Archives กุมภาพันธ์ 2020

คณะนิติฯ ร่วมกับ กสม. จัดอบรมวิทยากรกระบวนการด้านสิทธิมนุษยชน มุ่งสร้างเครือข่ายพัฒนาครูภาคอีสาน

คณะนิติศาสตร์ โดย ศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการวิทยากรกระบวนการด้านสิทธิมนุษยชนแก่ครูในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อนำคู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไปประยุกต์ใช้

 

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 คณะนิติศาสตร์ โดย ศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการวิทยากรกระบวนการด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อนำคู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไปประยุกต์ใช้ สำหรับตัวแทนครูในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 100 โรงเรียน ณ โรงแรมเจริญธานีปริ๊นเซส ขอนแก่น

โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติบดี ใยพูล คณบดีคณะนิติศาสตร์ ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรมความตอนหนึ่งว่า “การปลูกฝังวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งสำคัญ บุคลากรทางการศึกษาจำเป็นต้องสร้างอนาคตใหม่สำหรับการปลูกฝังวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย และเป็นโอกาสอันดีในครั้งนี้ที่จะได้สร้างเครือข่ายกรรมการสิทธิมนุษยชนในส่วนภูมิภาคให้มีความเข้มแข็งและร่วมกันขับเคลื่อนการสร้างสังคมแห่งการเคารพสิทธิมนุษยชนต่อไป”

และโอกาสนี้ได้รับเกียตริจากท่านประกายรัตน์ ต้นธีรวงค์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้เกียรติเป็นประธานการเปิดการอบรมในครั้งนี้และได้กล่าวถึงความสำคัญของการอบรมวิทยากรกระบวนการด้านสิทธิมนุษยชน ความสำคัญตอนนึงว่า “ครูเป็นบุคลากรทางการศึกษาที่มีความสำคัญในฐานะผู้อำนวยการเรียนรู้ที่ทำหน้าที่สนับสนุน แนะนำวิธีการเรียนรู้และวิธีจัดระเบียบการสร้างความรู้ของเด็กและเยาวชน ซึ่งการอบรมวิทยากรกระบวนการในการประยุกต์ใช้คู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อเป็นการยกระดับเครื่องมือทางการศึกษา เพิ่มคุณภาพ และประสิทธิภาพครูในด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งเป็นการส่งเสริมบทบาทครูในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคู่มือดังกล่าว เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียน อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายพัฒนาครูให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันและนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่แก่ครูในโรงเรียนที่สังกัดอย่างเป็นระบบอีกด้วย”

สำหรับการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้จะจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 24 – 25 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงแรมเจริญธานีปริ๊นเซส ขอนแก่น เพื่อให้ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจและเกิดความตระหนักในเรื่องสิทธิมนุษยชน รวมทั้งเป็นการสร้างต้นแบบบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นเครือข่ายการเรียนรู้และการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนศึกษาในระดับภูมิภาค และให้เกิดการนำคู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไปประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนที่รับผิดชอบต่อไป

1 ทศวรรษ นิติศาตร์การละคอน ปลุกกระแสชี้นำสังคม ‘ด้านความเท่าเทียมทางเพศ’

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมาคณะนิติศาสตร์ ร่วมกับ สโมสรนักศึกษา ชุมนุมนิติศาสตร์การละคร จัดแถลงข่าวเปิดตัวละครเวที เรื่อง SOUVENIR THE MUSICAL ซึ่งเป็นละครประเพณีคณะนิติศาสตร์ ลำดับที่ 10 โดยได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติบดี ใยพูล คณบดีคณะนิติศาสตร์ คุณธัญญวาริน สุขพิสิษฐ์ คุณธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ คุณณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ อาจารย์ปริศนา คำชาย และอาจารย์นรากร วรรณพงษ์ ที่ปรึกษาชุมนุมนิติศาสตร์การละคร รวมถึงทีมงานและนักแสดงร่วมงานในครั้งนี้ด้วย นอกจากนี้ภายในงานยังมีการจัดเสวนาวิชาการเรื่อง เจตคติทางเพศในระบบโครงสร้างทางสังคมไทย โดยมีนักศึกษาจากหลากหลายคณะเข้าร่วมรับฟัง

สำหรับละครประเพณีคณะนิติศาสตร์ ลำดับที่ 10 หรือ บรรพ 10 เรื่องนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากการกลั่นแกล้งกันทางสังคม (Bully) ได้สะท้อนประเด็นทางสังคมเกี่ยวกับเพศทางเลือก หรือ LGBTQ นับแต่ครั้งอดีตจนปัจจุบัน ก่อนปี 2018 เพศทางเลือกไม่ได้รับการยอมรับในสังคมและมักถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม จนกระทั่งปี 2018 องค์การอนามัยโลก (World Health Organization-WHO) ได้ออกมาประกาศว่าเพศทางเลือกนั้นไม่ได้ถือว่าเป็นความผิดปกติทางจิต โดยอธิบายว่าเป็นการใช้ชีวิตแบบเพศวิถี คือ การเลือกใช้ชีวิตในรูปแบบเพศที่ชอบโดยไม่จำเป็นว่าเป็นเพศนั้น หรือ อัตลักษณ์ทางเพศ ซึ่งจะมีการแสดงออกว่าเป็นเพศใด ทำให้สังคมเริ่มมีการเปิดกว้างและยอมรับความหลากหลายทางเพศมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทุกภาคส่วนได้พยายามสร้างความรู้ความเข้าใจและการยอมรับเกี่ยวกับ เพศทางเลือก แต่กลุ่มคนเพศทางเลือกมักถูกลดทอนสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่เว้นแม้แต่สิทธิในการมีชีวิตอย่างมีความสุข ด้วยเหตุนี้ จึงได้นำเสนอประเด็นดังกล่าวผ่านรูปแบบละครเวที เดอะมิวสิคัล เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่ได้สื่อสารให้กับนักศึกษาและบุคคลทั่วไปตระหนักถึงความสำคัญ และสามารถยอมรับในความเป็นมนุษย์ของกลุ่มเพศทางเลือกได้ เช่นเดียวกับความเป็นมนุษย์ของเพศชายและหญิง

นายดนุเดช ปัญจมาตย์ นายกสโมสรนักศึกษาได้กล่าวว่า ในการจัดทำละครเวทีในครั้งนี้เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางด้านกฎหมาย จากห้องบรรยายสู่ความบันเทิงในรูปแบบละครเวที ให้กับนักศึกษาและประชาชนทั่วได้รับทราบถึงแนวคิด มุมมอง การสะท้อนสังคมผ่านตัวละคร รวมถึงเป็นการเสริมสร้างทักษะ Soft-Skill ให้กับนักศึกษากฎหมาย ได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการทำงานร่วมกัน (Learning By Doing) การออกแบบและสร้างสรรค์ผลงาน (Create and Design) เพื่อรณรงค์ประเด็นทางสังคม

ละครประเพณีคณะนิติศาสตร์ ในลำดับที่ 10 เรื่อง SOUVENIR THE MUSICAL จะทำการแสดง ในวันที่ 12-16 กุมภาพันธ์ 2 รอบเวลา 17.30น.และ 20.30น. ณ โรงละครคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (FA THEATER) โดยภายในงานจะมีนิทรรศการครบรอบ10 ปีของนิติศาสตร์การละคอน การรณณงค์เรื่องสิทธิและความเท่าเทียม รวมไปถึงเกร็ดความรู้ในเรื่องของเพศทางเลือก LGBTQ อีกด้วย

IMG_1321 IMG_1345 IMG_1350 IMG_1378 IMG_1399 IMG_1443 IMG_1445 IMG_1467 IMG_1653 IMG_1658 IMG_1665 IMG_1671 IMG_1677 IMG_1686 IMG_1688 IMG_1693