คณะนิติศาสตร์จัดประชุมหารือแนวทางขับเคลื่อนด้านสิทธิมนุษยชนศึกษาในภาคอีสาน

คณะนิติศาสตร์ ร่วมกับ ศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จัดประชุมเพื่อหารือแนวทางการขับเคลื่อนการทำงานเพื่อรณรงค์ส่งเสริมด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2562 คณะนิติศาสตร์นำโดย ผู้ศาสตราจารย์กิตติบดี ใยพูล คณบดีคณะนิติศาสตร์ อาจารย์ดารณี ราชภูเขียว ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหารงานเครือข่ายทางวิชาการ พร้อมด้วย นางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และนางอารีวรรณ จตุทอง กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เข้าพบ รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล รักษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อหารือหาแนวทางการทำงานคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค หลังจากนั้นได้มีการประชุมคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อหารือถึงการขับเคลื่อนภารกิจด้านการส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชนของศูนย์ศึกษาฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปีงบประมาณ 2563 โดยได้เห็นชอบแผนการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วย 1) การอบรมวิทยากรกระบวนการด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อเผยแพร่คู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน 5 ช่วงชั้น 2) การจัดอบรมเครือข่ายแกนนำเยาวชนเคารพสิทธิมนุษยชน และ3) การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่ประเด็นสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ ร่วมกับโรงเรียนเครือข่ายของศูนย์ศึกษาฯ และโรงเรียนในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 20 จังหวัด

ต่อมาในช่วงบ่ายคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้เข้าเยี่ยมชมโรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู โรงเรียนเทศบาลบ้านโนนชัย จังหวัดขอนแก่น ซึ่งได้ดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมและรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาในสถานศึกษา รวมถึงให้กำลังใจนักเรียนซึ่งเป็นเครือข่ายเยาวชนคนรุ่นใหม่เพื่อสังคมแห่งการเคารพสิทธิมนุษยชน ตลอดจนรับทราบแนวทางและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในสถานศึกษาจากผู้บริหารและคณาจารย์ อันจะนำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือด้านเครือข่ายสิทธิมนุษยชนระหว่างสถานศึกษาในพื้นที่กับศูนย์ศึกษาฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อไป

ประชุม คกก.ศูนย์ฯ_๑๙๑๒๒๔_0198 ประชุม คกก.ศูนย์ฯ_๑๙๑๒๒๔_0226 ประชุม คกก.ศูนย์ฯ_๑๙๑๒๒๔_0243 ประชุม คกก.ศูนย์ฯ_๑๙๑๒๒๔_0245ประชุม คกก.ศูนย์ฯ_๑๙๑๒๒๔_0001 ประชุม คกก.ศูนย์ฯ_๑๙๑๒๒๔_0028 ประชุม คกก.ศูนย์ฯ_๑๙๑๒๒๔_0030 ประชุม คกก.ศูนย์ฯ_๑๙๑๒๒๔_0032 ประชุม คกก.ศูนย์ฯ_๑๙๑๒๒๔_0050 ประชุม คกก.ศูนย์ฯ_๑๙๑๒๒๔_0062 ประชุม คกก.ศูนย์ฯ_๑๙๑๒๒๔_0088 ประชุม คกก.ศูนย์ฯ_๑๙๑๒๒๔_0100 ประชุม คกก.ศูนย์ฯ_๑๙๑๒๒๔_0111 ประชุม คกก.ศูนย์ฯ_๑๙๑๒๒๔_0127 ประชุม คกก.ศูนย์ฯ_๑๙๑๒๒๔_0194

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรประจำปี ๒๕๖๒

ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติบดี ใยพูล คณบดีคณะนิติศาสตร์ พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์วนิดา แสงสารพันธ์ รองคณบดีฝ่ายบริหารงานวิชาการ คณะผู้บริหาร และคณาจารย์ เดินแถวนำขบวนบัณฑิตคณะนิติศาสตร์ ประจำปี2562 จำนวน 545 คน เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ณ ศูนย์ประชุมเอนกประสงค์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น

S__1253430 S__1253432 DSC_8816 DSC_8809 DSC_8824 DSC_8845 DSC_8869 DSC_8935 DSC_8955 DSC_8960 IMG_1016 IMG_1153 IMG_1144 IMG_1177 IMG_1178 DSC_8783

ศ.(พิเศษ) จรัญ ภักดีธนากุล) ได้รับพระราชทานนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิติศาสตร์

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอแสดงความยินดี กับท่านศาสตราจารย์ (พิเศษ) จรัญ ภักดีธนากุล อาจารย์พิเศษคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เนื่องในโอกาสได้รับพระราชทานปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี ๒๕๖๒

78207812_2689073887838528_8334997728585056256_o

คณบดีนำ นศ.เข้ารายงานผลงานนักศึกษา

คณบดีคณะนิติศาสตร์ นำนักศึกษาเข้ารายงานผลงานนักศึกษาต่อท่านที่ปรึกษารักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น

เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติบดี ใยพูล คณบดีคณะนิติศาสตร์ พร้อมด้วยอาจารย์ปริศนา คำชาย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา และคณาจารย์ นำนักศึกษาเข้าพบรองศาสตราจารย์ นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล ที่ปรึกษารักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อรายงานผลงานนักศึกษาที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานภายนอก ดังนี้

1.การแข่งขันว่าความในศาลจำลอง ประจำปี 2562 (CIPITC Moot Court Competition 2019) ระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม – 23 สิงหาคม 2562 ณ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย

ทีมภาษาไทย ได้แก่ นายพีรณัฐ มาลาหอม และนางสาวพูนสิริ เยี่ยมทรัพย์
ทีมภาษาอังกฤษ ได้แก่ นางสาวชัญญานุช ศศิวิลาสกร และนางสาวกอบแก้ว ขันธะ
ผลปรากฎว่าผ่านการคัดเลือกเข้าแข่งขันรอบสุดท้าย

2. การแข่งขันตอบปัญหากฎหมายเนื่องในวันรพี ประจำปี 2562 วันที่ 7 สิงหาคม 2562 ณ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วย

ทีมที่หนึ่ง ได้แก่ นางสาวพูนสิริ เยี่ยมรัมย์ นายพีรณัฐ มาลาหอม และนายสิทธิโชค สายเสมา ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1
ทีมที่สอง ได้แก่ นายกฤตเมธ ไวโส นายกฤษกร เพชระโยธิน นางสาวกอบแก้ว ขันทะ ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 4

3. การแข่งขันตอบปัญหากฎหมายระดับอุดมศึกษา วันที่ 19 สิงหาคม 2562 ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย

ทีมที่หนึ่ง ได้แก่ นางสาวพูนสิริ เยี่ยมรัมย์ นายสหทรัพย์ วรินทรเวท และนายสิทธิโชค สายเสมา
ทีมที่สอง ได้แก่ นายกฤตเมธ ไวโส นายกฤษกร เพชระโยธิน และนางสาวกอบแก้ว ขันธะ
ผลปรากฎว่าทีมที่หนึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1

4. การแข่งขันการประนอมข้อพิพาทจำลองในข้อพิพาทเชิงพาณิชย์ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 3 – 4 กันยายน 2562 ณ สถาบันอนุญาโตตุลาการ กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย

ทีมที่หนึ่ง ได้แก่ นายณัชพล นิลเพ็ชร และนางสาวพูนสิริ เยี่ยมรัมย์
ทีมที่สอง ได้แก่ นางสาวเกียรติสุดา แสนยานุภาพ และนางสาวศิโรรัตน์ ศิริสร้อย
ผลปรากฎว่าทีมที่สองได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1

ในช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมานั้น คณะนิติศาสตร์ ได้ส่งนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการกับหน่วยงานภายนอก เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาตามนโยบายของมหาวิทยาลัยและของคณะภายใต้ยุทธศาสตร์ของคณะในเสาหลักที่ 1 โรงเรียนสอนกฎหมาย (School of Law) เพื่อบ่มเพาะและผลิตบัณฑิตทางกฎหมายที่คำนึกถึงทักษะทางวิชาการ และทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพกฎหมาย (Non-Technical Skill) โดยมีคณาจารย์ที่ดูแลและเป็นที่ปรึกษาทำหน้าที่เป็น Interactive ควบคู่กับ Information และนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้เพื่อสร้างนักกฎหมายรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงและมีนิติทัศนะรับใช้สังคมต่อไป

งานสื่อสารองค์กร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
#โรงเรียนสอนกฎหมายที่ผลิตบัณฑิตให้มีนิติทัศนะรับใช้สังคม

DSC_6334 DSC_6337 DSC_6340 DSC_6383

คณะนิติฯ มข. คว้า ๒ รางวัลเกียรติยศ รางวัลองค์กรดีเด่นแห่งปี ๒๕๖๒ (Organization of the year 2019)

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นคณะที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้ถึงพร้อมด้วยความรู้ทางปัญญาและทักษะที่สัมพันธ์กับวิชาชีพ การจัดการศึกษาของคณะเป็นไปตามกรอบมาตรฐานทางวิชาการและมาตรฐานทางวิชาชีพ เป็นการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เน้นการใช้ความรู้สร้างนวัตกรรมเพื่อสนองตอบต่อการปรับตัวเป็นสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalizing Knowledge-based Economy)  เพราะการเรียนรู้ยุคใหม่ การเรียนและการทำงานจะกลายเป็นสิ่งเดียวกัน การเรียนคือความท้าทายตลอดชีวิต มุ่งให้นักศึกษาสร้างการค้นหา สร้างความเป็นเลิศเฉพาะตัวเพื่อเป็นพื้นฐานการเติบโตระยะยาวอย่างยั่งยืน และส่งเสริมทักษะ Soft skills พร้อมกับมีการ Share resources ให้กับสังคม นอกจากนี้ คณะจัดการศึกษาโดยการสร้างระบบนิเวศแห่งการเรียนรู้ที่ครบวงจรและทันสมัย (Lifelong Learning Ecosystem) โดยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในการเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ มีการศึกษาค้นคว้า ลงมือปฏิบัติ มีการเชื่อมโยงองค์ความรู้จากนักศึกษาผ่านกระบวนการวิจัย บริการวิชาการ นำไปสู่การถ่ายทอดเทคโนโลยี และนวัตกรรมผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมให้กับชุมชนก่อเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ในการนี้ มูลนิธิเพื่อสังคมไทยเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาของคณะที่มีผลลัพธ์ออกมาอย่างเป็นรูปธรรมก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติในหลากหลายด้านด้วยกัน อีกทั้งยังมีการบูรณาการในหลายศาสตร์เพื่อสนองตอบต่อการพัฒนากำลังคน นำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน  จึงได้มอบรางวัลเกียรติยศ  รางวัลองค์ดีเด่นแห่งปี ๒๕๖๒ (Organization of the year 2019) ให้กับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดังนี้

    ๑. รางวัลองค์กรดีเด่น สาขา ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและพลังงาน

    ๒. รางวัลองค์กรดีเด่น สาขา สิทธิมนุษยชน โดยศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

โดยมีอาจารย์วรวิทย์  ไชยตา หัวหน้าสำนักงานคณบดี และอาจารย์ดารณี ราชภูเขียว ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการบริหารเครือข่ายทางวิชาการ เป็นผู้แทนเข้ารับรางวัลในวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๒ จากพลอากาศเอกชลิต พุกผาสุก องคมนตรี ประธานในพิธี ณ ห้องชัยพฤกษ์ หอประชุมกองทัพอากาศ  กรุงเทพมหานคร

S__15843346 S__15843347 S__15843348 S__15843349 S__15843350

6 ยุทธศาสตร์การพัฒนาขับเคลื่อนคณะ

“ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว​ การศึกษาวิชา​นิติศาสตร์​แบบ​ Traditional จำเป็นต้องปรับตัวไปสู่นิติศาสตร์​เพื่อการพัฒนา​ โดยให้ความสำคัญกับการกำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์​ให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลง”​

การขับเคลื่อนเพื่อการเปลี่ยนแปลง​ตามมาตรฐาน​คุณวุฒิ​ สาขาวิชา​นิติศาสตร์​ และคุณ​ลักษณะบัณฑิต​ศตวรรษ​ที่​ 21​ มีเป้าหมายหลัก​ คือ

1.บัณฑิต​กฎหมายที่มีความรอบรู้​ นิติทัศนะ​ และคุณธรรม

2.หลักสูตร​ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์​การพัฒนา​ประเทศ

3.การจัดการศึกษา​ที่ยืดหยุ่น​ หลากหลาย​ และ​บูรณาการ​ข้าม​ศาสตร์

4.การจัดระบบนิเวศ​ทางนิติศาสตร์

ดังนั้น​ ที่ประชุมคณะกรรมการ​ประจำ​คณะ​ฯ​ จึงกำหนด​ยุทธศาสตร์​ 6 ด้าน​ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา​ให้บรรลุตามเป้าหมายและวิสัยทัศน์​สู่การเป็นโรงเรียนส​อน​กฎหมาย​ที่​ผลิต​บัณฑิต​ให้​มี​นิติ​ทัศนะ​รับใช้​สังคม​ ดังนี้

(1) Learning Outcomes

คือ การผลิตบัณฑิตให้ตรงตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของศตวรรษที่ 21 และมาตรฐานคุณวุฒิ สาขาวิชานิติศาสตร์

(2)Life long Learning

คือ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่นักศึกษาและบัณฑิตในการต่อยอดการเรียนรู้ระดับก้าวหน้าและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

(3) Faculty of Choice : Multi-Disciplinary

คือ การพัฒนาหลักสูตร การจัดการศึกษา การเรียนรู้ให้มีรูปแบบที่ยืดหยุ่น หลากหลาย และบูรณาการข้ามศาสตร์

(4) Jurisprudence Ecosystem

คือ การสร้างระบบนิเวศทางการศึกษาวิชานิติศาสตร์ เพื่อปลูกฝังกระบวนทัศน์ของนักนิติศาสตร์เพื่อการเปลี่ยนแปลง สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษา และส่งเสริมการเรียนรู้กฎหมายในยุคดิจิทัล

(5) Co-Creation

คือ การสร้างพื้นที่ร่วมทางวิชาการ ในการผลิตผลงานวิชาการ งานวิจัย และการออกแบบนวัตกรรมทางสังคมด้านกฎหมายและงานยุติธรรม

(6) Result Based Management

คือ การสร้างระบบบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

 

DSC_3614 DSC_3617 DSC_3597 DSC_3593DSC_3602 DSC_3605 DSC_3607 DSC_3619DSC_3635 DSC_3639 DSC_3650

ครบรอบ 13 ปี นิติฯ มข. เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สมัชชาสิ่งแวดล้อม

ครบรอบ 13 ปี นิติฯ มข. เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สมัชชาสิ่งแวดล้อม “ตุ้มโฮม ฮักแพง แบ่งปัน เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของคนขอนแก่น”

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกิจกรรมเนื่องในวันสถาปนาคณะนิติศาสตร์ครอบรอบ 13 ปี (6 กรกฎาคม 2562) “บทบาทคณะนิติศาสตร์ในการสร้างนักกฎหมายให้มีทัศนะรับใช้สังคม” เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สมัชชาสิ่งแวดล้อม “ตุ้มโฮม ฮักแพง แบ่งปัน เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของคนขอนแก่น” ร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการ หน่วยงานภาครัฐ และภาคประชาสังคม อาทิ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 10 จังหวัดขอนแก่น สภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น กลุ่มสมัชชาสุขภาพจังหวัดขอนแก่น กลุ่มฮักบ้านเกิด และกลุ่มเครือข่ายชาวบ้านอนุรักษ์แก่งละว้า เป็นต้น

ภายในงานมีการเสวนาวิชาการในประเด็นต่าง ๆ อาทิ Bio Hub ขอนแก่น คนขอนแก่นได้อะไร การเสวนาประเด็นกลุ่มย่อยในเรื่อง สถานการณ์ แนวทาง ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ประเด็นด้านการจัดการน้ำและปัญหาสารเคมีในการเกษตร ประเด็นมลพิษทางอากาศและการจัดการขยะ และประเด็นการจัดการป่า เป็นต้น รวมถึงการบรรยายพิเศษเรื่อง “ทิศทางการพัฒนาจังหวัดขอนแก่นเพื่อส่งแวดล้อมที่ดีของคนขอนแก่น” โดย ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น นอกจากนี้ยังมีเวทีคู่ขนานของสโมสรนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ในการเสวนาเรื่อง พันธะทางสังคมของนักศึกษากฎหมายเพื่อการเปลี่ยนแปลง โดย นักศึกษาชั้นปี 1 – 4 และศิษย์เก่า นอกจากนี้ยังการการบรรยายในหัวข้อ “คนรุ่นใหม่กับการเปลี่ยนแปลง” ได้รับเกียรติจาก คุณพริษฐ์ วัชรสินธุ เป็นวิทยากรบรรยายในครั้งนี้ด้วย

นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมบริเวณลานกิจกรรม การแสดงบนเวทีของนักเรียนและนักศึกษา การจัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้ของศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงการออกร้านตลาดนัด GREEN LAW โดยเปิดโอกาสให้ผู้จำหน่ายสินค้าชุมชน สินค้าเกษตรปลอดภัย และอาหารสุขภาพจัดจำหน่ายสินค้าให้กับผู้มาเข้าร่วมงานในครั้งนี้ด้วย โดยภายในงานมีบุคลากร นักศึกษา และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมงานกว่า 1,000 คน

กิจกรรมในครั้งนี้ถือเป็นความร่วมมือของภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วน  โดยเฉพาะได้เห็นพลังของภาคประชาชน  ประชาสังคมที่ร่วมกันคิด ร่วมกันขับเคลื่อน และในบทบาทของคณะนิติศาสตร์ที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาได้ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมการเรียนรู้ระหว่างคณะกับชุมชน​ เพื่อ เปลี่ยนห้องเรียนรู้กฎหมายตามตัวบท (Legal Justice) สู่ความยุติธรรมชุมชนและสังคม ​(Social Justice) เพื่อสร้างผลผลิตพัฒนาเมือง พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ถือได้ว่าเป็นการบริการทางสังคมซึ่งเป็นบทบาทที่สำคัญของคณะ  นอกจากได้ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สังคมและชุมชน แล้วยังเป็นการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา ที่จะได้เรียนรู้ภายนอกห้องเรียนจากสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในลักษณะของ Problem Base Learning (PBL)  และเป็นการสร้างจิตสำนึกให้นักศึกษามีทัศนะในการรับใช้สังคมต่อไป

DSC_2577 20190805_๑๙๐๘๐๖_0017 20190805_๑๙๐๘๐๖_0018 20190805_๑๙๐๘๐๖_0022 20190805_๑๙๐๘๐๖_0024 20190805_๑๙๐๘๐๖_0026 DSC_2088 DSC_2105 DSC_2123 DSC_2130 DSC_2154 DSC_2193 DSC_2212 DSC_2185 DSC_2281 DSC_2291

20190805_๑๙๐๘๐๖_0002 20190805_๑๙๐๘๐๖_0003 20190805_๑๙๐๘๐๖_0004

จับมือภาคเอกชน สร้าง Entrepreneurial Lawyer

วันที่ 4 มิถุนายน 2562 เวลา 15.00 น. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น แถลงข่าว โครงการผลิตนักกฎหมายที่มีศักยภาพด้านการบริหารจัดการธุรกิจ (Entrepreneurial Lawyer) เป็นการจัดการศึกษาระดับ ปริญญาตรีตามโครงสร้างของหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตสาขาวิชานิติศาสตร์ (น.บ.) ที่มีความยืดหยุ่นต่อการ เปลี่ยนแปลง และสร้างโอกาสการเรียนรู้อย่างมีบูรณาการะหว่างกฎหมายกับบริหารธุรกิจให้แก่นักศึกษา เพื่อผลิตบัณฑิตกฎหมายในศตวรรษที่ 21 ที่มีศักยภาพด้านการบริหารจัดการธุรกิจ

#ลักษณะเด่นที่สำคัญของโครงการ คือการจัดการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงของประเทศ โดยเน้นการมีส่วนร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้และเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ระหว่างภาควิชาการและภาคเอกชน/ผู้ประกอบการ ได้แก่ คณะนิติศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี หอการค้าจังหวัดขอนแก่น และบริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) โดยใช้กลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนและสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) นำไปสู่กระบวนการคิดวิเคราะห์เชิงสร้างสรรค์พร้อมที่จะตอบสนองการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่มุ่งผลลัพธ์ให้นักศึกษาฝึกทักษะที่จำเป็นเพื่อรองรับความต้องการของสถานประกอบการต่างๆ ในลักษณะ Action Learning และฝึกทักษะ Creative and Design ในการสร้างสรรค์และออกแบบ Start up ผู้ประกอบการ และผู้ประกอบการเพื่อสังคม เพื่อสร้างนักกฎหมายรุ่นใหม่ที มีทักษะวิชาการและทักษะที่จำเป็นในการขับเคลื่อนประเทศและพัฒนาเมืองขอนแก่นสู่ Thailand 4.0

#โอกาสและความก้าวหน้า คือ นักศึกษามีโอกาสเรียนรู้อย่างบูรณาการระหว่างกฎหมายกับการ บริหารจัดการทางธุรกิจ เพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นนักกฎหมายที่มีศักยภาพด้านการบริหารจัดการธุรกิจ (Entrepreneurial Lawyer)

โดยออกแบบการเรียนแบบชุดวิชาที่เน้นการปฏิบัติการจริงจำนวน 5 Module ได้แก่

Module 1 : Law and Business Environment

Module 2 : Business Planning and Strategic Management

Module 3 : Startup Modern Entrepreneurs, Social Enterprise and Business Ethic

Module 4 : Workshop Business Investment and Operation

Module 5 : Research Methodology

#โอกาสเมื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร นักศึกษาจะได้รับวุฒิปริญญาตรีทางกฎหมาย และ นักศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรหลักสูตรอบรม Mini MBA ของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชีพร้อม บันทึกแสดงวิชาโทการบริหารจัดการธุรกิจ (Minor Subject) เป็นการเพิ่มเติม

#ความก้าวหน้านักศึกษามีสิทธิเข้าศึกษาต่อและเทียบเท่ารายวิชาในระดับปริญญาโท M.B.A. วิชาเอกการจัดการผู้ประกอบการ พาณิชย์และนวัตกรรมของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยสามารถสำเร็จการศึกษาได้ภายในระยะเวลา 1 ปี

โครงการผลิตนักกฎหมายที่มีศักยภาพด้านการบริหารจัดการธุรกิจเปิดรับนักศึกษาตั้งแต่ปี การศึกษา 2562 เป็นต้นไปโดยรับนักศึกษาจำนวน 100 คน

DSC_7651 DSC_7687 DSC_7690 DSC_7703 DSC_7730 DSC_7742 DSC_7753 DSC_7763 DSC_7772

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการทำงาน ภายใต้บันทึกความร่วมมือทางวิชาการ

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อหารือการดำเนินงานศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย ระหว่างคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เกิดรูปธรรม สร้างความเข้มแข็งในการบริหารงานเครือข่ายทางวิชาการ เพื่อพัฒนาทักษะให้นักศึกษาเป็นบัณฑิตพร้อมใช้ (Ready to Use) โดยมีแนวทางดังนี้

(1) ร่วมกันออกแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง ภายใต้โครงการนักกฎหมายอาสา/ผู้ช่วยทางด้านกฎหมาย
(2) การผลิตผลงานวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้และเสนอแนะเชิงนโยบาย ในการแก้ไขปัญหา และสร้างความยุติธรรมทางสังคม
(3) การเปิดคลินิกกฎหมาย ให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ และการฝึกปฏิบัติจากสถานการณ์จริง ภายใต้โครงการนักกฎหมายอาสา ผู้ช่วยทางด้านกฎหมาย
(4) การเสริมสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ให้นักศึกษาออกแบบเนื้อหา (Content) ผลิตสื่อเกี่ยวกับกฎหมายและความยุติธรรมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การออกแบบ Infographic การผลิตสื่อออนไลน์ เป็นต้น

งานสื่อสารองค์กร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
#โรงเรียนสอนกฎหมายที่ผลิตบัณฑิตให้มีนิติทัศนะรับใช้สังคม

DSC_5115 DSC_5102 DSC_5110 DSC_5004 DSC_5009 DSC_5060 DSC_5067 DSC_5069 DSC_5076 DSC_5079 DSC_5083 DSC_5087 DSC_5089 DSC_5090 DSC_5095 DSC_5097

การบริหารงานเครือข่าย ร่วมสร้างบัณฑิตพร้อมใช้ (Ready to Use)

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ หอการค้าจังหวัดขอนแก่น และบริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) จำกัด จดบันทึกหลักการความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อร่วมกันพัฒนาหลักสูตร มุ่งสร้างบัณฑิตทางกฎหมายรุ่นใหม่ ที่มีวิสัยทัศน์ และสร้างองค์ความรู้ด้านกฎหมายและความยุติธรรมทางสังคม

โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติบดี ใยพูล คณบดีคณะนิติศาสตร์ นายกมลพงศ์ สงวนตระกูล ประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่น นายกังวาน เหล่าวิโรจนกุล Co-Founder บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) จำกัด ร่วมลงนามในบันทึกหลักการความร่วมมือทางวิชาการ โดยมีเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ร่วมกันคือ
(1) การพัฒนารูปแบบและวิธีการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิชานิติศาสตร์ ด้านกฎหมายธุรกิจ การพัฒนาความเป็นเจ้าของธุรกิจ การบูรณาการระหว่างนิติศาสตร์กับการบริหารธุรกิจ โดยมุ่งเน้นการถ่ายทอดทักษะและประสบการณ์โดยตรง รวมถึงการฝึกปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการที่มีคุณภาพ และมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ
(2) การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เพื่อสร้างนักกฎหมายรุ่นใหม่ที่มีวิสัยทัศน์ตามแนวทาง The UN Guiding Principles on Business and Human Rights และเพื่อเป็นสถานที่บ่มเพาะนักศึกษาเข้าสู่อาชีพ เป็นผู้ประกอบธุรกิจเพื่อสังคม: Social Enterprise (SE)
(3) การพัฒนาหลักสูตรเชิงรุกหลายรูปแบบเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเมืองขอนแก่นด้านกฎหมายธุรกิจ การค้าและการลงทุน รวมถึงการบริหารจัดการความขัดแย้งทางธุรกิจ
(4) การผลิตงานวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองขอนแก่นด้านธุรกิจ
และเพื่อให้การดำเนินงานและกิจกรรมภายใต้ความร่วมมือนี้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการและคณะกรรมการบริหาร

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีการบริหารงานเครือข่ายทางวิชาการ (Academic Partnerships) ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบริหารงานของคณะ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาเครือข่ายทางวิชาการในการผลิตบัณฑิตนักกฎหมายรุ่นใหม่ให้มีวิสัยทัศน์ และตอบโจทย์ต่อการเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งมีนิติทัศนะรับใช้สังค

งานสื่อสารองค์กร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
#โรงเรียนสอนกฎหมายที่ผลิตบัณฑิตให้มีนิติทัศนะรับใช้สังคม

DSC_4911 DSC_4921 DSC_4854 DSC_4929DSC_4898 DSC_4900 DSC_4856 DSC_4859 DSC_4886 DSC_4888 DSC_4892