Archives มีนาคม 2018

ปัจฉิมนิเทศว่าที่บัณฑิตทางกฎหมายพร้อมเสริมทักษะต่างๆที่จำเป็น เตรียมพร้อมสู่การรับใช้สังคม

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดโครงการปัจฉิมนิเทศ ประจำปีการศึกษา 2560 พร้อมการเสริมทักษะที่จำเป็นให้นักศึกษา ก่อนก้าวสู่การเป็นบัณฑิตเพื่อออกไปรับใช้สังคม

วันที่ 29 มีนาคม 2561 คณะนิติศาสตร์ ได้จัดโครงการปัจฉิมนิเทศ ประจำปีการศึกษา 2560 ณ โรงแรมเจริญธานี ขอนแก่น เพื่อเตรียมความพร้อมนักศึกษาของคณะสู่การเป็นบัณฑิตทางกฎหมายออกสู่สังคม ให้มีความพร้อมทั้งด้านวิชาการด้านกฎหมาย และทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพ พร้อมด้วยทักษะการเรียนรู้เชิงสหวิชาการสำหรับศตวรรษที่ 21 ให้นักศึกษาก้าวสู่วิชาชีพด้านกฎหมายอย่างภาคภูมิใจ ในกิจกรรมครั้งนี้คณะได้มีการเตรียมความพร้อมทักษะด้านต่าง ๆ คือ ทักษะการรู้จักวางตัวในสังคม ทักษะโลกศตวรรษที่ 21 ทักษะชีวิตงาน และ ทักษะการเข้าสังคม โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2560 เข้าร่วมกิจกรรมกันอย่างพร้อมเพรียง

ในลำดับแรกได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติบดี ใยพูล คณบดีคณะนิติศาสตร์ ได้กล่าวปัจฉิมนิเทศให้นักศึกษาว่าที่บัณฑิตของคณะประจำปีการศึกษา 2560 ความตอนหนึ่งว่า “ขอชื่นชมกับนักศึกษาทุกคนที่ได้ฝ่าฟันจนประสบความสำเร็จมาถึงวันนี้และขอบคุณนักศึกษาที่ให้ความร่วมมือตลอดระยะเวลาการทำงานร่วมกันตลอดหลักสูตร และขอบคุณไปยังผู้ปกครองที่ได้กรุณาไว้วางใจคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้เป็นสถาบันในการปลูกปัญญาในทางวิชาชีพกฎหมายแก่พวกเราทุกคน คณะไม่สามารถสร้างให้ทุกคนได้เป็นอย่างที่ทุกคนต้องการได้ เพียงแต่คณะมีหน้าที่ในการสร้างโอกาส สร้างพื้นที่ในการเรียนรู้ สร้างทักษะทางวิชาการ ตลอดระยะเวลา 4 ปี พร้อมทั้งเสริมสร้างนิติทัศนะให้กับว่าที่นักกฎหมายรุ่นใหม่ ต้องมีความรอบรู้ไม่เพียงแต่ศาสตร์ทางด้านกฎหมาย แต่ความรอบรู้ที่สังคมคาดหวังยังต้องมีความรู้ของศาสตร์อื่น ๆ เพื่อเติมเต็มความเป็นนักกฎหมายให้สมบูรณ์ และการสร้างนิติทัศนะ คือ การสร้างวิสัยทัศน์นักกฎหมายจะต้องเติมเต็มกับโลกในศตวรรษที่ 21 และวันนี้เป็นอีกโอกาสหนึ่งที่คณะได้จัดกิจกรรมนี้เพื่อเป็นการเตือนว่าที่บัณฑิตของคณะว่าทักษะที่จำเป็นในโลกอนาคตของการเข้าสู่วิชาชีพนั้นมีอะไรบ้าง และตัวนักศึกษาก็ต้องเป็นผู้ที่จะแสวงหาต่อยอดเพิ่มเติม และเป็นกลุ่มนักกฎหมายรุ่นใหม่ที่เป็นหลักให้สังคมและสืบทอดปณิธานนิติทัศนะรับใช้สังคมต่อไป”

หลังจากนั้นเป็นการบรรยายพิเศษในหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้

ทักษะการรู้จักวางตัวในสังคม เรื่อง “การวางตัวและมรรยาททางสังคม”  โดย พลเอกนิพนธ์ สีตบุตร ประธานที่ปรึกษาประจำคณะนิติศาสตร์  ได้บรรยายเรื่องของการวางตัวและมรรยาททางสังคมความตอนหนึ่งว่า “การวางตัวและมรรยาททางสังคมเป็นคุณลักษณะประจำตัวของบุคคล ได้แก่ การสัมมาคารวะ ความสุภาพ อ่อนน้อม ความมีวินัยและพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ปรากฏแก่สายตาของผู้อื่น บุคคลที่มีกริยามารยาทดีจะมีโอกาสได้รับความนิยมชมชอบและชื่นชมจากบุคคลรอบข้าง  มารยาททางสังคมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ทำให้คนเรารู้สึกดีต่อกัน สิ่งที่ดูเล็กน้อยแต่สำคัญ เพราะการมีมารยาทดีเปรียบเสมือนมีอาภรณ์ประดับกายที่งดงาม เป็นที่ชื่นชนและยอมรับของบุคคลรอบข้าง ผู้ที่มีมรรยาทดี มักประสบความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงาน เนื่องจากได้รับการยอมรับและเชื่อถือทางสังคม การมีมารยาทดีจึงเปรียบเสมือนในเบิกทางไปสู่ความสำเร็จ  เพราะฉะนั้นการเป็นนักกฎหมายนอกจากการมีความรู้ทางกฎหมายแล้ว การรู้จักกาลเทศะและวางตัวให้เหมาะสมก็จะยิ่งเป็นตัวช่วยส่งเสริมให้มีความก้าวหน้าและประสบความสำเร็จในเส้นทางอาชีพด้วย”

ทักษะโลกศตวรรษที่ 21 เรื่อง “คิดอย่างมีวิจารณญาณ : ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Critical Thinking) โดย อาจารย์วีระศักดิ์ จิตตะวิริยะพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกอบรมและบริการข้อมูลแห่งประเทศไทย (TBIC) ได้บรรยายถึงหลักการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) ซึ่งเป็นกระบวนการใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา เป็นการใช้ข้อมูลและการแก้ปัญหา เพื่อช่วยตัดสินใจ อย่างมีเหตุผล เกี่ยวกับสิ่งที่จะทำหรือเชื่อต่อไป  มีหลายกลยุทธ์ (Strategies) ที่ช่วยให้เราคิด เชิงวิเคราะห์ ประเมินปัญหา และตัดสินใจแก้ปัญหาอย่าง สร้างสรรค์ เมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาออกไปต้องเข้าสู่ชีวิตวัยทำงานประกอบกับยุคปัจจุบันที่ถือเป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสารที่สามารถสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วผ่านเทคโนโลยีที่เรียกว่า Smart Phone จึงมีความจำเป็นต้องใช้ทักษะการคิดในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยตัดสินใจเกี่ยวกับความถูกต้องของข้อมูล เพื่อเลือกสิ่งต่างๆ จากตัวเลือก (Choices) ทั้งหลายที่มีอยู่มากมาย โดยได้แนะนำในการฝึกทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ เช่น 1.การตั้งคำถาม คือการไม่รีบด่วนตัดสินใจ แต่จะต้องฝึกหัดในการตั้งคำถามก่อนเสมอ  2.การกระตุ้นให้มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาและกระบวนการ  3.การหลีกเลี่ยงการแสร้งทำเป็นว่ารู้คำตอบทั้งๆที่ไม่รู้  โดยจุดมุ่งหมายของการฝึกทักษะการคิดแบบวิพากษ์ (Critical Thinking) ก็คือการกระตุ้นให้เกิดคำถามอยู่เสมอ ให้สงสัยในสิ่งที่ได้ยิน ได้เห็น ได้อ่าน และสำรวจความคิดของตนเอง ในฐานะของการเป็นนักกฎหมายรุ่นใหม่ว่าที่บัณฑิตนิติศาสตร์ต้องคำนึงถึงแนวความคิดที่แตกต่างกันและหลากหลาย และเปิดโอกาสให้อภิปรายแสดงความเห็นอย่างอิสระในลักษณะระดมสมองพร้อมกับยอมรับความคิดเห็นของทุกคนด้วย

ทักษะชีวิตงาน เรื่อง “เทคนิคการปรับตัวสู่ชีวิตวัยทำงาน” โดย อาจารย์สุทธิพงศ์  เมธาภิวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคคลและระบบคุณภาพ ได้บรรยายถึงเทคนิคการเตรียมความพร้อมสู่ชีวิตวัยทำงาน ซึ่งในโลกของการทำงานอาจดูงดงามสวยหรูในสายตาของนักศึกษาจบใหม่หลายๆคน แต่ที่จริงแล้วนั้น หากเปรียบมหาวิทยาลัยเป็นโรงเรียนเตรียมทหาร โลกของการทำงานก็คือสนามรบที่แท้จริงนั่นเอง ซึ่งถือเป็นเวทีชีวิตที่แท้จริง รอให้เหล่าว่าที่บัณฑิตทั้งหลายไปเรียนรู้และลงมือทำ ดังนั้น การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนก้าวเข้าสู่ โลกวัยทำงาน ถือเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการเตรียมพร้อมต่าง ๆ เช่น ทำความเข้าใจในหน้าที่ความรับผิดชอบ  เรื่องของการสื่อสาร การสร้างความเป็นมืออาชีพ เป็นต้น การเริ่มต้นวัยทำงานของนักศึกษาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2560 นี้ ให้ประสบความสำเร็จ นั้นมีอยู่หลายวิธี ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกใช้วิธีการไหนมาปฏิบัติ บางคนสังเกตเอาจากเพื่อนร่วมงาน หรือรุ่นพี่คนอื่น ๆ แล้วเอามาพิจารณาดูว่าวิธีการไหนมีความเหมาะสม แล้วควรนำมาปฏิบัติตาม การทำงานที่ก้าวหน้านั้นไม่ได้เริ่มต้นแล้วสำเร็จภายในวันเดียว แต่ต้องอาศัยเวลาในการฝึกฝน แล้วการเริ่มต้นวัยทำงานเหล่าว่าที่บัณฑิตของคณะนิติศาสตร์จะไม่เป็นเรื่องยากอีกต่อไป

หลังจากนั้นเป็นช่วงเสริมทักษะพร้อมปฏิบัติจริงในเรื่องของ ทักษะการเข้าสังคม เรื่อง “มารยาทบนโต๊ะอาหาร”  โดยได้รับเกียรติจากทีมวิทยากรของโรงแรมเจริญธานีได้บรรยายการรับประทานอาหารแบบ Europe Set พร้อมให้นักศึกษาได้ปฏิบัติไปพร้อมๆกัน อาทิ การใช้ช้อน-ส้อม (มีด) ตามลำดับให้ถูกต้อง การระมัดระวังกริยาบนโต๊ะอาหาร รักษาความเร็วในการรับประทานอาหาร เป็นต้น

นายภูมิภาค ภูพันนา นักศึกษาชั้นปี 4 ที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ได้เผยความรู้สึกว่า “รู้สึกดีใจที่คณะจัดกิจกรรมในครั้งนี้ให้กับนักศึกษาเป็นงานปัจฉิมนิเทศที่ไม่เหมือนที่คิดไว้เดิมจะมีเพียงการกล่าวปัจฉิมจากผู้บริหาร คณาจารย์และก็จบกิจกรรม แต่กิจกรรมในวันนี้ทำให้รู้ว่าคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นไม่ได้เพียงแต่สร้างทักษะทางวิชาการให้แก่นักศึกษา แต่ยังพัฒนาให้นักศึกษามีทักษะชีวิต ทักษะในการทำงานเพื่อให้เราเป็นบัณฑิตที่มีนิติทัศนะรับใช้สังคมอย่างแท้จริง”

DSC_5306 DSC_5201 DSC_5222 DSC_5212 DSC_5268 DSC_5325 DSC_5273 DSC_5279 DSC_5226 DSC_5196 DSC_5197 DSC_5309 DSC_5313 DSC_5348 DSC_5349 DSC_5358 DSC_5450 DSC_5465 DSC_5513 DSC_5671 DSC_5723 DSC_5717 DSC_5479 DSC_5459 DSC_5342 DSC_5698 DSC_5668 DSC_5462

ภาพ/ข่าว : พชร โนนทิง

 

ประกาศฯ แนวทางการวินิจฉัยบัตรเลือกตั้งในการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสโมสรนักศึกษา

ประกาศฯ แนวทางการวินิจฉัยบัตรเลือกตั้งในการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสโมสรนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ประจำปี 2561
>> ประกาศ กกต. เรื่อง แนวทางการวินิจฉัยบัตรเลือกตั้งฯ

ห้องเรียนสิทธิมนุษยชน และสันติศึกษาสัญจร

คณะนิติศาสตร์ ร่วมกับ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล จัดกิจกรรมห้องเรียนสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาสัญจร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาให้กับนักศึกษา

วันที่ 24 มีนาคม 2561 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม “ห้องเรียนสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาสัญจร” เพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาให้กับนักศึกษาซึ่งถือเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนสังคม โดยกิจกรรมมีการบรรยายเรื่อง องค์ความรู้สิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา สถาการณ์สิทธิมนุษยชนสากล โดยสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึง การเสวนาพูดคุยเกี่ยวกับ กรณีปัญหาสิทธิมนุษยชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย นายเดชา เปรมฤดีเลิศ ผู้ทรงคุณวุฒิเทศบาลนครขอนแก่น และนายสุวิทย์ กุหลาบวงษ์ นายกสมาคมสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมและเลขาธิการคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคอีสาน (กป.อพช.) และปิดท้ายด้วยการถอดสรุปกิจกรรมองค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา และข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อไป

ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0001 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0003 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0004 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0005 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0006 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0007 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0008 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0010 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0011 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0012 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0013 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0014 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0021 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0029 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0030 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0043 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0044 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0047 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0048 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0051 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0052 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0054 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0056 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0057

 

เสริมศักยภาพบุคลากร สู่ความเป็นมืออาชีพ รุ่น 2

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความเป็นมืออาชีพ รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 19 – 20 มีนาคม 2561 ณ โรงแรมเจริญธานี ขอนแก่น

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความเป็นมืออาชีพ ในรุ่นที่ 2 เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพของบุคลากรให้มีความเหมาะสม พัฒนาทักษะการพูดและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงพัฒนาความมั่นใจในตนเอง และสร้างภาวะผู้นำในการทำงานอย่างมืออาชีพ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมอบรมเป็นบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการของคณะ จากกลุ่มงานบริการวิชาการ งานพัฒนานักศึกษา งานการเงินพัสดุ งานแผนและประกันคุณภาพ และงานทรัพยากรบุคคลของคณะเข้าร่วมจำนวน 18 คน ในการอบรมมีทั้งภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันพัฒนาบุคลิกภาพและระบบคุณภาพ นำโดย อาจารย์อาจารย์สุมธิพงศ์ เมธาภิวัฒน์ และทีมวิทยากร

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เล็กเห็นถึงความสำคัญของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนงานของคณะ สนับสนุนการดำเนินงานของผู็บริหารและคณษจารย์ พร้อมทั้งให้บริการกับนักศึกษา รวมถึงบุคคลภายนอกที่เข้ามาติดต่อ การพัฒนาศักยภาพดังกล่าวจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จของคณะ ในการสร้างความน่าเชื่อถือ และส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของคณะ ที่เป็นสถาบันผลิตบัณฑิตทางกฎหมายให้มีนิติทัศนะรับใช้สังคมต่อไป

25610320_๑๘๐๓๒๑_0024 DSC_3714 DSC_3719 DSC_3737 DSC_3743 DSC_3826 DSC_3827 DSC_3894 DSC_3998 DSC_4045DSC_3724

ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสโมสรนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ประจำปี ๒๕๖๑ (ฉบับที่ ๐๔ /๒๕๖๑)

ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสโมสรนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ประจำปี ๒๕๖๑ -04

ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสโมสรนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ประจำปี ๒๕๖๑ (ฉบับที่ ๐๔ /๒๕๖๑)

เรื่อง  หมายเลขกลุ่มนักศึกษา

คณะกรรมการการเลือกตั้งฯ ได้ตรวจสอบคุณสมบัติของกลุ่มนักศึกษาเรียบร้อยแล้ว หมายเลขผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นไปตามลำดับการยื่นใบสมัคร ดังนี้

กลุ่ม “ นิติศาสตร์ร่วมใจ”         หมายเลข ๑

บรรยายพิเศษ “พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2560”

คณะนิติศาสตร์ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า จัดบรรยายพิเศษเรื่อง พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560

วันที่ 15 มีนาคม 2561 คณะนิติศาสตร์ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า จัดบรรยายพิเศษให้ความรู้แก่นักศึกษาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2560 โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์ยศ นาคะเกศ เป็นประธานในการเปิดการบรรยายและท่านวัฒนศักดิ์ เสือเอี่ยม ผู้อำนวยการระดับสูง กรมการค้าภายใน เป็นผู้บรรยายพิเศษในครั้งนี้ โดยมีนักศึกษาที่สนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ณ ห้องทองใบ ทองเปาด์ และห้องประดิษฐ์มนูญธรรม 1

พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2560  ถือเป็นกฎหมายการแข่งขันทางการค้าฉบับใหม่ โดยได้มีการปรับปรุงบทบัญญัติต่าง ๆ ให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับรูปแบบการกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้าของภาคธุรกิจ โดยมุ่งเน้นการดูแลให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบธุรกิจทุกภาคส่วน ให้สามารถแข่งขันได้อย่างเสรีและเป็นธรรมในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน โดยเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ โดยที่พระรราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 ได้บังคับใช้เป็นเวลานาน และมีบทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับรูปแบบและพฤติกรรมการประกอบธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งการกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้าในปัจจุบันเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นภายในกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ จึงไม่มีความคล่องตัวและขาดความเป็นอิสระในการกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้า ทำให้การกำกับดูแลการประกอบธุรกิจให้มีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร สมควรปรับปรุงมาตรการในการกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้าให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและมีองค์กรกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้าที่มีความคล่องตัวและมีความเป็นอิสระ เพื่อให้ทันต่อพัฒนาการของรูปแบบและพฤติกรรมการประกอบธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น

DSC_3308 DSC_3311 DSC_3320 DSC_3324 DSC_3328 DSC_3334 DSC_3335 DSC_3336 DSC_3339 DSC_3345 DSC_3348 DSC_3350 DSC_3391 DSC_3399 DSC_3400 DSC_3402 DSC_3425 DSC_3569 DSC_3570DSC_3556DSC_3508DSC_3498

 

นำเสนอผลงานสายสนับสนุน มุ่งสู่ความก้าวหน้าในสายอาชีพ

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดำเนินโครงการเสนอผลงานของบุคลากรสายสนับสนุน เพื่อประโยชน์ในการพัฒนางาน เตรียมพร้อมสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น

วันที่ 15 มีนาคม 2561 เวลา 08.30 น. คณะนิติศาสตร์ ได้ดำนินโครงการการนำเสนอผลงานของบุคลากรสายสนับสนุน ที่แต่ละบุคคลได้จัดทำตามหัวข้อและตามภาระงานของตนเองทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาผลงานเพื่อมุ่งสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นตามเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ประเสริฐ เขียนนิลศิริ ที่ปรึกษาประจำคณะ เป็นประธานในการเปิดโครงการดังกล่าว ทั้งนี้ยังได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในและภายนอกคณะเพื่อรับฟังการนำเสนอและให้คำแนะนำเพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาผลงาน ประกอบด้วย อาจารย์วรวิทย์ ไชยตา หัวหน้าสำนักงานคณบดี คุณเพ็ญนภา วันสาสืบ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคุณวาสนา ถวิลเชื้อ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกจากคณะเภสัชศาสตร์

โดยการนำเสนอผลงานในครั้งนี้มีบุคลากรสายสนับสนุนที่ทำผลงานจำนวน 11 คน ดังนี้

1. เรืื่อง “คู่มือเส้นทางความก้าวหน้าของบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ” โดย นางสาวณัฐพัชร์ สีสมน้อย

2. เรื่อง “คู่มือการปฏิบัติงานของบุคลากร” โดย นางวณิชชา แสนสีหา

3. เรื่อง “การวิเคราะห์งบประมาณและการบริหารความเสี่ยงด้านบริหารงบประมาณ” โดย นางพัชราพรรณ อินทร์นอก

4. เรื่อง “การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของระบบงานบริหารงบประมาณของคณะ และแนวทางบริหารความเสี่ยงที่มีต่อระบบ KKUFMIS” โดย นางสาวสุปรียา ประดับการ

5. เรื่อง “การวิเคราะห์งานพัสดุกับการบริหารความเสี่ยงตามระเบียบพัสดุใหม่ และกฎหมายว่าด้วยการขัดกันของผลประโยชน์” โดย นางสาววิจิตรา เสมอสมัย

6. เรื่อง “การวิเคราะห์โอกาสและการพัฒนานักศึกษาฝึกงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะและมหาวิทยาลัย” โดย นายอนุชิต ปัสสาสุ

7. เรื่อง “การวิจัยชั้นเรียนความพึงพอใจของนักศึกษาต่อระบบคณะกรรมการบริหารจัดการชั้นปี” โดย นางสาวจินตนา บุ้งทอง

8. เรื่อง “คู่มือการบริหารความเสี่ยงด้านความพร้อมในการให้บริการด้านห้องเรียนและเทคโนโลยีสารสนเทศ” โดย นายอดิศักดิ์ หารสุโพธิ์

9. เรื่อง “การวิเคราะห์บทบาทของกลุ่มงานเลขานุการในการประสานงานกับกลุ่มงานอื่นๆ อย่างมีประสิทธิภาพ” โดย นางสาวจุฬาพร แสนโคตร

10. เรื่อง “คู่มือการปฏิบัติงานธุรการและสารบรรณ และมาตรการป้องกันเอกสารทางราชการสูญหายในระบบงานสารบรรณ” โดย นางสาววีนัส นามวิเศษ

11 เรื่อง “คู่มือการปฏฺบัติงานการรับรองอาจารย์พิเศษ และแนวทางการพัฒนาเพื่อภาพลักษณ์องค์กร” โดย นางสาวจีราวรรณ ประดับการ

โดยผู้นำเสนอในครั้งนี้ได้เตรียมความพร้อมในการนำเสนอผลงานทั้งการนำเสนอต่อหน้าคณะกรรมผู้ทรงคุณวุฒิ และการนำเสนอในแบบโปสเตอร์ เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับบุคลากรและเป็นแนวทางให้สามารถพัฒนาผลงานของตนเองเพื่อประโยชน์ในการขอกำหนดตำแหน่งตามเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพต่อไป

DSC_3251 DSC_3255 DSC_3257 DSC_3262 DSC_3268 DSC_3270 DSC_3299 DSC_3300 DSC_3302 DSC_3305 DSC_3365 DSC_3385 DSC_3419 DSC_3462 DSC_3515 DSC_3524 DSC_3579 DSC_3597 DSC_3608DSC_3249DSC_3369DSC_3288DSC_3303DSC_3279DSC_3246DSC_3277

 

นิติฯ มข.รับพระราชทานรางวัลฯ “​องค์กร​ดีเด่น”​ ตอกย้ำความเป็นเลิศการผลิตบัณฑิตทางกฎหมายและบริการวิชาการสู่สังคม

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับรางวัลพระราชทานฯ รางวัล เทพทอง ประเภทองค์กรดีเด่น ครั้งที่ 18 ประจำปี 2561

เมื่อวันที่ 14​ มีนาคม​ 2561 ที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติบดี ใยพูล คณบดีคณะนิติศาสตร์ ได้เป็นผู้แทนคณะเข้ารับพระราชทานรางวัลฯ​ เทพทอง ประเภทองค์กร​ดีเด่น​ ครั้งที่ 18 ประจำปี​ 2561​ ณ​ ศาลาสหทัยสมาคม​ ในพระบรมมหาราชวัง​ กรุงเทพมหานคร​ ในการเข้ารับรางวัลในครั้งนี้  ผศ.กิตติบดี ใยพูลได้กล่าวชื่นชมศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน ความว่า “ขอชื่นชมศิษย์เก่า​และศิษย์​ปัจจุบัน​ที่ช่วยกันสร้างผลงานและชื่อเสียงเป็นที่ประจักษ์​ให้กับสถาบัน​ อันส่งผลให้ “คณะ​นิติศาสตร์​ มหาวิทยาลัย​ขอนแก่น” เป็นที่ยอมรับและได้รับการประกาศเกียรติคุณจากหน่วยงานภายนอก​อย่างต่อเนื่อง​” 

นอกจากนี้ในงานพระราชทานฯ​ มีการประกาศ​เกียรติ​คุณดังนี้​
“คณะเป็นองค์กร​ที่ผลิตบัณฑิต​ทางกฎหมาย​ การบริการวิชาการแก่สังคม​ และส่งเสริมงานวิจัยด้านนิติศาสตร์​และความยุติธรรม​ทางสังคม​ เป็นองค์กร​ที่มุ่งเน้นความซื่อสัตย์​และยุติธรรม​ พัฒนาประชากรของชาติให้มีคุณภาพ​ นำความรู้​ความสามารถ​มาพัฒนาสังคม​และประเทศชาติ​ให้ดียิ่งขึ้น”

ตลอดระยะเวลาในการดำเนินงานในฐานะโรงเรียนสอนกฎหมายแห่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น กว่า 10 ปี คณะนิติศาสตร์ได้ผลิตบัณฑิตออกสู่สังคมที่อยู่ในทั้งหน่วยงานยุติธรรม ภาครัฐ ภาคเอกชน ที่ร่วมกันสร้างผลงานและชื่อเสียงเป็นที่ประจักษ์ จนได้รับการยอมรับและรางวัลอย่างต่อเนื่อง
พ.ศ.2558​ รางวัลพัฒนาการศึกษาดีเด่นแห่งปี
พ.ศ.2559​ รางวัลนักบริหารดีเด่นแห่งปี​ ประจำปี​ 2559
พ.ศ.2560​ รางวัลองค์กรเครือข่ายกระทรวงยุติธรรม​
พ.ศ.2561​ (ปัจจุบัน)​ รางวัลพระราชทาน​ ประเภทองค์กรดีเด่น​ ประจำปี​ 2561​

28828266_783188621891363_4753200282478888088_o 28698756_783188721891353_5747369623534533926_o  29249785_783188858558006_1959350802415824477_n

29177030_783188775224681_2378860316001470990_n29196902_783188831891342_625306200740348935_n

ภาพ/ข่าว : Facebook Kittibordee Yaipool