ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ สร้างหมุดหมายทางความคิดสู่การเป็นนักกฎหมายรุ่นใหม่

คณะนิติศาสตร์ จัดพิธีปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2563 เพื่อเตรียมความพร้อมและสร้างหมุดหมายทางการศึกษา เพื่อการเป็นนักกฎหมายรุ่นใหม่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงบริบทของสังคม

เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา คณะนิติศาสตร์ ได้จัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2563 ผ่านระบบออนไลน์และภายในคณะโดยมีการคัดกรองผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 อย่างเคร่งครัด

DSC_3270DSC_3290IMG_3559DSC_3313DSC_3303IMG_3583

ในลำดับแรกได้นำนักศึกษาใหม่ไหว้พระพุทธชินสีห์ พระประจำคณะฯ ซึ่งเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาคมคณะนิติศาสตร์ เพื่อเป็นสิริมงคลให้แก่นักศึกษาใหม่ โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว

IMG_3692IMG_3756IMG_3706IMG_3727IMG_3731IMG_3737IMG_3734IMG_3728IMG_3647IMG_3685IMG_3687IMG_3650

ต่อมาเป็นพิธีปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ โดยได้รับเกียติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติบดี ใยพูล คณบดีคณะนิติศาสตร์ กล่าวต้อนรับนักศึกษาและแสดงความยินดีในโอกาสได้เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา พร้อมทั้งให้โอวาทความสำคัญตอนหนึ่งว่า การเรียนกฎหมายในยุคปัจจุบันนี้ไม่ใช่เพียงแค่การเรียนรู้อย่างเดียว เราต้องสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้กับสังคมด้วย โดยการศึกษาทางด้านนิติศาสตร์นั้นประกอบด้วย 1.การเรียนหลักการทางกฎหมาย  2. การปรับใช้และการกล้าให้เหตุผลทางกฎหมายที่เป็นปัจจุบัน 3. การเฝ้าสังเกตสังคม เพื่อการปรับใช้กฎหมายให้เป็นธรรม ซึ่งเป็น “การศึกษาต้องสงสัย” กล่าวคือ นักศึกษาควรจะสงสัยกับการศึกษาหรือการเรียนรู้ของตนเองอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้สามารถตั้งคำถามและนำไปสู่การค้นหาคำตอบด้วยตนเอง” นอกจากนี้ยังได้กล่าวอวยพรให้กับนักศึกษาใหม่ให้การใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยขอนแก่นค้นพบตัวเองให้เร็วที่สุด เพื่อจะได้มีความสุขกับสิ่งที่เราทำ และส่งต่อความสุขให้กับผู้อื่นและแบ่งปันสู่สังคมต่อไป

IMG_3848IMG_3872IMG_3819

หลังจากนั้นเป็นการแนะนำการจัดการศึกษา และวิธีการลงทะเบียนเรียน โดยคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้คำแนะนำ วิธีปฏิบัติ ขั้นตอนต่าง ๆ ให้นักศึกษาใหม่ได้รับรู้อีกด้วย

IMG_3808IMG_3786IMG_3813DSC_3406DSC_3409DSC_3496DSC_3594DSC_3620DSC_3655DSC_3677DSC_3745DSC_3710

เสริมกระบวนการเรียนรู้เรื่องสิทธิตอน ใครได้ใครเสีย ? นำคู่มือสู่การปฏิบัติห้องเรียนสิทธิมนุษยชนเคลื่อนที่

ทีมอาสาศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับเครือข่ายสิทธิมนุษยชนจากโรงเรียนเทศบาลบ้านโนนชัย ร่วมกันจัดกระบวนการสิทธิมนุษยชนในชุนชนบ้านดอนหญ้านาง 1

เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2563 เวลา 13.00 – 15.00 น. ณ ศาลาประชาคม ชุมชนดอนหญ้านาง1 อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ทีมอาสาศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับเครือข่ายสิทธิมนุษยชนจากโรงเรียนเทศบาลบ้านโนนชัย จัดกระบวนการเรียนการสอน “ห้องเรียนสิทธิมนุษยชน” ให้กับเยาวชนในชุมชนดอนหญ้านาง 1 จำนวน 15 คน พร้อมกับมาตรการการป้องกัน COVID-19 โดยการสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดการเข้าร่วมกิจกรรม

โอกาสนี้ อาจารย์ดารณี ราชภูเขียว ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการบริหารเครือข่ายทางวิชาการ ได้ไปร่วมสังเกตการณ์การจัดกิจกรรม โดยได้กล่าวว่า กิจกรรมครั้งนี้เป็นการนำกิจกรรมในคู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่จัดทำขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  นำมาปรับใช้ในการจัดกิจกรรมเรียนรู้ให้กับเยาวชน  โดยได้จัดกิจกรรมที่มีชื่อว่า “ใครได้ใครเสีย” ซึ่งเป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการสิทธิในการรับบริการสาธารณะที่ดีจากรัฐ  ตามสถานภาพที่แตกต่างกัน เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ พระสงฆ์ สตรีมีครรภ์ และ LGBTQ เป็นต้น และกิจกรรมแผ่นดินเดียวกัน  เน้นทำให้น้องๆนักเรียนได้เรียนรู้ว่ามนุษย์ทุกคนมีศักดิ์และสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครอง และปกป้องอย่างเท่าเทียมกัน ในการดำรงชีวิตและอาศัยอยู่บนโลกใบนี้อย่างมีความสุข โดยไม่มีข้อจำกัดทางเพศ เชื้อชาติ การนับถือศาสนาหรือการประกอบอาชีพ  และสะท้อนการเข้าถึงทรัพยากรที่แตกต่างกัน และความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ยังดำรงอยู่  

ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมห้องเรียนสิทธิมนุษยชน โดยการนำกิจกรรมในคู่มือการจัดการเรียนรู้เรียนรู้มนุษยชนศึกษามาปรับใช้ เป็นการปลูกฝังเยาวชนให้มีวัฒนธรรมการเคารพสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย โดยเริ่มจากเด็กและเยาวชนที่จะเป็นพลเมืองของโลกในอนาคต (Global Citizenship) ที่ตระหนักถึงความเชื่อมโยงและการพึ่งพาอาศัยกันในระดับโลก และมีจิตสำนึกร่วมถึงปัญหาในระดับโลก ตลอดจนทักษะการทำงานร่วมกับผู้คนที่มีความแตกต่างทั้งในเชิงภาษา วัฒนธรรม และเชื้อชาติ อีกด้วย

1762020_๒๐๐๖๑๗_0004 1762020_๒๐๐๖๑๗_0005 1762020_๒๐๐๖๑๗_0015 1762020_๒๐๐๖๑๗_0019 1762020_๒๐๐๖๑๗_0025 1762020_๒๐๐๖๑๗_0027

ประชุมเตรียมพร้อมการสร้างคลังข้อมูลห้องเรียนออนไลน์ ผ่าน Platfrom Smart Classroom

คณะนิติศาสตร์ ประชุมทีมคณาจารย์และบุคลากร เพื่อเตรียมความพร้อมในการสร้างคลังข้อมูลห้องเรียนออนไลน์ ผ่าน Platfrom “Smart Classrom” รองรับการจัดการศึกษาภาคต้น ปีการศึกษา 2563

วันที่ 2 มิถุนายน 2563 เวลา 10.00 น. คณะนิติศาสตร์ โดย รองศาสตราจารย์วนิดา แสงสารพันธ์ รองคณบดีฝ่ายบริหารงานวิชาการ ประชุมทีมคณาจารย์และบุคลากร เพื่อสร้างความเข้าใจในรูปแบบ วิธีการและรายละเอียดในการสร้างคลังข้อมูลกลางผ่านระบบ Smart Classroom สำหรับการจัดการศึกษาในภาคต้น ปีการศึกษา 2563

ซึ่งในภาคต้น ปีการศึกษา 2563 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จะดำเนินการจัดการศึกษาในรูปแบบ “ห้องเรียนออนไลน์” โดยมีคลังข้อมูลในระบบ Smart Classroom ควบคู่กับการสอนออนไลน์ผ่าน Application ZOOM เพื่อให้เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยขอนแก่นฉบับที่ 811/2563 เรื่องแนวทางการจัดการเรียนการสอนและการสอบ เพื่อป้องกันของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19)

โอกาสนี้ รองศาสตราจารย์วนิดา แสงสารพันธ์ รองคณบดีฝ่ายบริหารงานวิชาการ ได้กล่าวว่า ในการจัดการศึกษาในรูปแบบออนไลน์นี้คณะยังคงยึดหลักเกณฑ์มาตรฐานตามกรอบคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในสาขาวิชานิติศาสตร์ เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทักษะทางด้านวิชาการ ร่วมถึงทักษะที่จำเป็นในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ และสามารถบูรณาการเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่น ๆ ได้ อีกทั้งยังมีคุณธรรมจริยธรรม ปลูกฝั่งจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงทักษะการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม

 IMG_1152 IMG_1208 IMG_1155 IMG_1156 IMG_1159 IMG_1160 IMG_1170 IMG_1174 IMG_1187 IMG_1189 IMG_1191 IMG_1192  IMG_1199 IMG_1202 IMG_1203 IMG_1205

ประชุมบุคลากร เตรียมความพร้อมจัดการศึกษา ปี 2563

คณะนิติศาสตร์ จัดประชุมบุคลากร เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการศึกษา ปีการศึกษา 2563 พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงและเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชานิติศาสตร์

วันที่ 20 พฤษภาคม 2563 เวลา 10.00 น. คณะนิติศาสตร์ โดย ผศ.กิตติบดี ใยพูล คณบดีคณะนิติศาสตร์ ดำเนินการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 เพื่อสร้างบัณฑิตทางด้านนิติศาสตร์  (Learning Outcome) ให้มีทักษะทางวิชาการและวิชาชีพรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม และมีมาตรฐานตามเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชานิติศาสตร์ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2561 ทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย

  1. ด้านความรู้ โดยนักศึกษาต้องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับปัญหาข้อเท็จจริงได้
  2. ด้านคุณธรรมจริยธรรม มีความตระหนักรู้ เข้าใจ และยึดมั่นในหลักความยุติธรรมและมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม
  3. ด้านทักษะทางปัญญา ความสามารถในการตีความกฎหมาย การค้นหาให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริง การวิพากษ์ วิจารณ์ สนับสนุน โต้แย้ง และการรับฟังความเห็นจากผู้อื่น รวมถึงความใฝ่รู้ในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น การปรับตัวในสังคมที่มีความหลากหลาย และการใช้สิทธิเสรีภาพที่ไม่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่น
  5. ด้านทักษะการวิเคราะห์ตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี มีความสามารถในการสื่อสารและการนำเสนอ และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมแก่กรณี

โดยในปีการศึกษา 2563 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจะจัดการศึกษาในรูปแบบ Interactive Learning แบบเต็มรูปแบบ ในการสร้างคลังข้อมูล (DATA) ผ่านระบบ Smart Class Room และ ZOOM เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และฝึกทักษะที่จำเป็นต่าง ๆ ผ่าน Project Base Learning เพื่อให้นักศึกษานำองค์ความรู้ไป Create and Design ในการแก้ไขปัญหาทางสังคมต่อไป

IMG_0858 IMG_0861 IMG_0866 IMG_0867 IMG_0870 IMG_0872 IMG_0874 IMG_0875 IMG_0876 IMG_0887 IMG_0890 IMG_0893 IMG_0897 IMG_0899 IMG_0901

อาจารย์คณะนิติฯ ร่วม เสวนาวิชาการ “สื่อมวลชนที่อยากเห็น” เนื่องในโอกาสครบรอบ 22 ปี สมาคมสื่อมวลชนจังหวัดขอนแก่น

IMG_2804วันที่ 4 มีนาคม 2563 อาจารย์แทนรัฐ คุณเงิน อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมเสวนาวิชาการหัวข้อ สื่อมวลชนที่อยากเห็น ร่วมกับหอการค้าจังหวัดขอนแก่น และสื่อมวลชนจังหวัดขอนแก่น เนื่องในโอกาสครบ 22 ปี สมาคมสื่อมวลชนจังหวัดขอนแก่น ณ ห้องภูพาน โรงแรมขอนแก่นโฮเต็ล

IMG_2782

 

โอกาสนี้ อาจารย์แทนรัฐ คุณเงิน ได้กล่าวถึงบทบาทสื่อมวลชนที่อยากเห็น ความสำคัญตอนหนึ่งว่า “บทบาทสื่อมวลชนยุคใหม่ นอกจากทำหน้าที่เป็น Reporter แล้ว ยังต้องเป็น Creator เพื่อนำเสนอเนื้อหาที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อสังคม รวมถึงรับผิดชอบต่อบทบาทการเป็น Influencer โดยสภาพที่จะต้องตั้งอยู่บนมาตรฐานจริยธรรมของสื่อ และเคารพสิทธิตามรัฐธรรมนูญในเรื่องความเป็นส่วนตัว (Privacy) ของประชาชน”

IMG_2887

นอกจากนี้ภายในงานยังมีพิธีมอบทุนสนับสนุนสมาคมจากหน่วยงานต่าง ๆ  การมอบทุนสนับสนุนด้านการศึกษาสำหรับบุตรสื่อมวลชน การมอบรางวัลสำหรับสื่อมวลชนดีเด่นประจำปี และรางวัลหน่วยงานดีเด่นด้านต่าง ๆ ซึ่งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับรางวัล สาขาบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีนี้โดยมีอาจารย์ปริศนา คำชาย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการพัฒนานักศึกษาเป็นผู้แทนรับมอบรางวัล ซึ่งได้รับเกียรติจากท่านดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นผู้มอบรางวัลในครั้งนี้

IMG_2773

IMG_2758IMG_2800

คณะนิติฯ ร่วมกับ กสม. จัดอบรมวิทยากรกระบวนการด้านสิทธิมนุษยชน มุ่งสร้างเครือข่ายพัฒนาครูภาคอีสาน

คณะนิติศาสตร์ โดย ศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการวิทยากรกระบวนการด้านสิทธิมนุษยชนแก่ครูในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อนำคู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไปประยุกต์ใช้

 

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 คณะนิติศาสตร์ โดย ศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการวิทยากรกระบวนการด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อนำคู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไปประยุกต์ใช้ สำหรับตัวแทนครูในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 100 โรงเรียน ณ โรงแรมเจริญธานีปริ๊นเซส ขอนแก่น

โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติบดี ใยพูล คณบดีคณะนิติศาสตร์ ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรมความตอนหนึ่งว่า “การปลูกฝังวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งสำคัญ บุคลากรทางการศึกษาจำเป็นต้องสร้างอนาคตใหม่สำหรับการปลูกฝังวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย และเป็นโอกาสอันดีในครั้งนี้ที่จะได้สร้างเครือข่ายกรรมการสิทธิมนุษยชนในส่วนภูมิภาคให้มีความเข้มแข็งและร่วมกันขับเคลื่อนการสร้างสังคมแห่งการเคารพสิทธิมนุษยชนต่อไป”

และโอกาสนี้ได้รับเกียตริจากท่านประกายรัตน์ ต้นธีรวงค์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้เกียรติเป็นประธานการเปิดการอบรมในครั้งนี้และได้กล่าวถึงความสำคัญของการอบรมวิทยากรกระบวนการด้านสิทธิมนุษยชน ความสำคัญตอนนึงว่า “ครูเป็นบุคลากรทางการศึกษาที่มีความสำคัญในฐานะผู้อำนวยการเรียนรู้ที่ทำหน้าที่สนับสนุน แนะนำวิธีการเรียนรู้และวิธีจัดระเบียบการสร้างความรู้ของเด็กและเยาวชน ซึ่งการอบรมวิทยากรกระบวนการในการประยุกต์ใช้คู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อเป็นการยกระดับเครื่องมือทางการศึกษา เพิ่มคุณภาพ และประสิทธิภาพครูในด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งเป็นการส่งเสริมบทบาทครูในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคู่มือดังกล่าว เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียน อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายพัฒนาครูให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันและนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่แก่ครูในโรงเรียนที่สังกัดอย่างเป็นระบบอีกด้วย”

สำหรับการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้จะจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 24 – 25 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงแรมเจริญธานีปริ๊นเซส ขอนแก่น เพื่อให้ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจและเกิดความตระหนักในเรื่องสิทธิมนุษยชน รวมทั้งเป็นการสร้างต้นแบบบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นเครือข่ายการเรียนรู้และการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนศึกษาในระดับภูมิภาค และให้เกิดการนำคู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไปประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนที่รับผิดชอบต่อไป

1 ทศวรรษ นิติศาตร์การละคอน ปลุกกระแสชี้นำสังคม ‘ด้านความเท่าเทียมทางเพศ’

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมาคณะนิติศาสตร์ ร่วมกับ สโมสรนักศึกษา ชุมนุมนิติศาสตร์การละคร จัดแถลงข่าวเปิดตัวละครเวที เรื่อง SOUVENIR THE MUSICAL ซึ่งเป็นละครประเพณีคณะนิติศาสตร์ ลำดับที่ 10 โดยได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติบดี ใยพูล คณบดีคณะนิติศาสตร์ คุณธัญญวาริน สุขพิสิษฐ์ คุณธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ คุณณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ อาจารย์ปริศนา คำชาย และอาจารย์นรากร วรรณพงษ์ ที่ปรึกษาชุมนุมนิติศาสตร์การละคร รวมถึงทีมงานและนักแสดงร่วมงานในครั้งนี้ด้วย นอกจากนี้ภายในงานยังมีการจัดเสวนาวิชาการเรื่อง เจตคติทางเพศในระบบโครงสร้างทางสังคมไทย โดยมีนักศึกษาจากหลากหลายคณะเข้าร่วมรับฟัง

สำหรับละครประเพณีคณะนิติศาสตร์ ลำดับที่ 10 หรือ บรรพ 10 เรื่องนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากการกลั่นแกล้งกันทางสังคม (Bully) ได้สะท้อนประเด็นทางสังคมเกี่ยวกับเพศทางเลือก หรือ LGBTQ นับแต่ครั้งอดีตจนปัจจุบัน ก่อนปี 2018 เพศทางเลือกไม่ได้รับการยอมรับในสังคมและมักถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม จนกระทั่งปี 2018 องค์การอนามัยโลก (World Health Organization-WHO) ได้ออกมาประกาศว่าเพศทางเลือกนั้นไม่ได้ถือว่าเป็นความผิดปกติทางจิต โดยอธิบายว่าเป็นการใช้ชีวิตแบบเพศวิถี คือ การเลือกใช้ชีวิตในรูปแบบเพศที่ชอบโดยไม่จำเป็นว่าเป็นเพศนั้น หรือ อัตลักษณ์ทางเพศ ซึ่งจะมีการแสดงออกว่าเป็นเพศใด ทำให้สังคมเริ่มมีการเปิดกว้างและยอมรับความหลากหลายทางเพศมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทุกภาคส่วนได้พยายามสร้างความรู้ความเข้าใจและการยอมรับเกี่ยวกับ เพศทางเลือก แต่กลุ่มคนเพศทางเลือกมักถูกลดทอนสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่เว้นแม้แต่สิทธิในการมีชีวิตอย่างมีความสุข ด้วยเหตุนี้ จึงได้นำเสนอประเด็นดังกล่าวผ่านรูปแบบละครเวที เดอะมิวสิคัล เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่ได้สื่อสารให้กับนักศึกษาและบุคคลทั่วไปตระหนักถึงความสำคัญ และสามารถยอมรับในความเป็นมนุษย์ของกลุ่มเพศทางเลือกได้ เช่นเดียวกับความเป็นมนุษย์ของเพศชายและหญิง

นายดนุเดช ปัญจมาตย์ นายกสโมสรนักศึกษาได้กล่าวว่า ในการจัดทำละครเวทีในครั้งนี้เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางด้านกฎหมาย จากห้องบรรยายสู่ความบันเทิงในรูปแบบละครเวที ให้กับนักศึกษาและประชาชนทั่วได้รับทราบถึงแนวคิด มุมมอง การสะท้อนสังคมผ่านตัวละคร รวมถึงเป็นการเสริมสร้างทักษะ Soft-Skill ให้กับนักศึกษากฎหมาย ได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการทำงานร่วมกัน (Learning By Doing) การออกแบบและสร้างสรรค์ผลงาน (Create and Design) เพื่อรณรงค์ประเด็นทางสังคม

ละครประเพณีคณะนิติศาสตร์ ในลำดับที่ 10 เรื่อง SOUVENIR THE MUSICAL จะทำการแสดง ในวันที่ 12-16 กุมภาพันธ์ 2 รอบเวลา 17.30น.และ 20.30น. ณ โรงละครคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (FA THEATER) โดยภายในงานจะมีนิทรรศการครบรอบ10 ปีของนิติศาสตร์การละคอน การรณณงค์เรื่องสิทธิและความเท่าเทียม รวมไปถึงเกร็ดความรู้ในเรื่องของเพศทางเลือก LGBTQ อีกด้วย

IMG_1321 IMG_1345 IMG_1350 IMG_1378 IMG_1399 IMG_1443 IMG_1445 IMG_1467 IMG_1653 IMG_1658 IMG_1665 IMG_1671 IMG_1677 IMG_1686 IMG_1688 IMG_1693

คณะนิติฯ MOU ร่วมกับสันนิบาตเทศบาลภาคอีสาน สร้างเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนานักศึกษายุคใหม่แห่งศตวรรษที่ 21

คณะนิติศาสตร์ ลงนามบันทึกความร่วมมือร่วมกับ สันนิบาตเทศบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หน่วยงานและสถานประกอบการในจังหวัดขอนแก่น 18 หน่วยงาน เพื่อร่วมกันพัฒนานักศึกษายุคใหม่แห่งศตวรรษที่ 21

วันที่ 16 มกราคม 2563 คณะนิติศาสตร์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติบดี ใยพูล คณบดีคณะนิติศาสตร์ ร่วมพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือกับ สันนิบาตเทศบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หน่วยงานและสถานประกอบการในจังหวัดขอนแก่น 18 หน่วยงาน ประกอบด้วย หอการค้าจังหวัดขอนแก่น สภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดขอนแก่น สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดขอนแก่น บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) บริษัท โตโยต้าขอนแก่น ผู้จำหน่ายโตโยต้า จำกัด บริษัท ขอนแก่นแหอวน จำกัด บริษัท โตโยต้าแก่นนคร จำกัด บริษัท อีสานพิมาน กรุ๊ป จำกัดบริษัท เอสพี ออโต้ โปรดักส์ จำกัด บริษัท รวมทวีขอนแก่น จำกัด บริษัท เค.ซี.รุ่งเรืองการเกษตร จำกัด (โรงสีชัยมงคล)บริษัท ศิริการกรุ๊ป 90 จำกัด  บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด ภัตตาคารบัวหลวง ร้านเภสัชกรประสิทธิ์ (ท่งจี่ตึ้ง) ตลาดจอมพลและโรงแรมโฆษะ เพื่อร่วมมือในการการพัฒนานักศึกษา ซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญของประเทศให้เป็น “คนไทยยุคใหม่แห่งศตวรรษที่ 21” ณ ขอนแก่นฮอล์ ศูนย์การค้าเซนทรัลพล่าซ่าขอนแก่น โดยมีแนวทางความร่วมมือดังนี้

  1. การสร้างพื้นที่การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ แทนที่การเรียนในชั้นเรียน และเปิดโอกาสให้นักศึกษานำความรู้ไปปรับใช้ในสถานการณ์จริง
  2. การสนับสนุนระบบการจัดการเรียนการสอนให้เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning) การเรียนรู้ในชุมชน (Community-integrated Learning) และการเรียนรู้โดยมีปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning) ให้แก่นักศึกษา

โดยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นโรงเรียนสอนกฎหมายที่มุ่งประสงค์ต่อการสร้างและผลิตบุคลากร ผลงานวิชาการ และนวัตกรรมทางสังคมด้านกฎหมายและงานยุติธรรม เพื่อรองรับต่อยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลง ตอบสนองต่อนโยบายขับเคลื่อนประเทศ นโยบายของมหาวิทยาลัย และสนับสนุนยุทธศาสตร์เป็นศูนย์กลางของนโยบายด้านการส่งเสริมความรู้ด้านกฎหมาย สิทธิมนุษยชน และการเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Hub Center for Social Justice) กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานยุติธรรม กระบวนการยุติธรรม หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรอิสระ และ ให้ความสำคัญกับการสร้างกฎหมายรุ่นใหม่ที่แม่นยำในหลักกฎหมาย มีทักษะทางปัญญาสำหรับศตวรรษที่ 21 และมีวิสัยทัศน์ทางการบริหารจัดการ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่นักศึกษาและบัณฑิต (Value up) นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นในการสร้างระบบนิเวศทางการศึกษาวิชานิติศาสตร์ (Jurisprudence Ecosystem) ให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในยุคปัจจุบันและส่งเสริมการพัฒนารูปแบบให้นักศึกษาได้เรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)

IMG_9433 IMG_9437 IMG_9390 IMG_9363

 

คณะนิติฯ มข. ต้นแบบการขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชนศึกษาจากองค์ความรู้สู่การปฏิบัติ

ศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นต้นแบบการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาและสร้างคนรุ่นใหม่แห่งสังคมเคารพสิทธิมนุษยชน พร้อมส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (LIFELONG LEARNING)

วันที่ 13 มกราคม 2563 อาจารย์ดารณี ราชภูเขียว ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการบริหารเครือข่ายทางวิชาการ ในฐานะคณะกรรมการศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รับมอบ “หลักสูตรสิทธิมนุษยชนศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย” และ “คู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน” และเข้าร่วมการสัมมนาวิชาการเรื่อง “การเผยแพร่และการขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชนศึกษา (Human Rights Education) ในสังคมไทย” จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยมีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการสัมมนา ณ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้แทนนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเปิดการสัมมนาและกล่าวปาฐกถานำในหัวข้อ “สิทธิมนุษยชนศึกษา (Human Rights Education) กับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในสังคมไทย” ได้กล่าวถึงสิทธิมนุษยชนว่าเป็นสิทธิของมนุษย์ที่ทุกคนมีมาแต่เกิด โดยไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายมารองรับ เป็นสิทธิที่มีคู่กับความเป็นมนุษย์ โดยไม่คำนึงถึงเพศ เชื้อชาติ ศาสนา อาชีพ และความแตกต่างใด ๆ ในทางกายภาพหรือสถานะทางสังคม ไม่ว่าจะยากดีมีจน ซึ่งรัฐมีหน้าที่ต้องส่งเสริมและคุ้มครองบุคคลให้เกิดความเป็นธรรม หากทำให้ทุกคนได้รับทราบและเข้าใจความสำคัญของสิทธิมนุษยชน ทุกคนก็จะเกิดความหวงแหน ไม่ยอมให้ผู้ใดมาพรากเอาไปได้ ในการจัดทำหลักสูตรสิทธิมนุษยชนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เป็นการวางรากฐานสำคัญให้เด็กรู้จักสิทธิ เข้าใจสิทธิ และไม่ละเมิดสิทธิ สำหรับ “หลักสูตรสิทธิมนุษยชนศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย” ทั้งหลักสูตรสำหรับบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม หลักสูตรสำหรับภาคธุรกิจ และหลักสูตรสำหรับผู้บริหารระดับสูงนั้น ล้วนมีความสำคัญ เพราะสิทธิมนุษยชนศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (a lifelong process) ของคนทุกคน ที่จำเป็นต้องมีทั้งองค์ความรู้ การนำไปปฏิบัติจริง แล้วจึงจะเกิดปัญญา

และกล่าวในตอนท้ายว่า หากพิจารณาเป้าหมาย 17 ข้อของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) ที่ประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทยได้ให้คำมั่นร่วมกันว่าจะก้าวไปให้ถึงเป้าหมายภายในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) ล้วนมีฐานของสิทธิมนุษยชนเกี่ยวข้องอยู่ในทุกเป้าหมายทั้งสิ้น และประเทศไทยยังมีเวลาอีก 10 ปีที่จะมุ่งสู่เป้าหมายดังกล่าว หลักสูตรสิทธิมนุษยชนศึกษาจะช่วยให้ประเทศได้บรรลุเป้าหมาย SDGs ได้ หลังจากนั้น นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานในพิธีส่งมอบหลักสูตรสิทธิมนุษยชนศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายและคู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น องค์กรภาคประชาชน รวมถึงสถาบันพระปกเกล้า

โดยอาจารย์ดารณี ราชภูเขียว ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการบริหารเครือข่ายทางวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้แทนในการรับมอบในครั้งนี้ได้เผยว่า ศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ขับเคลื่อนโครงการงานด้านสิทธิมนุษยชนมาโดยตลอดอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะในเรื่องด้านสิทธิมนุษยชนศึกษา ได้มีการผลักดันให้สิทธิมนุษยชนศึกษาได้รับการพัฒนาเป็นรายวิชาศึกษาทั่วไปสำหรับนักศึกษาทุกคณะในมหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมถึงเป็นรายวิชาเฉพาะสำหรับนักศึกษาสาชาวิชานิติศาสตร์และสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ได้แก่ วิชาสิทธิขั้นพื้นฐานและประชาสังคม วิชากฎหมายสิทธิมนุษยชน วิชาสิทธิและหน้าที่พลเมือง เป็นต้น โดยได้นำ “คู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน” ซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมาทดลองใช้ในการจัดการเรียนรู้ทั้งในรายวิชาและในกิจกรรมกระบวนการของกลุ่มนักศึกษาอาสาสิทธิฯ ซึ่งได้นำกิจกรรมตามคู่มือฯ ดังกล่าวมาออกแบบและประยุกต์ใช้กับการรณรงค์สิทธิมนุษยชนใน โครงการห้องเรียนสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ซึ่งมีโรงเรียนเครือข่ายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งสิ้น 15 โรงเรียน โดยจัดการเผยแพร่และสร้างความตระหนักถึงในประเด็น “การหยุดการกลั่นแกล้ง” (stop bullying)​ เป็นการพัฒนานักศึกษาในทักษะด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และสร้างพื้นที่การเรียนรู้ในและนอกสถานที่ให้แก่นักศึกษา รวมถึงเป็นการบริการวิชาการแก่ชุมชนเครือข่าย สร้างพื้นที่กลางในการส่งเสริมเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ และได้ร่วมกันระดมความคิดเห็นและออกแบบการแก้ไขปัญหาเพื่อหาข้อเสนอแนะ และผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาแก้ไขปัญหาต่อไป

77690 77693 81889504_1429562927203424_1311396052548452352_o 82103038_1429427660550284_6420053406810898432_o 82295375_1429427160550334_4318744531303399424_o

คณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร คณะนิติศาสตร์ เข้าสวัสดีปีใหม่อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น

คณะนิติศาสตร์ นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติบดี ใยพูล คณบดีคณะนิติศาสตร์ พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรได้เข้าพบและมอบกระเช้าของขวัญปีใหม่แด่ รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เนื่องในโอกาสส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2563 โดยท่านอธิการบดีได้กล่าวขอบคุณและให้พรปีใหม่ เพื่อส่งมอบความสุขให้แก่ชาวคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ณ อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น

80039003_2737275649685018_7675618788636622848_o 80260434_2737259913019925_6790644183204888576_o 80381554_2737275623018354_552138511419965440_o