คณะนิติฯ ม.ขอนแก่น ร่วมประชุมเครือข่ายหลักสูตรนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยในเครือ “ร้อยแก่นสารสินธุ์”

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมประชุมกับเครือข่ายหลักสูตรนิติศาสตร์จาก 5 สถาบัน “ร้อยแก่นสารสินธุ์” ณ ห้องประชุมยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ (พื้นที่นามน) โดยอาจารย์ณรงค์วิชย์ มหาศิริกุล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายดิจิทัลและการพัฒนานักศึกษา พร้อมบุคลากรฝ่ายบริหารงานเครือข่ายและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์คณะ และผู้แทนนักศึกษานำโดยรองนายกฯสโมสรนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ได้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ในการนี้ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กีรวิชญ์ เพชรจุล รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุมครั้งนี้ด้วย โอกาสนี้ ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับแนวทางการจัดการบริการวิชาการ การแลกเปลี่ยนนวัตกรรมการเรียนการสอน และการจัดกิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษานิติศาสตร์จากสถาบันในเครือ (นิติสัมพันธ์ – ร้อยแก่นสารสินธุ์ ) ได้แก่ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และสาขานิติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คณะนิติฯ ม.ขอนแก่น จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งฯ มุ่งปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเทคโนโลยี

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) และสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดเวทีระดมความคิดเห็นครั้งประวัติศาสตร์ “Looking back – Looking ahead ชวนมองกฎหมายไทย ล้าสมัยหรือไร้ที่ติ?” ณ Glowfish ชั้น G อาคารขอนแก่นอินโนเวชั่นเซนเตอร์ รวมพลังนักกฎหมายทั้งภาควิชาการและภาคปฏิบัติร่วมเสนอแนวทางแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทยให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเทคโนโลยี โอกาสนี้ อาจารย์แทนรัฐ คุณเงิน หัวหน้าศูนย์การเรียนรู้สถาบันกฎหมายเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ เป็นผู้แทนคณะให้เกียรติกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก คุณศรินทร เลืองวัฒนะวณิช อุปนายกฝายต่างประเทศ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้กล่าวถึง“บทบาทของสภาทนายความกับการปฏิรูปประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์” และคุณอุกฤษฏ์ ศรพรหม หัวหน้าฝ่ายนโยบายและกิจการต่างประเทศด้านหลักนิติธรรมและความยุติธรรมทางอาญา ได้กล่าวถึง”การปรับปรุงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในวาระครบ 100 ปี: ที่มาและความสำคัญ กับความยุติธรรมที่มี ประชาชนเป็นศูนย์กลาง” ภายในงานยังมีเวทีเสวนาวิชาการในหัวข้อ ” Looking back – Looking ahead ชวนมองกฎหมายไทย ล้าสมัยหรือไร้ที่ติ? ตอน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์” … Read more

คณะนิติศาสตร์ มอบรางวัล Activist of the Year Award 2024 แก่นักศึกษาผู้ทำกิจกรรมดีเด่นเห็นเป็นประจักษ์

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 คณะนิติศาสตร์จัดพิธีมอบรางวัล Activist of the Year Award 2024 เพื่อแสดงความชื่นชมต่อนักศึกษาที่มีผลงานโดดเด่นด้านกิจกรรมตลอดปีการศึกษา 2567 โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์วินิดา แสงสารพันธ์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ เป็นประธานในพิธีพร้อมกล่าวแสดงความยินดีกับนักศึกษาที่ได้รับรางวัล รางวัลดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ Outstanding Activity Award มอบให้แก่ Outstanding Achievement Award ครอบคลุม 5 ด้าน ได้แก่ การมอบรางวัลในครั้งนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของคณะนิติศาสตร์ในการส่งเสริมศักยภาพของนักศึกษาให้เติบโตเป็นนักกฎหมายที่มีความรู้และมีจิตสาธารณะ

ความสำคัญของนิติวิทยาศาสตร์กับนิติศาสตร์

ปัจจุบันงานด้านนิติวิทยาศาสตร์มีความสำคัญต่อกระบวนการยุติธรรม เนื่องจาก การก่ออาชญากรรมมีหลายรูปแบบและพัฒนาไปอย่างรวดเร็วส่งผลให้การตรวจเก็บหรือการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานมีความซับซ้อนต้องใช้ความรู้หรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตรวจพิสูจน์หรือตรวจเก็บพยานยหลักฐานเพื่อนำมาใช้ประกอบการพิสูจน์ความจริงในคดี รายวิชาสัมมนานิติวิทยาศาสตร์จัดการเรียนการสอนตามแบบ (Problem–based Learning : PBL) เป็นฐานในการจัดการเรียนรู้ เพื่อนำมาสู่การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อจัดการกับปัญหาดังกล่าว โดยมี อาจารย์ ดร. รุ่งลาวัลย์ สุดมูล และ อาจารย์วรวิทย์ ไชยตา เป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ได้มีการจัดการบรรยายพิเศษ เรื่อง “บทบาทงานตรวจพิสูจน์ทางเคมี-ฟิสิกส์กับนิติวิทยาศาสตร์” ซึ่งได้รับเกียรติจาก ร้อยตำรวจเอก ดร. นันทวัท ผลจันทร์ นักวิทยาศาสตร์ (สบ 1) กลุ่มงานตรวจทางเคมีฟิสิกส์ สังกัด ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4 เป็นผู้บรรยาย ทั้งนี้ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจต่อระบบการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ความจริงในคดี อีกทั้งเพื่อเป็นการต่อยอดองค์ความรู้หรือเพื่อนำไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพทางกฎหมายต่อไป 14 ก.พ. 2568

คณะนิติศาสตร์ ลงพื้นที่บริการวิชาการสู่สังคม จัดหลักสูตรอบรมกฎหมายสำหรับนักกฎหมายชุมชน

เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกิจกรรมหลักสูตรอบรมกฎหมายสำหรับนักกฎหมายชุมชน ภายใต้โครงการบริการวิชาการแบบบูรณาการสู่ชุมชนเพื่อสร้างองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) : กรณีการจัดการป่าชุมชนบ้านเมืองไพร อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ณ ศาลาประชาคมบ้านดงแสนสุข ตำบลดงเย็น อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นโครงการตามยุทธศาสตร์ของคณะด้านการบริหารเครือข่ายวิชาการเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์การเรียนรู้และนวัตกรรม กลยุทธ์ด้านการบริการวิชาการเพื่อสังคม เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม และยุทธศาสตร์การสร้างและส่งเสริมนิติทัศนะและความรับผิดชอบต่อสังคม และยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้านการบริการวิชาการเพื่อสร้างประโยชน์ให้สังคม (Societal Contributions) ในกลยุทธ์การสนับสนุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งกับชุมชนและสังคม และการร่วมมือเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชนและสังคม ในการจัดหลักสูตรอบรมกฎหมายฯ ได้รับเกียรติจากนายสุริยนต์ ดอนสมจิตร นายอำเภอบ้านดุง มาเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรม โดยมีประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกว่า 100 คน โดยหลักสูตรการอบรมกฎหมาย ฯ ประกอบด้วยการบรรยายให้ความรู้ “กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ชุ่มน้ำ” โดยอาจารย์อัษฎาวุธ วสนาท และการบรรยายให้ความรู้กฎหมายพื้นฐานสำหรับประชาชน โดย อาจารย์อาภาพรรณ วิเศษ และการให้ความรู้เรื่อง “การมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญ และการปกป้องสิทธิตามรัฐธรรมนูญ โดยเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และการแสดงละครให้ความรู้ทางกฎหมาย เรื่อง “การปกป้องผลประโยชน์อันพึงมีได้ตามกฎหมาย … Read more

บริการวิชาการ : คณะนิติฯ มข. ร่วมพัฒนาความรู้ด้าน PDPA ให้บุคลากรสาธารณสุข

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 อาจารย์แทนรัฐ คุณเงิน หัวหน้าศูนย์การเรียนรู้สถาบันกฎหมายเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เป็นวิทยากรในโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และการจัดทำบันทึกกิจกรรมการประมวลผล (RoPA)” ซึ่งจัดโดยสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย: งานนี้มีบุคลากรจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่นเข้าร่วมกว่า 60 คน โดยมีทีมวิทยากรจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นให้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความสามารถในการปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ยินดีที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านกฎหมายให้กับหน่วยงานต่าง ๆ และพร้อมให้การสนับสนุนด้านวิชาการเพื่อสร้างสังคมที่ตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

บริการวิชาการ ถ่ายทอดองค์ความรู้ทางกฎหมาย ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม

เมื่อวันที่ 25-26 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา คณะนิติศาสตร์ร่วมกับสมาคมส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมและองค์กรเครือข่าย 35 องค์กร จัดโครงการบริการวิชาการเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ทางกฎหมาย ภูมิปัญญาท้องถิ่น นิติประเพณี และความรับผิดชอบต่อสังคม : บ้านพองหนีบ อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ซึ่งเป็นโครงการตามยุทธศาสตร์ของคณะด้านการบริหารเครือข่ายวิชาการเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์การเรียนรู้และนวัตกรรม และยุทธศาสตร์การสร้างและส่งเสริมนิติทัศนะและความรับผิดชอบต่อสังคม และยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นด้านการบริการวิชาการเพื่อสร้างประโยชน์ให้สังคม (Societal Contributions) ในกลยุทธ์การสนับสนุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งกับชุมชนและสังคม และการร่วมมือเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชนและสังคม โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นมีเวทีเสวนาการแก้ไขปัญหาช้างป่าในพื้นที่ และการพัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่สีเขียว  โดยมีวิทยากรร่วมเวทีเสวนาดังนี้  โดยเวทีการเสวนาได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ในหลากหลายมุมมองเพื่อแก้ไขปัญหาช้างป่าร่วมกัน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมระดมทุนจัดตั้งกองทุนแก้ไขปัญหาช้างป่า โดยจัดวิ่งการกุศล การจัดดนตรี และผ้าป่าชุมชน มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวนกว่า 200 คนทั้งภาครัฐในพื้นที่ ชุมชน นักศึกษา และองค์กรเครือข่าย  ทั้งนี้การการขับเคลื่อนงานบริการวิชาการทางสังคม เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ทำให้ได้แนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากช้างป่า และประสานความร่วมมือในการแก้ไขปัญหากับภาครัฐในพื้นที่ การมีส่วนร่วมของชุมชนการรับรองสิทธิที่ดินทำกิน การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ การแก้ไขระเบียบท้องถิ่น และการให้ชุมชนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการแก้ไขปัญหาร่วมกันในระดับจังหวัด โดยได้มีการทำงานร่วมกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในการรายงานปัญหาพื้นที่และดำเนินงานแก้ไขปัญหาช้างป่าและมีข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังพัฒนาศักยภาพชุมชนการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ รวมทั้งการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนและกระจายรายได้ให้กับชุมชนร่วมกันกับหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่  กิจกรรมโครงการดังกล่าว ดำเนินการตามแนวทางการส่งเสริมบริการวิชาการสู่สังคม ที่เน้นการบริการวิชาการสร้างคุณค่าร่วมกัน และแก้ไขปัญหาชุมชน รวมไปถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางกฎหมายให้กับชุมชน ตลอดจนการส่งเสริมนิติทัศนะ (Legal Mind) และความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเปิดพื้นที่เรียนรู้และปฏิบัติการเชื่อมโยงระหว่างคณะกับนักศึกษา และชุมชน ให้มีพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างชุมชน นักกฎหมายและเครือข่ายภาคประชาสังคม  สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDGs) และสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน การถ่ายทอดและทำโครงการเพื่อให้เกิดความสมดุลของสภาพแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน รวมไปถึงการลดความขัดแย้งในสังคม สนับสนุนส่งเสริมวัฒนธรรมอันดีงาน ตามเป้าหมายการพัฒนายั่งยืนที่ ๑๖ ในการส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและการสร้างความยุติธรรมในระดับพื้นที่ 

เรียบรู้กับมืออาชีพ

การบรรยายพิเศษในหัวข้อ “บทบาทงานสืบสวนสอบสวนกับนิติวิทยาศาสตร์” ในรายวิชาสัมมนานิติวิทยาศาสตร์สำหรับนักศึกษาชั้นปี 4 โอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก1. พันตำรวจโท กฤษณ์ กมลรัตน์ อาจารย์ (สบ 2) กลุ่มงานอาจารย์ ศูนย์ฝึกอบรม ตำรวจภูธรภาค 4  2. พันตำรวจโท วัชราทิตย์ เกิดทิพย์สารวัตรกองกำกับการวิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ กองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 4 3. ร้อยตำรวจเอกชัชวิน ศรีแก้วหล่อรองสารวัตร (สอบสวน) สถานีตำรวจภูธรเมืองหนองบัวลำภู ได้ให้เกียรติบรรยายพร้อมกิจกรรม Workshop เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับงานสืบสวนสอบสวน

จัดสัมมนาวิชาการนานาชาติ สร้างเครือข่ายความร่วมมือเสริมความสุจริตทางวิชาการในอาเซียน

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยศูนย์วิจัยทางกฎหมายและการบริการวิชาการ ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติในหัวข้อ “การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยใน ASEAN เพื่อเสริมสร้างความสุจริตทางวิชาการ” (The Next Chapter: Strengthening Academic Integrity in ASEAN – SAIA) ระหว่างวันที่ 13-14 มกราคม 2568 ณ โรงแรม Park Plaza กรุงเทพฯ การสัมมนาครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวเปิดงานและปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “แนวทางการพัฒนาความสุจริตทางวิชาการของมหาวิทยาลัยขอนแก่น” โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของความสุจริตทางวิชาการซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการศึกษาในยุคเทคโนโลยี AI มหาวิทยาลัยขอนแก่นตั้งเป้าหมายสู่การเป็น AI Literate University ผ่าน 3 แนวทางหลัก ได้แก่ 1. AI Proficiency and Literacy: การใช้งาน AI อย่างมีจรรยาบรรณ … Read more

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นร่วมบริจาคสมทบกองทุนวันศรีนครินทร์

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย รศ.วนิดา แสงสารพันธ์ คณบดี พร้อมด้วยคณาจารย์ และบุคลากร ร่วมบริจาคสมทบกองทุนวันศรีนครินทร์ ในพระราชูปถัมภ์ฯ โดยมี รศ.นพ.ภัทรพงษ์ มกรเวส คณบดีคณะแพทยศาสตร์ เป็นผู้รับมอบ เนื่องในโอกาสส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 25 ธันวาคม 2567