DSC08160 DSC08195 DSC08764 DSC09231 DSC09324 IMG_9833 IMG_9872 IMG_9901 IMG_9907 IMG_9915 IMG_9918 IMG_9928

 

กิจกรรมวันสิทธิมนุษยชนสากลและวันรัฐธรรมนูญ : เยาวชนคนรุ่นใหม่ ยืนเคียงข้างสิทธิมนุษยชน

เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2562 คณะนิติศาสตร์ ร่วมกับ ศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม ได้จัดงาน “วันสิทธิมนุษยชนสากลและวันรัฐธรรมนูญ” เพื่อส่งเสริมงานวิชาการด้านสิทธิมนุษยชน โดยให้ความสำคัญในการส่งเสริมคุณค่าเรื่องสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ ประชาธิปไตยและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งมีนักศึกษา ประชาชนที่สนใจทั่วไปกว่า 250 คนเข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องประดิษฐ์มนูธรรม 2

ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติบดี ใยพูล คณบดีคณะนิติศาสตร์ ได้ให้เกียรติกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมโดยได้กล่าวถึงความสำคัญของหลักการสิทธิมนุษยชนในสังคมยุคดิจิตอลที่เน้นน้ำหนักความเป็นมนุษย์กับสังคม ที่ต้องการคุณค่าของความเป็นคน และสังคมที่ต้องการความสงบสุข ซึ่งนิติศาสตร์อาจเป็นศาสตร์เดียวที่กล่าวถึงปรัชญาพื้นฐานความเป็นธรรมทางสังคม โดยโจทย์สำคัญของหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คือ ต้องไม่มองความยุติธรรมตามตัวบทแต่มองความยุติธรรมตามความเป็นจริง ซึ่งสิทธิมนุษยชนเป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญ และทางออกในสังคมดิจิตอลคือการมีพลเมืองที่เข้มแข็งและพลเมืองประชาธิปไตย การจัดงานในวันนี้จึงเป็นการตอกย้ำวันสิทธิมนุษยชนว่าเป็นวันสำคัญของสังคมไทย และความหวังของสังคมไทยในยุค 4.0 ที่มีฐานสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพของพลเมือง

ต่อมา รองศาสตราจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล ประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ได้ปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “รัฐธรรมนูญและปัญหาสิทธิมนุษยชน” โดยได้อธิบายถึงประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญในตะวันตก มาถึงตะวันออกและไทย โดยมีประเด็นที่น่าสนใจคือ การมีรัฐธรรมนูญในตะวันตก เติบโตจากล่างขึ้นบน คนมีอำนาจถูกจำกัดอำนาจไม่ให้สมบูรณ์เด็ดขาด แต่รัฐธรรมนูญในตะวันออกเป็นเครื่องมือในการแสดงถึงการมีอารยะ การต่อต้านการล่าอาณานิคม และเครื่องมือในการให้อำนาจสูงสุดกับสถาบัน ในประเทศไทยรัฐธรรมนูญฉบับแรกวันที่ 27 มิถุนายน 2575 และวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ถือเป็นฉบับที่สอง ซึ่งได้อธิบายประวัติศาสตร์ รัฐธรรมนูญไทยทั้ง 2 ฉบับ และการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญฉบับแรกจนถึงปัจจุบัน ในช่วงท้ายได้กล่าวถึงปัญหารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 และปัญหาสิทธิมนุษยชนมองผ่านรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันอีกด้วย

ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีการแลกเปลี่ยนซักถามในประเด็นที่สนใจ และองค์กรเครือข่ายได้แถลงการณ์ในวันสิทธิมนุษยชนสากล ในการจัดงานวันสิทธิมนุษยชนสากลและวันรัฐธรรมนูญครั้งนี้ คณะนิติศาสตร์ได้เปิดพื้นที่ Co-Creation สร้างชุมนุมนักกฎหมายและเครือข่ายภาคประชาสังคม (Social Engagement) เพื่อสร้างบรรยากาศทางวิชาการด้านสิทธิมนุษยชน อันเป็นหลักการพื้นฐานสำคัญที่แสดงถึงความสำคัญของวันสิทธิมนุษยชนสากลให้กับสังคมไทย และในปี พ.ศ. 2562 นี้ ยังเป็นปีที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับเด็กและเยาวชน เนื่องจากเป็นปีแห่งการครบรอบ 30 ปีของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก จึงถือเป็นการรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของบทบาทเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่สามารถสร้างสรรค์พลังบวก การใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความรู้ความสามารถที่ร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงให้สังคมเกิดการเคารพสิทธิและเสรีภาพ ภายใต้หลักสำคัญที่ว่า “เยาวชนคนรุ่นใหม่ ยืนเคียงข้างสิทธิมนุษยชน” (Youth Standing up for Human Rights) อีกด้วย

งานวันรัฐธรรมนูญ_๑๙๑๒๑๑_0008 งานวันรัฐธรรมนูญ_๑๙๑๒๑๑_0028 งานวันรัฐธรรมนูญ_๑๙๑๒๑๑_0029 งานวันรัฐธรรมนูญ_๑๙๑๒๑๑_0031 งานวันรัฐธรรมนูญ_๑๙๑๒๑๑_0037 งานวันรัฐธรรมนูญ_๑๙๑๒๑๑_0038 งานวันรัฐธรรมนูญ_๑๙๑๒๑๑_0044 งานวันรัฐธรรมนูญ_๑๙๑๒๑๑_0061 งานวันรัฐธรรมนูญ_๑๙๑๒๑๑_0077 งานวันรัฐธรรมนูญ_๑๙๑๒๑๑_0080 งานวันรัฐธรรมนูญ_๑๙๑๒๑๑_0088 งานวันรัฐธรรมนูญ_๑๙๑๒๑๑_0092 งานวันรัฐธรรมนูญ_๑๙๑๒๑๑_0146 งานวันรัฐธรรมนูญ_๑๙๑๒๑๑_0170 งานวันรัฐธรรมนูญ_๑๙๑๒๑๑_0172 งานวันรัฐธรรมนูญ_๑๙๑๒๑๑_0179

ประกาศรายชื่อนักศึกษาผู้มีสิทธิ์รับทุนการศึกษาประเภท ข ภาคต้น ปีการศึกษา ๒๕๖๒

ประกาศรายชื่อนักศึกษานิติศาสตร์ผู้มีสิทธิ์รับทุนการศึกษาประเภท ข ภาคต้น ปีการศึกษา ๒๕๖๒
ให้นำส่งเอกสารประกอบการเบิกจ่าย ภายในวันศุกร์ที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๖๒ ที่งานพัฒนานักศึกษา คณะนิติศาสตร์
๑. สำเนาบัตรประจำตัวนักศึกษา พร้อมลงรายมือรับรองสำเนา
๒. สำเนาสมุดบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ ธนาคารกรุงไทย พร้อมลงรายมือชื่อรับรองสำเนา

190927 รายชื่อนักศึกษารับทุนการศึกษาภาคต้น 2562

แสดงผลงานเครือข่ายสิทธิมนุษยชน “ศิลปะเพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ”

เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2562 ศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมจัดนิทรรศการภาพวาดศิลปะของนักเรียนจาก “โรงเรียนเครือข่ายเยาวชนสิทธิมนุษยชน” ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล  ณ ศูนย์การเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

 

กิจกรรมภายในงาน ประกอบไปด้วย นิทรรศการภาพถ่ายประเด็นทางสังคมต่าง นิทรรศการภาพวาดศิลปะ ประเด็น “การใช้ทรัพยากรในอนาคต” และ “สิทธิมนุษยชน” ของเครือข่ายเยาวชนสิทธิมนุษยชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิจกรรมการรณรงค์แคมเปญ #myclothesspace นอกจากนี้ในห้องมินิเธียเตอร์ ชั้น 3 มีการแสดงดนตรีเพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติภาพจากวงสามัญชน การแสดงละครใบ้จากกลุ่ม Pantomime Life กิจกรรมแสดงภาพถ่าย (Photo-essay) ประเด็นทางสังคม สิ่งแวดล้อม การเมืองและสิทธิมนุษยชน จากกลุ่ม Realframe และการฉายภาพยนตร์สารคดีเรื่อง WHERE TO INVADE NEXT

โดยกิจกรรมงาน “ศิลปะเพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ” ในครั้งนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงการสร้างความตระหนักและการรับรู้ให้กับสังคมในประเด็นสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ  ซึ่งมิใช่การขับเคลื่อนได้แต่เฉพาะในเชิงวิชาการเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถใช้งานศิลปะแขนงต่างๆ เข้ามาช่วยทำให้เนื้อหาหรือประเด็นที่ต้องสื่อสารกับสังคมมีความน่าสนในมากขึ้นได้ด้วย  เนื่องจากการสื่อสารเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนและสันติภาพนั้น มีทั้งเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกซึ่งถ่ายทอดผ่านศิลปะได้เป็นดี

ทั้งนี้การเข้าร่วมจัดงานนิทรรศการดังกล่าว นับเป็นการเปิดพื้นที่เพื่อถ่ายทอดผลงานศิลปะของเครือข่ายเยาวชนสิทธิมนุษยชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้ทำกิจกรรมการรณรงค์ส่งเสริมด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาร่วมกันระหว่างเครือข่ายเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เป็นนักเรียน นักศึกษา และบุคลากร โดยคณะได้เป็นสะพานเชื่อมโยงองค์ความรู้ (Co-Creation) สร้างแหล่งรวมชุมชนนักกฎหมายและเครือข่ายภาคประชาสังคม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้รวมถึงการสร้างพื้นที่การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางของนโยบายด้านการส่งเสริมความรู้ด้านกฎหมาย สิทธิมนุษยชน และการเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อไป

นิทรรศการศิลปะ_๑๙๐๙๒๓_0005_0 นิทรรศการศิลปะ_๑๙๐๙๒๓_0006 นิทรรศการศิลปะ_๑๙๐๙๒๓_0007 นิทรรศการศิลปะ_๑๙๐๙๒๓_0008 นิทรรศการศิลปะ_๑๙๐๙๒๓_0010 นิทรรศการศิลปะ_๑๙๐๙๒๓_0011 นิทรรศการศิลปะ_๑๙๐๙๒๓_0013 นิทรรศการศิลปะ_๑๙๐๙๒๓_0009