คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศึกษาดูงาน ณ Xi’an Jiaotong University ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศึกษาดูงาน ณ Xi’an Jiaotong University ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

(1) ผศ.กิตติบดี ใยพูล คณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.ขอนแก่น พร้อมด้วยรองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย, รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและวิเทศสัมพันธ์ และคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรร่วมผลิตฯ ประกอบด้วยศาสตราจารย์ดร.อรุณรัตน์ ฉวีราช (ที่ปรึกษา), นายถาวร เศษมะพล หัวหน้าศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ (ที่ปรึกษา),นายดุลยพิชัย มหาวีระ รองอธิบดีอัยการศาลอาญาธนบุรี (ที่ปรึกษา),พันตำรวจโท ดร.พงษ์ธร ธัญญสิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม (กรรมการ), พันตำรวจตรี ดร.ชวนัสถ์ เจนการ สำนักกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม (กรรมการ) และคณะ เดินทางไปศึกษาดูงาน ณ Xi’an Jiaotong University ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 17-20 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โดย School of Law Xi’an Jiaotong University มี Mr.Li Wanqiang, Mr. Ding Wei รองคณบดี, Mr. Su Jinyuan ผู้ช่วยคณบดีและคณะ ให้การต้อนรับและให้ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายทางวิชาการและการพัฒนาหลักสูตรของคณะในครั้งนี้

(2) การเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ทำให้ทราบว่า คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยซีอาน ได้พัฒนาหลักสูตรมีเอกลักษณ์และจุดเด่นด้าน Chinese and International Business and Economic Law สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศด้านเศรษฐกิจ ตามนโยบาย Silk Road Economic Belt โดยมีการจัดตั้งศูนย์วิจัยกฎหมายเฉพาะทางอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ The Silk Road Institution for International and Comparative Law, Collaborative Innovation Centre for Silk Road Economic Belt Studies, Institute of Legislation and Jurisprudence, Institute of Intellectual Property Law และ Institute of Cyber Law

(3) ในโอกาสนี้ผศ.วนิดา แสงสารพันธ์ ในฐานะรักษาการผู้อำนวยการศูนย์บริหารงานวิจัยและความยุติธรรมทางสังคม ได้เยี่ยมชมกิจการเเละแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการบริหารงานและการดำเนินงานของศูนย์วิจัยกฎหมาย เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาศูนย์ฯ ของคณะต่อไป

(4) นอกจากนี้ อาจารย์สิรยา พั่ววงศ์แพทย์ เล็กประเสริฐ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและวิเทศสัมพันธ์ ได้ร่วมหารือเรื่องการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสองหน่วยงาน เช่น การเข้าร่วมประชุมวิชาการ การพัฒนาอาจารย์ของคณะให้มีความรู้ความเข้าใจกฎหมายการค้าและการลงทุนของประเทศจีน เป็นต้น

(5) ต่อมา คณะได้ศึกษาดูงาน ณ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ Institute of Forensic Sciences Xi’an Jiao Tong University โดยมี Prof. Jianghua Lai,
รองอธิการบดีและคณบดี ให้การต้อนรับและร่วมสนทนา เพื่อแลกเปลี่ยนเเละสอบถามข้อมูลถึงแนวทางการจัดทำหลักสูตรและงานวิจัยที่มีมิติบูรณาการระหว่าง Law (Social Science) และ Forensic Sciences (Pure Science) รวมถึงบทบาทสำคัญของงานนิติวิทยาศาสตร์ที่มีต่อกระบวนการยุติธรรม ซึ่งในการเยี่ยมชมนี้ทาง Institute of Forensic Science ได้พาชมห้องปฏิบัติการและสาธิตตัวอย่างการตรวจพิสูจน์ D.N.A. ประกอบพยานหลักฐานแห่งคดี และได้มีการแลกเปลี่ยนเรื่องกฎหมายกับงานนิติวิทยาศาสตร์ การนำนิติวิทยาศาสตร์ไปใช้ในกระบวนการยุติธรรม การพิจารณาคดี และการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ของทั้งสองประเทศ

(6) หลังจากที่ได้ศึกษาดูงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้เข้าร่วมศึกษาดูงานได้มีการประชุมกลุ่มและมีข้อสรุปดังนี้
1. กระทรวงยุติธรรมและมหาวิทยาลัยขอนแก่น จะร่วมมือกันดำเนินการร่างหลักสูตรร่วมผลิตอย่างเป็นรูปธรรม ในด้านกฎหมายและการบริหารงานยุติธรรม โดยมุ่งเน้นการบูรณาการนิติวิทยาศาสตร์กับงานบริหารความยุติธรรม
2. พันตำรวจตรี ดร.ชวนัสถ์ เจนการ สำนักกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม กล่าวว่าจากการดูงานที่ School of Law มีประเด็นวิจัยที่คณะนิติศาสตร์ควรร่วมกับกระทรวงยุติธรรมศึกษาวิจัยเชิงเปรียบเทียบถึงข้อจำกัดทางกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของกลุ่มประเทศอาเซียน
3. ทิศทางศูนย์บริหารงานวิจัยฯ ของคณะนิติศาสตร์ ต้องชัดเจนและมีเอกลักษณ์มุ่งเน้นเรื่องนิติวิทยาศาสตร์ การบริหารงานยุติธรรม และมีความเป็นสากล

(7) ทิศทางการพัฒนางานวิชาการ คณะได้กำหนดจัด Seminar and Workshop เรื่อง กฎหมายกับความยุติธรรมทางสังคม : การพัฒนาระบบงานยุติธรรมโดยอาศัยงานนิติวิทยาศาสตร์ ในวันที่ 7 ธันวาคม 2559 ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มี Keynote Speakers ได้แก่
1. Prof. Uta Immel ประเทศเยอรมันนี
2. Prof. Zhang Hong Bo ประเทศจีน
3. พันตำรวจโท ดร. พงษ์ธร ธัญญสิริ กระทรวงยุติธรรม : แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติกับการบริหารงานยุติธรรมสมัยใหม่
4. นายถาวร เศษมะพล ผู้พิพากษา : ศาลกับนิติวิทยาศาสตร์
5. นายดุลยพิชัย มหาวีระ อัยการ : อัยการกับนิติวิทยาศาสตร์
6. ศาสตราจารย์อรุณรัตน์ ฉวีราช คณะวิทยาศาสตร์ : การบูรณาการระหว่างนิติวิทยาศาสตร์กับงานสายกฎหมาย มุมมองจากประสบการณ์ของนักวิชาการสายวิทยาศาสตร์
7. อาจารย์พิทักษ์ ไทยเจริญ และอาจารย์วรวิทย์ ไชยตา คณะนิติศาสตร์ : กฎหมายกับนิติวิทยาศาสตร์
กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ บุคลากรในกระบวนการยุติธรรม นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่สนใจ

(8) หมายเหตุ มหาวิทยาลัยขอนแก่นและกระทรวงยุติธรรม ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกัน เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2559 เพื่อดำเนินกิจกรรมทางวิชาการต่าง ๆร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ การศึกษาข้อมูลในการจัดทำหลักสูตรร่วมผลิต หลักสูตรทางวิชาชีพและปฏิบัติการ เช่น หลักสูตรระดับปริญญาโท ด้านการบริหารงานยุติธรรมสมัยใหม่ ด้านนิติวิทยาศาสตร์ เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาบุคลากรและระบบงานตามแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ

15073328_566297253580502_2865547730644571212_n 15078694_566296693580558_6387343192068340418_n 15094523_566297310247163_4626850433812581931_n 15095559_566296716913889_2246380177810896914_n 15202738_566296870247207_1169340773223133845_n 15203336_566297046913856_6385227999973423130_n