คณะนิติศาสตร์ ประชุมร่วม กสม. วางแผนยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนการทำงานศูนย์สิทธิฯ ภาคอีสาน

คณะนิติศาสตร์ประชุมร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน เพื่อร่วมกันวางแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ณ ห้องกัลปพฤกษ์ 7 ชั้น 2 อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วันที่ 26 พฤษภาคม 2560 เวลา 13..00 – 16.00 น. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ประชุมร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) พร้อมด้วยเครือข่ายการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนภาคอีสาน เพื่อร่วมกันวางแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ตั้งขึ้นเป็นเต็มรูปแบบแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อเป็นต้นแบบของการทำงานเพื่อสิทธิมนุษยชนในส่วนภูมิภาค ที่จัดตั้งขึ้นที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

โดยสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้วางแนวทางแผนงานปฏิบัติการประจำปีไว้เป็น 3 ด้าน คือ 1.แผนงานด้านคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 2.แผนงานด้านส่งเสริมสิทธิมนุษยชน และ 3.แผนงานด้านการปลูกฝังกระบวนทัศน์ด้านสิทธิมนุษยชน ด้วยการสร้างกลยุทธ์ด้านสิทธิมนุษยชนด้วยการรณรงค์ (Campaign) ให้กับเยาวชนในพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีกระบวนการเพื่อติดตามและประเมินผลโดยการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ และนักศึกษาเพื่อเป็นการสร้างและพัฒนาคนรุ่นใหม่ให้มีกระบวนทัศน์ด้านสิทธิมนุษยชน

ในส่วนของ ผศ.กิตติบดี ใยพูล คณบดีคณะนิติศาสตร์ ได้นำเสนอแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานของศูนย์ฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดรูปแบบของจุมมุ่งหมาย นโยบาย โครงการ กิจกรรม และการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการทำโครงการหรือกิจกรรม โดยต้องมองบริบททางสังคมกับความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนในมิติใหม่เพื่อให้เท่าทันต่อสังคมในศตวรรษที่ 21 กระแสโลกาภิวัตน์ และสังคมที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงเป็น Privacy in Global Digital Age รวมถึงต้องสร้างหุ้นส่วนที่หลากหลายเพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่มีบทบาทการทำหน้าที่ที่สอดคล้องกับภารกิจของศูนย์ฯ เพื่อสามารถแก้ไขปัญหาในลักษณะองค์รวมให้ได้ ซึ่งได้กำหนดวิสัยทัศน์รวมกัน คือ “การสร้างคนรุ่นใหม่เพื่อสังคมแห่งการเคารพสิทธิมนุษยชน” (Build to Global Citizenship) โดยมีประเด็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญอยู่ 4 ประเด็น คือ 1.การสร้างการรับรู้ (Awareness) งานด้านจัดกิจกรรมรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชน (Campaign) การผลิตสื่อสารสนเทศ การอบรมให้ความรู้ต่าง ๆ   2.การสร้างคุณค่า (Appreciation) สอดคล้องกับงานด้านคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยต้องทำงานทั้งเชิงรับและเชิงรุก 3.การสร้างความเข้าใจ (Understanding) เป็นงานด้านส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เช่นการจัดห้องเรียนสิทธิมนุษยชน การจัดอบรม Workshop เป็ฯต้น  และ 4. การสร้างความรับผิดชอบ (Responsibility) เป็นงานด้านเครือข่ายและพื้นที่ เพื่อลงพื้นที่เรียนรู้ และสามารถนำมากำหนดโจทย์วิจัยเพื่อตอบสนองความต้องการของคนในพื้นที่ รวมถึงการสร้างโมเดลเพื่อการพัฒนางานส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ซึ่งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นในฐานะสถานบันการศึกษานั้นได้มีบทบาทในการผลิตบัณฑิตเพื่อให้มีทักษะทางด้านวิชาการแล้ว คณะยังได้มุ่งเน้นความสำคัญอีก 2 ทักษะคือ1.ทักษะการคิด และ2.ทักษะที่จำเป็น (Non-Technical Skill) สำหรับนักศึกษา เพื่อให้ตอบโจทย์กับความต้องการของสังคมที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงไปในทุกๆรุ่น (Gen)

สำหรับเป้าหมายร่วมกันในการทำงานในครั้งนี้ คือการเผยแพร่งานทางด้านสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ การประสานงานกับพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายร่วมกันคือ การสร้างนักรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชน นักกฎหมายที่มีความรู้พื้นฐานด้าน Non-Technical Skill นักกฎหมายที่มีฐานคิดด้านสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรมทางสังคม รวมถึงการสร้างอาสาสมัครด้านสิทธิมนุษยชน ด้วย โดยภารทั้งหมดต้องเน้นความต่อเนื่องและมีความยั่งยืนเพื่อร่วมกันพัฒนาสังคมต่อไป

 

DSC_6603 DSC_6598 DSC_6600 DSC_6602 DSC_6604 DSC_6607 DSC_6620 DSC_6623

ภาพ/ข่าว : พชร โนนทิง