Archives สิงหาคม 2019

คณะนิติฯ มข. คว้า ๒ รางวัลเกียรติยศ รางวัลองค์กรดีเด่นแห่งปี ๒๕๖๒ (Organization of the year 2019)

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นคณะที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้ถึงพร้อมด้วยความรู้ทางปัญญาและทักษะที่สัมพันธ์กับวิชาชีพ การจัดการศึกษาของคณะเป็นไปตามกรอบมาตรฐานทางวิชาการและมาตรฐานทางวิชาชีพ เป็นการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เน้นการใช้ความรู้สร้างนวัตกรรมเพื่อสนองตอบต่อการปรับตัวเป็นสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalizing Knowledge-based Economy)  เพราะการเรียนรู้ยุคใหม่ การเรียนและการทำงานจะกลายเป็นสิ่งเดียวกัน การเรียนคือความท้าทายตลอดชีวิต มุ่งให้นักศึกษาสร้างการค้นหา สร้างความเป็นเลิศเฉพาะตัวเพื่อเป็นพื้นฐานการเติบโตระยะยาวอย่างยั่งยืน และส่งเสริมทักษะ Soft skills พร้อมกับมีการ Share resources ให้กับสังคม นอกจากนี้ คณะจัดการศึกษาโดยการสร้างระบบนิเวศแห่งการเรียนรู้ที่ครบวงจรและทันสมัย (Lifelong Learning Ecosystem) โดยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในการเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ มีการศึกษาค้นคว้า ลงมือปฏิบัติ มีการเชื่อมโยงองค์ความรู้จากนักศึกษาผ่านกระบวนการวิจัย บริการวิชาการ นำไปสู่การถ่ายทอดเทคโนโลยี และนวัตกรรมผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมให้กับชุมชนก่อเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ในการนี้ มูลนิธิเพื่อสังคมไทยเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาของคณะที่มีผลลัพธ์ออกมาอย่างเป็นรูปธรรมก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติในหลากหลายด้านด้วยกัน อีกทั้งยังมีการบูรณาการในหลายศาสตร์เพื่อสนองตอบต่อการพัฒนากำลังคน นำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน  จึงได้มอบรางวัลเกียรติยศ  รางวัลองค์ดีเด่นแห่งปี ๒๕๖๒ (Organization of the year 2019) ให้กับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดังนี้

    ๑. รางวัลองค์กรดีเด่น สาขา ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและพลังงาน

    ๒. รางวัลองค์กรดีเด่น สาขา สิทธิมนุษยชน โดยศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

โดยมีอาจารย์วรวิทย์  ไชยตา หัวหน้าสำนักงานคณบดี และอาจารย์ดารณี ราชภูเขียว ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการบริหารเครือข่ายทางวิชาการ เป็นผู้แทนเข้ารับรางวัลในวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๒ จากพลอากาศเอกชลิต พุกผาสุก องคมนตรี ประธานในพิธี ณ ห้องชัยพฤกษ์ หอประชุมกองทัพอากาศ  กรุงเทพมหานคร

S__15843346 S__15843347 S__15843348 S__15843349 S__15843350

6 ยุทธศาสตร์การพัฒนาขับเคลื่อนคณะ

“ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว​ การศึกษาวิชา​นิติศาสตร์​แบบ​ Traditional จำเป็นต้องปรับตัวไปสู่นิติศาสตร์​เพื่อการพัฒนา​ โดยให้ความสำคัญกับการกำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์​ให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลง”​

การขับเคลื่อนเพื่อการเปลี่ยนแปลง​ตามมาตรฐาน​คุณวุฒิ​ สาขาวิชา​นิติศาสตร์​ และคุณ​ลักษณะบัณฑิต​ศตวรรษ​ที่​ 21​ มีเป้าหมายหลัก​ คือ

1.บัณฑิต​กฎหมายที่มีความรอบรู้​ นิติทัศนะ​ และคุณธรรม

2.หลักสูตร​ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์​การพัฒนา​ประเทศ

3.การจัดการศึกษา​ที่ยืดหยุ่น​ หลากหลาย​ และ​บูรณาการ​ข้าม​ศาสตร์

4.การจัดระบบนิเวศ​ทางนิติศาสตร์

ดังนั้น​ ที่ประชุมคณะกรรมการ​ประจำ​คณะ​ฯ​ จึงกำหนด​ยุทธศาสตร์​ 6 ด้าน​ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา​ให้บรรลุตามเป้าหมายและวิสัยทัศน์​สู่การเป็นโรงเรียนส​อน​กฎหมาย​ที่​ผลิต​บัณฑิต​ให้​มี​นิติ​ทัศนะ​รับใช้​สังคม​ ดังนี้

(1) Learning Outcomes

คือ การผลิตบัณฑิตให้ตรงตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของศตวรรษที่ 21 และมาตรฐานคุณวุฒิ สาขาวิชานิติศาสตร์

(2)Life long Learning

คือ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่นักศึกษาและบัณฑิตในการต่อยอดการเรียนรู้ระดับก้าวหน้าและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

(3) Faculty of Choice : Multi-Disciplinary

คือ การพัฒนาหลักสูตร การจัดการศึกษา การเรียนรู้ให้มีรูปแบบที่ยืดหยุ่น หลากหลาย และบูรณาการข้ามศาสตร์

(4) Jurisprudence Ecosystem

คือ การสร้างระบบนิเวศทางการศึกษาวิชานิติศาสตร์ เพื่อปลูกฝังกระบวนทัศน์ของนักนิติศาสตร์เพื่อการเปลี่ยนแปลง สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษา และส่งเสริมการเรียนรู้กฎหมายในยุคดิจิทัล

(5) Co-Creation

คือ การสร้างพื้นที่ร่วมทางวิชาการ ในการผลิตผลงานวิชาการ งานวิจัย และการออกแบบนวัตกรรมทางสังคมด้านกฎหมายและงานยุติธรรม

(6) Result Based Management

คือ การสร้างระบบบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

 

DSC_3614 DSC_3617 DSC_3597 DSC_3593DSC_3602 DSC_3605 DSC_3607 DSC_3619DSC_3635 DSC_3639 DSC_3650

ครบรอบ 13 ปี นิติฯ มข. เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สมัชชาสิ่งแวดล้อม

ครบรอบ 13 ปี นิติฯ มข. เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สมัชชาสิ่งแวดล้อม “ตุ้มโฮม ฮักแพง แบ่งปัน เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของคนขอนแก่น”

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกิจกรรมเนื่องในวันสถาปนาคณะนิติศาสตร์ครอบรอบ 13 ปี (6 กรกฎาคม 2562) “บทบาทคณะนิติศาสตร์ในการสร้างนักกฎหมายให้มีทัศนะรับใช้สังคม” เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สมัชชาสิ่งแวดล้อม “ตุ้มโฮม ฮักแพง แบ่งปัน เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของคนขอนแก่น” ร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการ หน่วยงานภาครัฐ และภาคประชาสังคม อาทิ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 10 จังหวัดขอนแก่น สภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น กลุ่มสมัชชาสุขภาพจังหวัดขอนแก่น กลุ่มฮักบ้านเกิด และกลุ่มเครือข่ายชาวบ้านอนุรักษ์แก่งละว้า เป็นต้น

ภายในงานมีการเสวนาวิชาการในประเด็นต่าง ๆ อาทิ Bio Hub ขอนแก่น คนขอนแก่นได้อะไร การเสวนาประเด็นกลุ่มย่อยในเรื่อง สถานการณ์ แนวทาง ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ประเด็นด้านการจัดการน้ำและปัญหาสารเคมีในการเกษตร ประเด็นมลพิษทางอากาศและการจัดการขยะ และประเด็นการจัดการป่า เป็นต้น รวมถึงการบรรยายพิเศษเรื่อง “ทิศทางการพัฒนาจังหวัดขอนแก่นเพื่อส่งแวดล้อมที่ดีของคนขอนแก่น” โดย ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น นอกจากนี้ยังมีเวทีคู่ขนานของสโมสรนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ในการเสวนาเรื่อง พันธะทางสังคมของนักศึกษากฎหมายเพื่อการเปลี่ยนแปลง โดย นักศึกษาชั้นปี 1 – 4 และศิษย์เก่า นอกจากนี้ยังการการบรรยายในหัวข้อ “คนรุ่นใหม่กับการเปลี่ยนแปลง” ได้รับเกียรติจาก คุณพริษฐ์ วัชรสินธุ เป็นวิทยากรบรรยายในครั้งนี้ด้วย

นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมบริเวณลานกิจกรรม การแสดงบนเวทีของนักเรียนและนักศึกษา การจัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้ของศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงการออกร้านตลาดนัด GREEN LAW โดยเปิดโอกาสให้ผู้จำหน่ายสินค้าชุมชน สินค้าเกษตรปลอดภัย และอาหารสุขภาพจัดจำหน่ายสินค้าให้กับผู้มาเข้าร่วมงานในครั้งนี้ด้วย โดยภายในงานมีบุคลากร นักศึกษา และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมงานกว่า 1,000 คน

กิจกรรมในครั้งนี้ถือเป็นความร่วมมือของภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วน  โดยเฉพาะได้เห็นพลังของภาคประชาชน  ประชาสังคมที่ร่วมกันคิด ร่วมกันขับเคลื่อน และในบทบาทของคณะนิติศาสตร์ที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาได้ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมการเรียนรู้ระหว่างคณะกับชุมชน​ เพื่อ เปลี่ยนห้องเรียนรู้กฎหมายตามตัวบท (Legal Justice) สู่ความยุติธรรมชุมชนและสังคม ​(Social Justice) เพื่อสร้างผลผลิตพัฒนาเมือง พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ถือได้ว่าเป็นการบริการทางสังคมซึ่งเป็นบทบาทที่สำคัญของคณะ  นอกจากได้ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สังคมและชุมชน แล้วยังเป็นการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา ที่จะได้เรียนรู้ภายนอกห้องเรียนจากสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในลักษณะของ Problem Base Learning (PBL)  และเป็นการสร้างจิตสำนึกให้นักศึกษามีทัศนะในการรับใช้สังคมต่อไป

DSC_2577 20190805_๑๙๐๘๐๖_0017 20190805_๑๙๐๘๐๖_0018 20190805_๑๙๐๘๐๖_0022 20190805_๑๙๐๘๐๖_0024 20190805_๑๙๐๘๐๖_0026 DSC_2088 DSC_2105 DSC_2123 DSC_2130 DSC_2154 DSC_2193 DSC_2212 DSC_2185 DSC_2281 DSC_2291

20190805_๑๙๐๘๐๖_0002 20190805_๑๙๐๘๐๖_0003 20190805_๑๙๐๘๐๖_0004