ครบรอบ 13 ปี นิติฯ มข. เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สมัชชาสิ่งแวดล้อม

ครบรอบ 13 ปี นิติฯ มข. เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สมัชชาสิ่งแวดล้อม “ตุ้มโฮม ฮักแพง แบ่งปัน เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของคนขอนแก่น”

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกิจกรรมเนื่องในวันสถาปนาคณะนิติศาสตร์ครอบรอบ 13 ปี (6 กรกฎาคม 2562) “บทบาทคณะนิติศาสตร์ในการสร้างนักกฎหมายให้มีทัศนะรับใช้สังคม” เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สมัชชาสิ่งแวดล้อม “ตุ้มโฮม ฮักแพง แบ่งปัน เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของคนขอนแก่น” ร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการ หน่วยงานภาครัฐ และภาคประชาสังคม อาทิ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 10 จังหวัดขอนแก่น สภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น กลุ่มสมัชชาสุขภาพจังหวัดขอนแก่น กลุ่มฮักบ้านเกิด และกลุ่มเครือข่ายชาวบ้านอนุรักษ์แก่งละว้า เป็นต้น

ภายในงานมีการเสวนาวิชาการในประเด็นต่าง ๆ อาทิ Bio Hub ขอนแก่น คนขอนแก่นได้อะไร การเสวนาประเด็นกลุ่มย่อยในเรื่อง สถานการณ์ แนวทาง ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ประเด็นด้านการจัดการน้ำและปัญหาสารเคมีในการเกษตร ประเด็นมลพิษทางอากาศและการจัดการขยะ และประเด็นการจัดการป่า เป็นต้น รวมถึงการบรรยายพิเศษเรื่อง “ทิศทางการพัฒนาจังหวัดขอนแก่นเพื่อส่งแวดล้อมที่ดีของคนขอนแก่น” โดย ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น นอกจากนี้ยังมีเวทีคู่ขนานของสโมสรนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ในการเสวนาเรื่อง พันธะทางสังคมของนักศึกษากฎหมายเพื่อการเปลี่ยนแปลง โดย นักศึกษาชั้นปี 1 – 4 และศิษย์เก่า นอกจากนี้ยังการการบรรยายในหัวข้อ “คนรุ่นใหม่กับการเปลี่ยนแปลง” ได้รับเกียรติจาก คุณพริษฐ์ วัชรสินธุ เป็นวิทยากรบรรยายในครั้งนี้ด้วย

นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมบริเวณลานกิจกรรม การแสดงบนเวทีของนักเรียนและนักศึกษา การจัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้ของศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงการออกร้านตลาดนัด GREEN LAW โดยเปิดโอกาสให้ผู้จำหน่ายสินค้าชุมชน สินค้าเกษตรปลอดภัย และอาหารสุขภาพจัดจำหน่ายสินค้าให้กับผู้มาเข้าร่วมงานในครั้งนี้ด้วย โดยภายในงานมีบุคลากร นักศึกษา และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมงานกว่า 1,000 คน

กิจกรรมในครั้งนี้ถือเป็นความร่วมมือของภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วน  โดยเฉพาะได้เห็นพลังของภาคประชาชน  ประชาสังคมที่ร่วมกันคิด ร่วมกันขับเคลื่อน และในบทบาทของคณะนิติศาสตร์ที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาได้ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมการเรียนรู้ระหว่างคณะกับชุมชน​ เพื่อ เปลี่ยนห้องเรียนรู้กฎหมายตามตัวบท (Legal Justice) สู่ความยุติธรรมชุมชนและสังคม ​(Social Justice) เพื่อสร้างผลผลิตพัฒนาเมือง พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ถือได้ว่าเป็นการบริการทางสังคมซึ่งเป็นบทบาทที่สำคัญของคณะ  นอกจากได้ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สังคมและชุมชน แล้วยังเป็นการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา ที่จะได้เรียนรู้ภายนอกห้องเรียนจากสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในลักษณะของ Problem Base Learning (PBL)  และเป็นการสร้างจิตสำนึกให้นักศึกษามีทัศนะในการรับใช้สังคมต่อไป

DSC_2577 20190805_๑๙๐๘๐๖_0017 20190805_๑๙๐๘๐๖_0018 20190805_๑๙๐๘๐๖_0022 20190805_๑๙๐๘๐๖_0024 20190805_๑๙๐๘๐๖_0026 DSC_2088 DSC_2105 DSC_2123 DSC_2130 DSC_2154 DSC_2193 DSC_2212 DSC_2185 DSC_2281 DSC_2291

20190805_๑๙๐๘๐๖_0002 20190805_๑๙๐๘๐๖_0003 20190805_๑๙๐๘๐๖_0004