Archives 2017

10 ธันวาคม วันรัฐธรมนูญ

วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี

ความหมายของรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ ตรงกับ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

ประวัติความเป็นมา

การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  

– พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

– หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ทรงแก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ

– อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการณ์ทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน

– รัฐบาลได้ออกกฎหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร

จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา, พันเอก พระยาทรงสุรเดช และพันเอก พระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ

วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว” สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคล คณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎร ดังนี้

– พระมหากษัตริย์

– สภาผู้แทนราษฎร

– คณะกรรมการราษฎร

– ศาล

ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่าง ๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีทั้งหมด 20 ฉบับ

รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” จากนั้น ราชอาณาจักรไทย ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ ดังนี้

1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 (27 มิถุยายน – 10 ธันวาคม 2475)

2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) พุทธศักราช 2475 (10 ธันวาคม 2475 – 9 พฤษภาคม 2489) ถูกยกเลิกเพราะล้าสมัย

3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (9 พฤษภาคม 2489 – 8 พฤศจิกายน 2490) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร

4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม (9 พฤศจิกายน 2490 – 23 มีนาคม 2492)

5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 (23 มีนาคม 2492 – 29 พฤศจิกายน 2494) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร

6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 (8 มีนาคม 2495 – 20 ตุลาคม 2501) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ

7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 (28 มกราคม 2502 – 20 มิถุนายน 2511)

8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 (20 มิถุนายน 2511 – 17 พฤศจิกายน 2514) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ

9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 (25 ธันวาคม 2515 – 7 ตุลาคม 2517)

10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 (7 ตุลาคม 2517 – 6 ตุลาคม 2519) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน

11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 (22 ตุลาคม 2519 – 20 ตุลาคม 2520)

12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 (9 พฤศจิกายน 2520 – 22 ธันวาคม 2521)

13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (22 ธันวาคม 2521 – 23 กุมภาพันธ์ 2534) ถูกยกเลิกโดยคณะ รสช.

14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 (1 มีนาคม – 9 ตุลาคม 2534)

15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 (9 ธันวาคม 2534 – 11 ตุลาคม 2540) ถูกยกเลิกหลังตรารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน

16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับประชาชน (11 ตุลาคม 2540 – 19 กันยายน 2549) ถูกยกเลิกโดยคณะ คปค.

17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 (1 ตุลาคม 2549 – 24 สิงหาคม 2550)

18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (24 สิงหาคม 2550 – 22 กรกฎาคม 2557)

19. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 (22 กรกฎาคม 2557 – 6 เมษายน 2560)

20. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (ุ6 เมษายน 2560 – ปัจจุบัน)

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 

นับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ร่างขึ้นโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญในระหว่าง พ.ศ. 2557-2560 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงลงพระปรมาภิไธย ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร และมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระราชโองการ

วันรัฐธรรมนูญ

สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดี ให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

กระทั่งถึงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิ ได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี

ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้

หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้

รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย
รัฐสภาไทย

คณะนิติฯ มข. เสริมทักษะวิชาการนักศึกษาเตรียมพร้อมก่อนสอบปลายภาค

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย คณะกรรมการบริหารนักศึกษาชั้นปี จัดโครงการเสริมทักษะวิชาการเตรียมพร้อมก่อนสอบให้นักศึกษาในแต่ละชั้นปี

ตามที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารนักศึกษาชั้นปี 1 – ปี 4 รวมถึง นักศึกษาภาคบัณฑิต เพื่อช่วยเหลือแนะนำนักศึกษาในด้านการเรียน การใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยอย่างสมบูรณ์ รวมถึงวางแผนการจัดกิจกรรมเสริมทักษะให้นักศึกษาทั้งด้านวิชาการและทักษะที่จำเป็นในการประกอบวิชาชีพกฎหมาย และเป็นการดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ในแต่ละชั้นปีได้มีการจัดโครงการเสริมทักษะวิชาการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงฤดูการสอบปลายภาค ประจำภาคต้น ปีการศึกษา 2560

ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2560 คณะกรรมการบริหารนักศึกษาชั้นปี 2  การได้จัดอบรมประมวลผลการเรียนรายวิชากฎหมายว่าด้วยทรัพย์ โดยอาจารย์ปัฐมาภรณ์ สินทรัพย์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะกรรมการบริหารนักศึกษาชั้นปี 3 ได้จัดอบรมประมวลผลการเรียนและฝึกเขียนตอบข้อสอบรายวิชากฎหมายว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัท โดย อาจารย์จินตนา อุณหะไวทยะ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะกรรมการบริหารชั้น 4 ได้จัดอบรมเสริมทักษะรายวิชากฎหมายภาษีอากร โดยนายจักรกฤษณ์ ด่านเฉลิมนนท์ วิทยากรจากภายนอก มาทบทวนความรู้สำหรับนักศึกษา นอกจากนี้คณะกรรมการบริหารนักศึกษาภาคบัณฑิตก็ได้มีการประชุมแลกเปลี่ยนและวางแผนแนวทางการเรียนร่วมกันร่วมถึงการทบทวนกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สำหรับภาคบัณฑิต โดยอาจารย์บุษกร ปราบ ณ ศักดิ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์

สำหรับกิจกรรมในแต่ละชั้นปี ที่คณะกรรมการบริหารนักศึกษาแต่ละชั้นปีก็ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องในก่อนหน้านี้ อาทิ โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน โครงการเขียนตอบปัญหากฎหมาย รวมถึงกิจกรรมการทบทวนรายวิชาต่าง ๆ ที่ทางคณะกรรมการในแต่ละชั้นปีได้วางแผนและเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่การสอบปลายภาค ประจำภาคต้น ปีการศึกษา 2560 เพื่อเสริมศักยภาพทางวิชาการของนักศึกษาให้เข้าใจและจดจำนำเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำข้อสอบรวมถึงการนำไปใช้ในการช่วยเหลือสังคมในอนาคตต่อไป

DSC_1868 - Copy DSC_1869 - Copy DSC_1872 - Copy DSC_1876 - Copy DSC_1878 - Copy DSC_1882 - Copy DSC_1935 - Copy DSC_1939 - Copy DSC_1949 - Copy DSC_1973 - Copy DSC_1975 - Copy DSC_1992 - Copy DSC_1998 - Copy DSC_2011 DSC_2035 DSC_2038DSC_1896

 

 

 

 

นักศึกษาร่วมแข่งขันตอบปัญหากฎหมาย งานรพีวิชาการ ปี 2560

“ตัวแทนนศ. ร่วมแข่งขันตอบปัญหาทางกฎหมาย งานรพีวิชาการ ประจำปี 2560 ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)”

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2560 เวลา 09.00 น. ตัวแทนนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มข. โดย นายภูมิภาค ภูพันนา และนายภูบดินทร์ วรชินา นักศึกษาชั้นปี 4 เข้าร่วมแข่งขันตอบปัญหาทางกฎหมาย ในงานรพีวิชาการ ประจำปี 2560 ณ คณะนิติศาสตร์ มธ. (ท่าพระจันทร์) ภายใต้การดูแลของอาจารย์อัษฎาวุทธ วสนาท และอาจารย์พิทักษ์ ไทยเจริญ ผู้ควบคุมทีม
ทั้งนี้ทีมคณะนิติศาสตร์ มข. มีผลคะแนนอยู่ในลำดับที่ 9 จากผู้เข้าร่วม 37 ทีม จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ

DSC_0928 DSC_0935 DSC_0936 DSC_0944 DSC_0953

บุญสมมาบูชาน้ำ (สีฐานเฟสติวัล) ประจำปี 2560

คณะนิติศาสตร์ ร่วมเดินขบวนบุญสมมาบูชาน้ำ สีฐานเฟสติวัล (วันลอยกระทง) ประจำปี 2560 ณ บึงสีฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2560 เวลา 17.00 น. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นร่วมเดินขบวนในงานบุญสมมาบูชาน้ำ สีฐานเฟสติวัล (วันลอยกระทง) ประจำปี 2560 ณ บึงสีฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้แนวคิด “มยุราภิรมย์ ปฐมโคมดอกกระมุทบาน ศรีรัชกาลพระร่วงเจ้า ท้าวศรีจุฬาลักษณ์” โดย ขบวนเปิด “ธ สถิตในดวงใจไทยนิรันดร์” “เฉลิมฉัตรรัดเกล้ามหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพวรางกูร”ตามคติความเชื่อแต่โบราณ พระมหากษัตริย์ คือพระนารายณ์อวตารลงมา เพื่อบำบัดทุกข์  บำรุงสุขให้แก่พสกนิกร และนี่คือเรื่องราวที่เกิดขึ้น ณ พื้นแผ่นดินแห่งหนึ่ง

 

ขบวน 1 มยุราภิรมย์ วิถีชีวิตของชาวไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีความผูกพันกับผืนน้ำในหลายด้าน ทั้งเกษตรกรรม และการอุปโภคบริโภค ไม่ผิด หากจะกล่าวว่าน้ำ หล่อเลี้ยงชีวิตของคนจิตวิญญาณของบรรพบุรุษ ถูกดูดซับไว้ในสายน้ำที่หลั่งไหล แผ่ขยายประเพณีอันดีงามสู่วิถีชีวิตของชาวน้ำ หล่อหลอมให้สังคมมีความกลมกลืนด้านวัฒนธรรม สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

ขบวน 2 ปฐมโคมดอกกระมุทบาน น้ำที่ใสสะอาด นอกจากจะชำระมลทินทางกาย ยังชำระทิฐิทางใจ ยังผลให้ผู้ใช้น้ำในการดำรงชีพ เห็นถึงคุณค่าของพระแม่คงคา ผู้ปล่อยสายน้ำจากเกษพระศิวะมายังโลกมนุษย์ ก่อให้เกิดประเพณีการสมมาบูชาน้ำ  โดยหนึ่งในนั้นคือ พระราชพิธีจองเปรียง หรือประเพณีลอยกระทง

ขบวน 3 ศรีรัชกาลพระร่วงเจ้า ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ตามตำหรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ได้กล่าวถึงการทำกระทงถวายของนางนพมาศไว้ว่าแลข้าน้อยทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมพระสนมทั้งปวง จึงเลือกผกาเกสรสีต่าง ๆ ประดับเป็นรูปดอกกระมุทบาน กลีบ รับแสงจันทร์ใหญ่ พันธุ์ดอกไม้ซ้อนสีสลับให้เป็นลวดลาย แลเอาผลพฤกษาระดาชาติ มาแกะจำหลักเป็นรูปมยุราคณานกวิหคหงส์ ให้จับจิกเกสรบุษผาชาติอยู่ตามกลีบดอกกระมุท เป็นระเบียบเรียบเรียง วิจิตไปด้วยสีย้อมสดสว่าง ควรจะทอดทรรศนายิ่งนักแลตอนนี้เองที่ข้า จะนำกระทงรูปดอกกระมุท ถวายสมเด็จพระร่วงเจ้าให้ทรงพระราชอุทิศสักการะบูชา พระบวรพุทธบาทซึ่งประดิษฐานยังนัมมทานที

และปิดขบวน สายน้ำเป็นดั่งเส้นเลือดของชีวิต มิเพียงดับกระหาย มิเพียงช่วยยังชีพ แต่ยังมีคุณเอนกนัปการ ควรแล้วที่เรารู้จักรักษา แลระลึกถึงบุญคุณเหนือสิ่งอื่นใด คือการตื่นตัวอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสายน้ำเพื่อประโยชน์อย่างยังยืนสืบไป

โดยคณะนิติศาสตร์ ได้ร่วมสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามเพื่อให้ธำรงไว้สืบไป

DSC_9490 DSC_9497 DSC_9503 DSC_9509 DSC_9514 DSC_9523 DSC_9535 DSC_9539 DSC_9547 DSC_9555 DSC_9565 DSC_9575 DSC_9596 DSC_9608 DSC_9609 DSC_9610 DSC_9614 DSC_9624 DSC_9633 DSC_9654 DSC_9655 DSC_9694 DSC_9760 DSC_9766 DSC_9767 DSC_9782 DSC_9792 DSC_9795 DSC_9796 DSC_9798 DSC_9812 DSC_9814 DSC_9819DSC_9742

 

 

 

เสริมทักษะการเรียนรู้ผ่านเกม i-Legal

คณะนิติศาสตร์ กระตุ้นการเรียนรู้และจดจำมาตราประยุกต์ผ่านเกม i-Legal นำร่องรายวิชากฎหมายว่าด้วยละเมิดฯ

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2560 คณะนิติศาสตร์ ดำเนินการจัดการเรียนการสอนรายวิชากฎหมายว่าด้วยละเมิดฯ สำหรับนักศึกษาชั้นปี 2 โดยนำร่องการใช้เกม i-Legal ให้นักศึกษาได้จับกลุ่มเลมเกมเพื่อเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ระหว่างเพื่อนนักศึกษาและการจำจดมาตราในรายวิชาดังกล่าว i legal เกมท้าสมอง ประลองความจำ คือเกมที่ผู้เล่นต้องการทดสอบความจำในการท่องมาตรากฎหมายใดกฎหมายหนึ่ง โดยผู้เล่นสามารถร่วมกันกำหนดเองได้ด้วยการทำสลากเลขมาตราขึ้นมา ในการแข่งขัน 1 เกม ผู้ร่วมแข่งขันทุกคนจะต้องเริ่มต้น ที่จุด start แล้วทอยลูกเต๋า 1 ครั้ง ก่อนเริ่มเล่นในแต่ละครั้งเพื่อกำหนดจำนวนการเดินหมาก เมื่อทอยลูกเต๋าเสร็จแล้ว ให้เดินตามจำนวนของลูกเต๋าที่ทอยได้ และปฏิบัติตามคำสั่งที่ปรากฏในช่องนั้นๆ เช่น ท่อง 1 มาตรา ให้ถูกต้องครบถ้วน ผู้เล่นจะต้องจับสลากขึ้นมา 1 อัน ได้มาตราใดให้ท่องมาตรานั้นให้ถูกต้องครบถ้วน เป็นต้น หากไม่สามารถปฏิบัติได้ ให้เดินย้อนกลับไปที่เดิมและสามารถเปิดดูประมวลกฎหมายได้เพื่อเป็นการทบทวน ความจำ ผู้เล่นคนใดสามารถกลับมาถึงจุด start ได้ก่อนจะเป็นผู้ชนะ สามารถออกคำสั่งให้ผู้แพ้กระทำอะไรก็ ได้ 1 อย่าง เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

อุปกรณ์ในการเล่นเกม
1.ประมวลกฎหมายหรือกฎหมายที่ต้องการเล่น จำนวน 1 เล่ม/ฉบับ
2.ชุดเกม (กระดาน,ลูกเต๋า,หมากเดิน,การ์ด judgment,กล่องใส่สลาก)

กติกาการเล่นเกม
1.ผู้ร่วมแข่งขันในแต่ละเกมไม่เกิน 6 คนเพื่อความสนุกในการเล่นเกม
2.ผู้ร่วมแข่งขันทุกคนร่วมกันกำหนดมาตราตามที่ต้องการ แล้วทำสลากขึ้นมา เมื่อจับสลากครบแล้วสามารถนำกลับมาเล่นซ้ำอีกได้
3.ผู้ร่วมแข่งขันทุกคนทอยลูกเต๋า คนละ 1 ครั้ง เพื่อกำหนดลำดับ โดยเริ่มเล่นเกมครั้งแรกจากคนที่ได้แต้มมากที่สุด ไปจนครบคนสุดท้ายที่ได้แต้มน้อยสุด หากได้แต้มเท่ากันให้ทอยอีกคนละครั้งเพื่อกำหนดลำดับ
4.ผู้ร่วมแข่งขันทุกคนจะต้องเริ่มต้นที่จุด start แล้วทอยลูกเต๋า 1 ครั้ง ก่อนเริ่มเล่นในแต่ละครั้งเพื่อกำหนดจำนวนการเดินหมาก เมื่อทอยลูกเต๋าเสร็จแล้ว ให้เดินตามจำนวนของลูกเต๋าที่ทอยได้ และปฏิบัติตาม คำสั่งที่ปรากฏในช่องนั้นๆ
โดยช่องปกติจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ถูกต้องครบถ้วน และ ใจความสำคัญ ผู้เล่นจะต้อง
จับสลากขึ้นมา 1 อัน ได้มาตราใดให้ท่องมาตรานั้นให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ทุกตัวอักษรหรือเฉพาะใจความที่สำคัญไม่ต้องทุกตัวอักษร หากไม่สามารถปฏิบัติได้ ให้เดินย้อนกลับไปที่เดิมและสามารถเปิดดูประมวลกฎหมายได้เพื่อเป็นการทบทวนความจำ
ส่วนช่องพิเศษอื่นๆ ให้ปฏิบัติตามคำสั่งคือ
 ถูกต้องครบถ้วนจับ judgment 1 ใบ ให้ผู้แข่งขันจับการ์ด judgment 1 ใบ และปฏิบัติตามคำสั่งด้านหลังการ์ด โดยท่องมาตราให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ทุกตัวอักษร
 พักยกร้องเพลง หยุดเดิน 1 รอบ ให้ผู้แข่งขันร้องเพลงอะไรก็ได้ 1 เพลง และหยุดเดินในรอบถัดไป
 จำศีล ท่องนะโม 3 จบ หยุดเดิน 1 รอบ ให้ผู้แข่งขันท่อง นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุท ธัสสะ 3 ครั้ง และหยุดเดินในรอบถัดไป
 ติดคุก เรียกชื่อคนที่ปลื้มดังๆ 3 ครั้งให้มาช่วย หยุดเดิน 1 รอบ ให้ผู้แข่งขันเรียกชื่อ คนที่ปลื้ม 1 ชื่อดังๆ 3 ครั้งให้มาช่วย และหยุดเดินในรอบถัดไป
 เดินต่อไป 2 ช่อง หรือเดินย้อนกับไป 5 ช่อง ให้ผู้แข่งขันปฏิบัติตามคำสั่ง
5.ในขณะผู้เล่นกำลังท่องประมวล เพื่อนที่ร่วมแข่งขันคนอื่นๆสามารถเปิดดูประมวลกฎหมายเพื่อตรวจสอบการท่องได้
6.ผู้เล่นคนใดสามารถกลับมาถึงจุด start ได้ก่อนจะเป็นผู้ชนะ โดยผู้ชนะสามารถออกคำสั่งให้ผู้แพ้กระทำอะไรก็ได้ 1 อย่าง เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
โดยผู้ร่วมแข่งขันสามารถร่วมกันกำหนดกติกาในการท่องมาตราได้ตามความเหมาะสมเพื่อประโยชน์สูงสุดในการเล่นเกม

อาจารย์ณัฐวรรณ อารัมภ์วิโรจน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ในฐานะประธานคณะทำงานจัดทำสื่อการสอนตามนโยบายเรื่อง Interactive Learning กล่าวว่า “สำหรับกิจกรรมการได้จัดขึ้นมาเพื่อให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมร่วมกันและกระตุ้นให้นักศึกษาสามารถท่องจำมาตราในประมวลกฎหมายที่เขาได้เรียนให้ได้ก่อนที่จะสอบปลายภาค เพราะว่าหลายคนอาจจะมองว่าการท่องจำมาตราเป็นเรื่องน่าเบื่อ ท่องจำคนเดียวก็อาจจะเบื่อ ดังนั้นจึงได้คิดเกมส์นี้ขึ้นมาเพื่อที่จะให้นักศึกษาได้มีแรงกระตุ้นให้สนใจในการท่องมาตราและเอามาเล่นเกมกัน ในเกมก็จะมีการสอดแทรกภาระกิจให้ดำเนิน เช่น การร้องเพลง การท่องนโมสามจบ การเรียกคนที่ปลื้มมาช่วย ซึ่งในเกมก็มีกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อให้การทำกิจกรรมไม่น่าเบื่อ ดังนั้นหากใครว่าการท่องจำมาตรามันน่าเบื่อ มาลองเล่นเกมนี้ด้วยกันนะคะ แล้วจะรู้ได้ว่าการท่องจำมาตราอาจไม่น่าเบื่ออย่างที่เราเคยทำมาคะ”

DSC_8782 DSC_8784 DSC_8788 DSC_8791 DSC_8793 DSC_8795 DSC_8796 DSC_8797 DSC_8799 DSC_8811 DSC_8816 DSC_8817 DSC_8819 DSC_8821 DSC_8822 DSC_8823 DSC_8829 DSC_8837 DSC_8841 DSC_8843

ประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2559

“คณะนิติศาสตร์ ต้อนรับคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตร ปีการศึกษา ๒๕๕๙”

วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๘.๓๐ น.คณะนิติศาสตร์ นำโดย ผศ.กิตติบดี ใยพูล คณบดีคณะนิติศาสตร์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙ นำโดย รศ.กาญจนา นาคะพินธุ ในฐานะประธานกรรมการ รศ.ดร.สิรินดา ยุ่นฉลาด ผศ.พลฤทธิ์ จุลมนต์ กรรมการ และนางสุรีรัตน์ ปันโยแก้ว ผู้ประสานงานสำนักประเมินฯ ทั้งนี้ผลปรากฎว่าการจัดการการศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต “ผ่าน” การประเมินอยู่ในระดับ “ดี” โดยคณะกรรมการได้ชี้ให้เห็นถึงจุดเด่นของการจัดการศึกษาของคณะนิติศาสตร์ อาทิ บัณฑิตสามารถมีงานทำได้หลากหลายและมีแนวโน้มของบัณฑิตที่ได้ทำงานภายในหนึ่งปีสูงขึ้น หลักสูตรมีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในองค์กรวิชาชีพที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ของนักศึกษา รวมถึงหลักสูตรมีการดำเนินการตามมาตรฐานวิชาชีพและมีผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกมาร่วมสอนทำให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่กว้างขวาง นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากคณะกรรมการฯ ที่คณะนิติศาสตร์จะได้นำไปพัฒนาปรับปรุงในการจัดการศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต เพื่อผลิตบัณฑิตทางกฎหมายให้มีคุณภาพและเป็นนักยุติธรรมที่ออกไปรับใช้สังคมต่อไป

DSC_8673 DSC_8676 DSC_8677 DSC_8681 DSC_8682 DSC_8693 DSC_8694 DSC_8695 DSC_8696 DSC_8702 DSC_8708 DSC_8714 DSC_8733 DSC_8777