Archives กันยายน 2019

ประกาศรายชื่อนักศึกษาผู้มีสิทธิ์รับทุนการศึกษาประเภท ข ภาคต้น ปีการศึกษา ๒๕๖๒

ประกาศรายชื่อนักศึกษานิติศาสตร์ผู้มีสิทธิ์รับทุนการศึกษาประเภท ข ภาคต้น ปีการศึกษา ๒๕๖๒
ให้นำส่งเอกสารประกอบการเบิกจ่าย ภายในวันศุกร์ที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๖๒ ที่งานพัฒนานักศึกษา คณะนิติศาสตร์
๑. สำเนาบัตรประจำตัวนักศึกษา พร้อมลงรายมือรับรองสำเนา
๒. สำเนาสมุดบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ ธนาคารกรุงไทย พร้อมลงรายมือชื่อรับรองสำเนา

190927 รายชื่อนักศึกษารับทุนการศึกษาภาคต้น 2562

ปฐมนิเทศบุคลากรใหม่ สร้างความเข้าใจร่วมกัน เสริมประสิทธิภาพเป้าหมายการทำงานอย่างมีความสุข

ปฐมนิเทศบุคลากรใหม่ สร้างความเข้าใจร่วมกัน เสริมประสิทธิภาพเป้าหมายการทำงานอย่างมีความสุข

คณะนิติศาสตร์ จัดโครงการปฐมนิเทศบุคลากรใหม่สายสนับสนุน เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่บุคลากรใหม่ได้รับทราบถึงระเบียบ แนวปฏิบัติในการปฏิบัติงาน การปฏิบัติตามจรรยาบรรณของคณะและมหาวิทยาลัย ตลอดทั้งสิทธิประโยชน์ และวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้บุคลากรปฏิบัติงานได้อย่างมีความสุข และมีประสิทธิภาพตามเป้าหมาย

ในการนี้ได้รับเกียรติจากอาจารย์กชพร มุสิกบุญเลิศ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหารงานบุคคล กล่าวเปิดการอบรมและกล่าวต้อนรับบุคลากรใหม่ ซึ่งหัวข้อในการบรรยายในครั้งนี้ประกอบไปด้วย จรรยาบรรณของผู้ปฏิบัติงาน โดยอาจารย์สุชาติ แนวประเสริฐ สิทธิประโยชน์ สวัสดิการ ระเบียบต่างๆ โดยงานทรัพยากรบุคคล และการจัดทำโครงการ การเบิกจ่าย โดยงานเลขานุการ และงานคลังพัสดุ

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของบุคลากร การให้ความรู้ความเข้าใจให้แก่บุคลากรถือว่าเป็นเป้าหมายสำคัญสำหรับองค์กรเพื่อให้บุคลากรปฏิบัติงานได้อย่างมีความสุข และมีประสิทธิภาพตามเป้าหมาย

71170080_2544484128964172_281283580083044352_o 71089503_2544483252297593_3852976759939006464_o 70840832_2544484182297500_8456683515109441536_o 70905736_2544483692297549_7941049056019611648_o 70986099_2544483815630870_7385345356671746048_o 71251534_2544483975630854_4809297197428375552_o 71272541_2544483218964263_3327913258496557056_o 71577298_2544483752297543_8664404823786913792_o

เสวนาวิชาการ “ธุรกิจเพื่อสังคม”

กลุ่มจิตตปัญญาและภาวะผู้นำทางจริยธรรม จัดเสวนาวิชาการเรื่องธุรกิจเพื่อสังคม : ทฤษฎีและบทเรียนจาก University of California Berkeley โดยได้รับเกียรติจากคุณ Brighid O’Keane ผู้ร่วมก่อตั้งสหกรณ์อาหารนักศึกษาของ ​ University of California Berkeley และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพ.ปัตพงษ์  เกษสมบูรณ์ อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมเสวนาในครั้งนี้ ณ ห้องบรรยาย 1

คุณ Brighid O’Keane กล่าว​โดยมีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า “การจัดการองค์กรและการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของนักศึกษาที่อเมริกาถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีและเป็นก้าวเล็ก​ ๆ​ ของนักศึกษาในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและสังคม”

นอกจากนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพ.ปัตพงษ์  เกษสมบูรณ์ อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ ​ ได้พูดถึงแนวทางการประกอบธุรกิจเพื่อสังคมว่า “การจะทำธุรกิจ​เพื่อสังคมหรือส่วนรวมนั้น​ต้องมองถึงความเป็นไปได้ว่าภาคส่วนไหนควรที่จะเข้ามามีส่วนร่วมด้วยช่วยกัน​ หากมองภาพรวมขณะนี้ของสังคมไทยภาคส่วนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือรัฐและเอกชน​ ภาคส่วนที่น้อยที่สุดคือภาคสังคม​ คือภาคสังคมของเรามีขนาดเล็กและโตช้า​ เป็นไปได้ว่าวันหนึ่งหากภาคสังคมของเรามีขนาดใหญ่พอๆกันกับภาครัฐและเอกชน​ การเกิดธุรกิจ​เพื่อสังคมจะเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ​”

ในการเสวนาวิชาการในครั้งนี้ได้สร้างพื้นที่การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ให้กับนักศึกษาและบุคลากร เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากผู้ที่มีประสบการณ์ตรงในการขับเคลื่อนขบวนการของนักศึกษาในการพัฒนาสังคมได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยสร้างความตระหนักรู้ถึงความรับผิดชอบต่อสังคมอันเป็นฐานสนับสนุนสำคัญของการเป็นนักกฎหมายที่ดีต่อสังคมต่อไป

IMG_0693 IMG_0695 IMG_0660 IMG_0661 IMG_0667 IMG_0672 IMG_0676 IMG_0679 IMG_0688

แสดงผลงานเครือข่ายสิทธิมนุษยชน “ศิลปะเพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ”

เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2562 ศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมจัดนิทรรศการภาพวาดศิลปะของนักเรียนจาก “โรงเรียนเครือข่ายเยาวชนสิทธิมนุษยชน” ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล  ณ ศูนย์การเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

 

กิจกรรมภายในงาน ประกอบไปด้วย นิทรรศการภาพถ่ายประเด็นทางสังคมต่าง นิทรรศการภาพวาดศิลปะ ประเด็น “การใช้ทรัพยากรในอนาคต” และ “สิทธิมนุษยชน” ของเครือข่ายเยาวชนสิทธิมนุษยชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิจกรรมการรณรงค์แคมเปญ #myclothesspace นอกจากนี้ในห้องมินิเธียเตอร์ ชั้น 3 มีการแสดงดนตรีเพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติภาพจากวงสามัญชน การแสดงละครใบ้จากกลุ่ม Pantomime Life กิจกรรมแสดงภาพถ่าย (Photo-essay) ประเด็นทางสังคม สิ่งแวดล้อม การเมืองและสิทธิมนุษยชน จากกลุ่ม Realframe และการฉายภาพยนตร์สารคดีเรื่อง WHERE TO INVADE NEXT

โดยกิจกรรมงาน “ศิลปะเพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ” ในครั้งนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงการสร้างความตระหนักและการรับรู้ให้กับสังคมในประเด็นสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ  ซึ่งมิใช่การขับเคลื่อนได้แต่เฉพาะในเชิงวิชาการเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถใช้งานศิลปะแขนงต่างๆ เข้ามาช่วยทำให้เนื้อหาหรือประเด็นที่ต้องสื่อสารกับสังคมมีความน่าสนในมากขึ้นได้ด้วย  เนื่องจากการสื่อสารเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนและสันติภาพนั้น มีทั้งเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกซึ่งถ่ายทอดผ่านศิลปะได้เป็นดี

ทั้งนี้การเข้าร่วมจัดงานนิทรรศการดังกล่าว นับเป็นการเปิดพื้นที่เพื่อถ่ายทอดผลงานศิลปะของเครือข่ายเยาวชนสิทธิมนุษยชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้ทำกิจกรรมการรณรงค์ส่งเสริมด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาร่วมกันระหว่างเครือข่ายเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เป็นนักเรียน นักศึกษา และบุคลากร โดยคณะได้เป็นสะพานเชื่อมโยงองค์ความรู้ (Co-Creation) สร้างแหล่งรวมชุมชนนักกฎหมายและเครือข่ายภาคประชาสังคม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้รวมถึงการสร้างพื้นที่การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางของนโยบายด้านการส่งเสริมความรู้ด้านกฎหมาย สิทธิมนุษยชน และการเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อไป

นิทรรศการศิลปะ_๑๙๐๙๒๓_0005_0 นิทรรศการศิลปะ_๑๙๐๙๒๓_0006 นิทรรศการศิลปะ_๑๙๐๙๒๓_0007 นิทรรศการศิลปะ_๑๙๐๙๒๓_0008 นิทรรศการศิลปะ_๑๙๐๙๒๓_0010 นิทรรศการศิลปะ_๑๙๐๙๒๓_0011 นิทรรศการศิลปะ_๑๙๐๙๒๓_0013 นิทรรศการศิลปะ_๑๙๐๙๒๓_0009

คณบดีนำ นศ.เข้ารายงานผลงานนักศึกษา

คณบดีคณะนิติศาสตร์ นำนักศึกษาเข้ารายงานผลงานนักศึกษาต่อท่านที่ปรึกษารักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น

เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติบดี ใยพูล คณบดีคณะนิติศาสตร์ พร้อมด้วยอาจารย์ปริศนา คำชาย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา และคณาจารย์ นำนักศึกษาเข้าพบรองศาสตราจารย์ นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล ที่ปรึกษารักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อรายงานผลงานนักศึกษาที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานภายนอก ดังนี้

1.การแข่งขันว่าความในศาลจำลอง ประจำปี 2562 (CIPITC Moot Court Competition 2019) ระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม – 23 สิงหาคม 2562 ณ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย

ทีมภาษาไทย ได้แก่ นายพีรณัฐ มาลาหอม และนางสาวพูนสิริ เยี่ยมทรัพย์
ทีมภาษาอังกฤษ ได้แก่ นางสาวชัญญานุช ศศิวิลาสกร และนางสาวกอบแก้ว ขันธะ
ผลปรากฎว่าผ่านการคัดเลือกเข้าแข่งขันรอบสุดท้าย

2. การแข่งขันตอบปัญหากฎหมายเนื่องในวันรพี ประจำปี 2562 วันที่ 7 สิงหาคม 2562 ณ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วย

ทีมที่หนึ่ง ได้แก่ นางสาวพูนสิริ เยี่ยมรัมย์ นายพีรณัฐ มาลาหอม และนายสิทธิโชค สายเสมา ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1
ทีมที่สอง ได้แก่ นายกฤตเมธ ไวโส นายกฤษกร เพชระโยธิน นางสาวกอบแก้ว ขันทะ ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 4

3. การแข่งขันตอบปัญหากฎหมายระดับอุดมศึกษา วันที่ 19 สิงหาคม 2562 ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย

ทีมที่หนึ่ง ได้แก่ นางสาวพูนสิริ เยี่ยมรัมย์ นายสหทรัพย์ วรินทรเวท และนายสิทธิโชค สายเสมา
ทีมที่สอง ได้แก่ นายกฤตเมธ ไวโส นายกฤษกร เพชระโยธิน และนางสาวกอบแก้ว ขันธะ
ผลปรากฎว่าทีมที่หนึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1

4. การแข่งขันการประนอมข้อพิพาทจำลองในข้อพิพาทเชิงพาณิชย์ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 3 – 4 กันยายน 2562 ณ สถาบันอนุญาโตตุลาการ กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย

ทีมที่หนึ่ง ได้แก่ นายณัชพล นิลเพ็ชร และนางสาวพูนสิริ เยี่ยมรัมย์
ทีมที่สอง ได้แก่ นางสาวเกียรติสุดา แสนยานุภาพ และนางสาวศิโรรัตน์ ศิริสร้อย
ผลปรากฎว่าทีมที่สองได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1

ในช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมานั้น คณะนิติศาสตร์ ได้ส่งนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการกับหน่วยงานภายนอก เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาตามนโยบายของมหาวิทยาลัยและของคณะภายใต้ยุทธศาสตร์ของคณะในเสาหลักที่ 1 โรงเรียนสอนกฎหมาย (School of Law) เพื่อบ่มเพาะและผลิตบัณฑิตทางกฎหมายที่คำนึกถึงทักษะทางวิชาการ และทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพกฎหมาย (Non-Technical Skill) โดยมีคณาจารย์ที่ดูแลและเป็นที่ปรึกษาทำหน้าที่เป็น Interactive ควบคู่กับ Information และนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้เพื่อสร้างนักกฎหมายรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงและมีนิติทัศนะรับใช้สังคมต่อไป

งานสื่อสารองค์กร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
#โรงเรียนสอนกฎหมายที่ผลิตบัณฑิตให้มีนิติทัศนะรับใช้สังคม

DSC_6334 DSC_6337 DSC_6340 DSC_6383

อบรมเชิงปฏิบัติการความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญกับการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ 14 – 15 กันยายน 2562 ที่ผ่านมาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ สมาคมส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมและมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม จัดอบรมเชิงปฏิบัติการความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ในเรื่องของสิทธิชุมชน สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารทางราชการ และพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 รวมถึงพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 พร้อมทั้งเสริมสร้างทักษะการเจรจาต่อรอง โดยมีแกนนำกลุ่มฮักแม่น้ำเลย เข้าร่วมฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน “กลุ่มฮักแม่น้ำเลย” มีการฝึกทักษะการเจรจาต่อรอง การจัดองค์กรชุมชน การทำงานเป็นทีมและการวางแผนงาน เป็นต้น อันจะทำให้ประชาชนลุ่มน้ำเลยเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ณ วัดโพธิ์ศรีหายโศก บ้านกลาง ตำบลปากตม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ซึ่งมีอาจารย์ปริศนา คำชาย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา อาจารย์กัญญารัตน์ โคตรภูเขียว อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ และอาจารย์สุวิทย์ กุหลาบวงษ์ ที่ปรึกษาคณะ ร่วมกับบุคลากร และนักศึกษาได้ลงพื้นที่ทำกิจกรรมในครั้งนี้

และโอกาสนี้ได้ลงพื้นที่ศึกษาและรับฟังสถานการณ์ในพื้นที่การก่อสร้างโครงการประตูระบายน้ำศรีสองรัก อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย เป็นโครงการที่รับผิดชอบโดยกรมชลประทาน ตั้งอยู่พื้นที่ปากแม่น้ำเลย ก่อนที่จะไหลลงสู่แม่น้ำน้ำโขง ทั้งนี้พบว่าในพื้นที่มีปัญหาความขัดแย้งระหว่างชุมชนชนที่เห็นด้วยกับโครงการและกลุ่มที่คัดค้านโครงการ เนื่องมาจากการไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอจากภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน และขาดการมีส่วนร่วมจากชุมชน จากการลงพื้นที่พบว่า ชาวบ้านมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาน้ำท่วม และไม่ทราบปริมาณการกักเก็บน้ำ เกรงว่าจะสูญเสียที่ดินจากน้ำท่วม

ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ คณะได้ทำการศึกษาปัญหาชุมชนและเผยแพร่องค์ความรู้ทางวิชาการภายใต้นโยบายเสาหลักที่ 3 การสร้างนิติทัศนะรับใช้สังคม (Social Engagement) โดยมุ่งการเปิดพื้นที่การเรียนรู้และปฏิบัติการ (Virtual Field Trip) เชื่อมโยงกับหลักสูตรให้กับนักศึกษาเพื่อเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้กฎหมายในห้องเรียนมาเป็นการเรียนรู้จากความเป็นจริงในพื้นที่ในรูปแบบ Problem Base Learning (PBL) ด้วยการสร้างชุมนุมนักกฎหมายและเครือข่ายภาคประชาสังคม เพื่อนำไปบูรณาการร่วมกันแก้ไขปัญหาของชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ปัจจุบันทั่วโลกต่างให้ความสำคัญและเป็นจุดสนใจที่ต้องร่วมแรงร่วมใจกันในการแก้ไขปัญหาโดยคนในชุมชนต้องมีความรู้ความเข้าใจเข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา และในส่วนของภาครัฐเองต้องมีการสื่อสารที่ทำให้ประชาชนในพื้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่สำคัญ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

งานสื่อสารองค์กร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

#โรงเรียนสอนกฎหมายที่ผลิตบัณฑิตให้มีนิติทัศนะรับใช้สังคม

ลงพื้นที่เชียงคาน_๑๙๐๙๑๘_0003 ลงพื้นที่เชียงคาน_๑๙๐๙๑๘_0004 ลงพื้นที่เชียงคาน_๑๙๐๙๑๘_0005 ลงพื้นที่เชียงคาน_๑๙๐๙๑๘_0007 ลงพื้นที่เชียงคาน_๑๙๐๙๑๘_0008 ลงพื้นที่เชียงคาน_๑๙๐๙๑๘_0009 ลงพื้นที่เชียงคาน_๑๙๐๙๑๘_0010 ลงพื้นที่เชียงคาน_๑๙๐๙๑๘_0012 ลงพื้นที่เชียงคาน_๑๙๐๙๑๘_0006 ลงพื้นที่เชียงคาน_๑๙๐๙๑๘_0002