Archives มกราคม 2020

Green Law for Green Market เปิดพื้นที่สนับสนุนสินค้าปลอดภัยจากชุมชน

กลุ่มจิตตปัญญาและภาวะผู้นำทางจริยธรรม คณะนิติศาสตร์ จัดกิจกรรม GREEN LAW FOR GREEN MARKET เปิดพื้นที่สนับสนุนสินค้าจากชุมชน เพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภค สินค้าปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ

เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2563 คณะนิติศาสตร์ โดย กลุ่มจิตตปัญญาและภาวะผู้นำทางจริยธรรม ได้จัดกิจกรรม Green Law for Green Market โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะแก้ปัญหาสังคมจากปัญหาสุขภาพ มองจากจุดเล็ก ๆ สร้างคนที่มีคุณภาพรู้ทันโลก รู้ทันการเปลี่ยนแปลงสังคม รู้เท่าทันตัวเองในมิติของการที่เรากับคนในสังคมเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน หรือก็คือคนกับสิ่งแวดล้อมต้องเกื้อกูลกัน ได้เปิดพื้นที่บริเวณลานกิจกรรมให้ผู้ประกอบการสินค้าชุมชน ได้จัดจำหน่ายสินค้าและอาหารที่ประกอบผลิตเอง ซึ่งมีการรวมกลุ่มกัน เพิ่มทางเลือก ให้กับผู้บริโภคซึ่งเป็นนักศึกษา บุคลากร คณาจารย์ รวมถึงประชาชนทั่วไปที่สนใจเลือกซื้อสินค้า เป็นการสร้างโอกาส สร้างรายได้ให้กับชุมชน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมของกลุ่มนักศึกษา อาทิ ดนตรีในสวน การเสวนา “คนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลง” การออกบู้ทกิจกรรมของชมรมต่าง ๆ ในคณะนิติศาสตร์ เป็นการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ร่วมกันของนักศึกษา อีกทั้งเป็นการสร้างระบบนิเวศทางการศึกษาวิชานิติศาสตร์ (Jurisprudence Ecosystem) โดยให้ความสำคัญต่อระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน และความยุติธรรมทางสังคม อีกทั้งยังมีการรณรงค์ลดการใช้พลาสติก และใช้ถุงผ้าแทน

ในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ นายปรเมษฐ์ ศรีวงศ์ราช ตัวแทนกลุ่มกลุ่มจิตตปัญญาและภาวะผู้นำทางจริยธรรม ได้กล่าวว่า “การสร้าง Green Law for Green Market เกิดจากได้เล็งเห็นถึงปัญหาความเจริญของโลกที่เกินขนาดที่นำเอาความรู้ด้านนวัตกรรมมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการผลิตอาหารให้กับสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการเกษตรได้มีการนำสารเคมีมาใช้อย่างมาก และผลิตผลเหล่านั้นปนเปื้อนเป็นภัยต่อร่างกายในระยะยาว แต่สิ่งสำคัญ ก็คือ การมีจิตสำนึกของผู้ผลิตที่จะไม่ทำในสิ่งที่ผิดไปจากแบบแผนของการผลิตอาหารที่ดี อีกทั้งก็เป็นสิทธิผู้บริโภคที่จะต้องได้ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของทุกภาคส่วนในสังคมไม่ใช่แต่หน่วยงานราชการใดหน่วยราชการหนึ่ง”

การจัดกิจกรรม Green Law for Green Market ได้ดำเนินมาครั้งนี้เป็นครั้งที่ 5 ซึ่งจะจัดในทุกวันพุธสัปดาห์สุดท้ายของทุกเดือน ในแต่ละเดือนนอกจากการจัดจำหน่ายสินค้าและอาหารปลอดภัยแล้ว ยังมีกิจกรรมของกลุ่มนักศึกษาที่จะมาจัดเสวนาในหัวข้อตามสถานการณ์ในสังคมปัจจุบัน เพื่อแลกเปลี่ยน พูดคุยกันของนักศึกษานิติศาสตร์ รวมถึงนักศึกษาคณะอื่น ๆ ที่เข้ามามีส่วนร่วมอีกด้วย ผู้ที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารได้ทาง Facebook Fanpage : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0005 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0014 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0024 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0033 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0035 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0040 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0049 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0052 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0064 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0071 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0080 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0087 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0092 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0102 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0103 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0107 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0109 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0122 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0129 งานตลาดเขียว_๒๐๐๑๒๔_0139

ขอเชิญทุกท่านร่วมรับฟังและเสวนาวิชาการเชิงบูรณาการระหว่าง กฎหมาย ธุรกิจ และเทคโนโลยี ( Transdisplinary Seminar in Law, Business and Technology )

ในหัวข้อ Think Like

ซึ่งจัดขึ้นโดย คณะนิติศาสตร์ มข. หอการค้าจังหวัดขอนแก่น และบริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง

ณ ห้องทองใบ ทองเปาด์ คณะนิติศาสตร์ มข.
ตั้งแต่เวลา 13.30-15.30 น.

โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆในการเข้าร่วมทั้งสิ้น

poster Think Like-01

พบกับวิทยากร

S__107479058

ประเด็นการพูโคุยคุยเกี่ยวกับ
1. Privacy and fintech ( Grab)
2. AI and automation (KKF)
3.Social enterprise (Meakin)
4.การก่อสร้างกับปัญหาสิ่งแวดล้อม (A49)

 

คณะนิติฯ MOU ร่วมกับสันนิบาตเทศบาลภาคอีสาน สร้างเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนานักศึกษายุคใหม่แห่งศตวรรษที่ 21

คณะนิติศาสตร์ ลงนามบันทึกความร่วมมือร่วมกับ สันนิบาตเทศบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หน่วยงานและสถานประกอบการในจังหวัดขอนแก่น 18 หน่วยงาน เพื่อร่วมกันพัฒนานักศึกษายุคใหม่แห่งศตวรรษที่ 21

วันที่ 16 มกราคม 2563 คณะนิติศาสตร์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติบดี ใยพูล คณบดีคณะนิติศาสตร์ ร่วมพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือกับ สันนิบาตเทศบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หน่วยงานและสถานประกอบการในจังหวัดขอนแก่น 18 หน่วยงาน ประกอบด้วย หอการค้าจังหวัดขอนแก่น สภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดขอนแก่น สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดขอนแก่น บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) บริษัท โตโยต้าขอนแก่น ผู้จำหน่ายโตโยต้า จำกัด บริษัท ขอนแก่นแหอวน จำกัด บริษัท โตโยต้าแก่นนคร จำกัด บริษัท อีสานพิมาน กรุ๊ป จำกัดบริษัท เอสพี ออโต้ โปรดักส์ จำกัด บริษัท รวมทวีขอนแก่น จำกัด บริษัท เค.ซี.รุ่งเรืองการเกษตร จำกัด (โรงสีชัยมงคล)บริษัท ศิริการกรุ๊ป 90 จำกัด  บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด ภัตตาคารบัวหลวง ร้านเภสัชกรประสิทธิ์ (ท่งจี่ตึ้ง) ตลาดจอมพลและโรงแรมโฆษะ เพื่อร่วมมือในการการพัฒนานักศึกษา ซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญของประเทศให้เป็น “คนไทยยุคใหม่แห่งศตวรรษที่ 21” ณ ขอนแก่นฮอล์ ศูนย์การค้าเซนทรัลพล่าซ่าขอนแก่น โดยมีแนวทางความร่วมมือดังนี้

  1. การสร้างพื้นที่การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ แทนที่การเรียนในชั้นเรียน และเปิดโอกาสให้นักศึกษานำความรู้ไปปรับใช้ในสถานการณ์จริง
  2. การสนับสนุนระบบการจัดการเรียนการสอนให้เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning) การเรียนรู้ในชุมชน (Community-integrated Learning) และการเรียนรู้โดยมีปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning) ให้แก่นักศึกษา

โดยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นโรงเรียนสอนกฎหมายที่มุ่งประสงค์ต่อการสร้างและผลิตบุคลากร ผลงานวิชาการ และนวัตกรรมทางสังคมด้านกฎหมายและงานยุติธรรม เพื่อรองรับต่อยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลง ตอบสนองต่อนโยบายขับเคลื่อนประเทศ นโยบายของมหาวิทยาลัย และสนับสนุนยุทธศาสตร์เป็นศูนย์กลางของนโยบายด้านการส่งเสริมความรู้ด้านกฎหมาย สิทธิมนุษยชน และการเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Hub Center for Social Justice) กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานยุติธรรม กระบวนการยุติธรรม หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรอิสระ และ ให้ความสำคัญกับการสร้างกฎหมายรุ่นใหม่ที่แม่นยำในหลักกฎหมาย มีทักษะทางปัญญาสำหรับศตวรรษที่ 21 และมีวิสัยทัศน์ทางการบริหารจัดการ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่นักศึกษาและบัณฑิต (Value up) นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นในการสร้างระบบนิเวศทางการศึกษาวิชานิติศาสตร์ (Jurisprudence Ecosystem) ให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในยุคปัจจุบันและส่งเสริมการพัฒนารูปแบบให้นักศึกษาได้เรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)

IMG_9433 IMG_9437 IMG_9390 IMG_9363

 

ขอเชิญนักศึกษาคณะนิติศาสตร
เสนอชื่อเพื่อขอรับเกียรติบัตรสำหรับนักศึกษาที่ปฏิบัติงานกิจกรรมเสริมหลักสูตรดีเด่น ปีการศึกษา 2562
——–
รายละเอียดดังนี้
 ประกาศหลักเกณฑ์การให้เกียรติบัตร bit.ly/2QRIM9E
 ดาวน์โหลดแบบขอรับเกียรติบัตร bit.ly/2QW2fG8

ทั้งนี้ให้นักศึกษาจัดทำผลงานเพื่อประกอบการพิจารณา

โดยส่งเอกสารได้ที่งานพัฒนานักศึกษา คณะนิติศาสตร์
ภายในวันที่ 21 มกราคม 2563

กฎหมายสิทธิมนุษยชน สร้าง Learning Outcome ผ่านการเรียนรู้ในรูปแบบ Interactive Learning

วิชากฎหมายสิทธิมนุษยชน สร้าง Learning Outcome ผ่านการเรียนรู้ในรูปแบบ Interactive Learning พร้อมเสริมทักษะที่จำเป็นในยุคปัจจุบันให้กับนักศึกษา

คณะนิติศาสตร์ ได้กระบวนการจัดการศึกษาในรายวิชา กฎหมายสิทธิมนุษยชน โดยใช้รูปแบบการสอนที่เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง (Self–Study Learning) ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ การแลกเปลี่ยน การจับประเด็น การนำเสนอข้อมูล และการทำงานเป็นทีม ตามกระบวนการเรียนรู้แบบ Interactive Leaning ที่ให้ผู้เรียนเกิดการปฏิสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน (learner– to – learner interaction)

ทั้งนี้นักศึกษาเรียนรู้ถึงคุณค่าของสิทธิมนุษยชนจากหนังสารคดี The Story of Stuff และได้ถอดบทเรียนและอภิปรายกลุ่ม เพื่อระดมความคิดเห็นว่าหลักสิทธิมนุษยชนที่ปรากฎในสารคดีมีประการใดบ้าง ตลอดจนการออกแบบระบบความสัมพันธ์ที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งนักศึกษาได้มีการเสนอความคิดเห็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชนในสารคดี เช่น สิทธิแรงงานที่ถูกละเมิด การได้รับค่าแรงต่ำ และไม่ได้รับความปลอดภัย สิทธิด้านผู้บริโภค การได้รับความปลอดภัยในการบริโภค สิทธิในด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิทธิในด้านสุขภาพ การมีอากาศที่บริสุทธิ์ เป็นต้น นอกจากนี้นักศึกษายังได้ออกแบบการแก้ไขปัญหาที่นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนี้
ในด้านการเมือง การกดดันรัฐบาลในการควบคุมผู้ประกอบการให้ทำธุรกิจคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และการออกกฎหมายจำกัดการใช้ทรัพยากร
ในด้านสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรหมุนเวียน การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การตั้งงบประมาณวิจัยการผลิตสารทดแทนสารเคมีการเกษตรที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน การมีมาตรการควบคุมสารเคมีในกระบวนการผลิต
ในด้านสังคม ให้ความรู้กับผู้บริโภค การสร้างจิตสำนึกและปลูกฝังคนในสังคมให้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตลอดจนการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

การจัดกระบวนการเรียนรู้ในครั้งนี้เพื่อสร้างผลการเรียนรู้ของนักศึกษา (Learning Outcomes) ในด้านความรู้ ทักษะทางปัญญา และด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ นับเป็นกระบวนการที่มุ่งส่งเสริมและปลูกฝังทักษะยุคใหม่ อีกทั้งยังเป็นการจัดสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ตามการสร้างระบบนิเวศทางการศึกษานิติศาสตร์ (Jurisprudence Ecosystem) อีกด้วย

วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0001 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0002 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0003 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0004 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0005 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0006 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0007 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0008 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0009 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0010 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0011 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0012 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0013 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0014 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0015 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0016 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0017 วิชาสิทธิมนุษย์ชน_๒๐๐๑๑๔_0018

คณะนิติฯ มข. ต้นแบบการขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชนศึกษาจากองค์ความรู้สู่การปฏิบัติ

ศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นต้นแบบการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาและสร้างคนรุ่นใหม่แห่งสังคมเคารพสิทธิมนุษยชน พร้อมส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (LIFELONG LEARNING)

วันที่ 13 มกราคม 2563 อาจารย์ดารณี ราชภูเขียว ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการบริหารเครือข่ายทางวิชาการ ในฐานะคณะกรรมการศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รับมอบ “หลักสูตรสิทธิมนุษยชนศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย” และ “คู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน” และเข้าร่วมการสัมมนาวิชาการเรื่อง “การเผยแพร่และการขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชนศึกษา (Human Rights Education) ในสังคมไทย” จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยมีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการสัมมนา ณ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้แทนนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเปิดการสัมมนาและกล่าวปาฐกถานำในหัวข้อ “สิทธิมนุษยชนศึกษา (Human Rights Education) กับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในสังคมไทย” ได้กล่าวถึงสิทธิมนุษยชนว่าเป็นสิทธิของมนุษย์ที่ทุกคนมีมาแต่เกิด โดยไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายมารองรับ เป็นสิทธิที่มีคู่กับความเป็นมนุษย์ โดยไม่คำนึงถึงเพศ เชื้อชาติ ศาสนา อาชีพ และความแตกต่างใด ๆ ในทางกายภาพหรือสถานะทางสังคม ไม่ว่าจะยากดีมีจน ซึ่งรัฐมีหน้าที่ต้องส่งเสริมและคุ้มครองบุคคลให้เกิดความเป็นธรรม หากทำให้ทุกคนได้รับทราบและเข้าใจความสำคัญของสิทธิมนุษยชน ทุกคนก็จะเกิดความหวงแหน ไม่ยอมให้ผู้ใดมาพรากเอาไปได้ ในการจัดทำหลักสูตรสิทธิมนุษยชนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เป็นการวางรากฐานสำคัญให้เด็กรู้จักสิทธิ เข้าใจสิทธิ และไม่ละเมิดสิทธิ สำหรับ “หลักสูตรสิทธิมนุษยชนศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย” ทั้งหลักสูตรสำหรับบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม หลักสูตรสำหรับภาคธุรกิจ และหลักสูตรสำหรับผู้บริหารระดับสูงนั้น ล้วนมีความสำคัญ เพราะสิทธิมนุษยชนศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (a lifelong process) ของคนทุกคน ที่จำเป็นต้องมีทั้งองค์ความรู้ การนำไปปฏิบัติจริง แล้วจึงจะเกิดปัญญา

และกล่าวในตอนท้ายว่า หากพิจารณาเป้าหมาย 17 ข้อของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) ที่ประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทยได้ให้คำมั่นร่วมกันว่าจะก้าวไปให้ถึงเป้าหมายภายในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) ล้วนมีฐานของสิทธิมนุษยชนเกี่ยวข้องอยู่ในทุกเป้าหมายทั้งสิ้น และประเทศไทยยังมีเวลาอีก 10 ปีที่จะมุ่งสู่เป้าหมายดังกล่าว หลักสูตรสิทธิมนุษยชนศึกษาจะช่วยให้ประเทศได้บรรลุเป้าหมาย SDGs ได้ หลังจากนั้น นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานในพิธีส่งมอบหลักสูตรสิทธิมนุษยชนศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายและคู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น องค์กรภาคประชาชน รวมถึงสถาบันพระปกเกล้า

โดยอาจารย์ดารณี ราชภูเขียว ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการบริหารเครือข่ายทางวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้แทนในการรับมอบในครั้งนี้ได้เผยว่า ศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ขับเคลื่อนโครงการงานด้านสิทธิมนุษยชนมาโดยตลอดอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะในเรื่องด้านสิทธิมนุษยชนศึกษา ได้มีการผลักดันให้สิทธิมนุษยชนศึกษาได้รับการพัฒนาเป็นรายวิชาศึกษาทั่วไปสำหรับนักศึกษาทุกคณะในมหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมถึงเป็นรายวิชาเฉพาะสำหรับนักศึกษาสาชาวิชานิติศาสตร์และสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ได้แก่ วิชาสิทธิขั้นพื้นฐานและประชาสังคม วิชากฎหมายสิทธิมนุษยชน วิชาสิทธิและหน้าที่พลเมือง เป็นต้น โดยได้นำ “คู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน” ซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมาทดลองใช้ในการจัดการเรียนรู้ทั้งในรายวิชาและในกิจกรรมกระบวนการของกลุ่มนักศึกษาอาสาสิทธิฯ ซึ่งได้นำกิจกรรมตามคู่มือฯ ดังกล่าวมาออกแบบและประยุกต์ใช้กับการรณรงค์สิทธิมนุษยชนใน โครงการห้องเรียนสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ซึ่งมีโรงเรียนเครือข่ายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งสิ้น 15 โรงเรียน โดยจัดการเผยแพร่และสร้างความตระหนักถึงในประเด็น “การหยุดการกลั่นแกล้ง” (stop bullying)​ เป็นการพัฒนานักศึกษาในทักษะด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และสร้างพื้นที่การเรียนรู้ในและนอกสถานที่ให้แก่นักศึกษา รวมถึงเป็นการบริการวิชาการแก่ชุมชนเครือข่าย สร้างพื้นที่กลางในการส่งเสริมเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ และได้ร่วมกันระดมความคิดเห็นและออกแบบการแก้ไขปัญหาเพื่อหาข้อเสนอแนะ และผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาแก้ไขปัญหาต่อไป

77690 77693 81889504_1429562927203424_1311396052548452352_o 82103038_1429427660550284_6420053406810898432_o 82295375_1429427160550334_4318744531303399424_o

การสอบสัมภาษณ์ TCAS 1 รอบ Portfolio

วันที่ 13 มกราคม 2563 คณะนิติศาสตร์ ดำเนินการสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกผู้เข้าศึกษาต่อในหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ ในรอบที่ 1 Portfolio ประจำปีการศึกษา 2563 ใน 2 โครงการคือ
1.โครงการผู้มีศักยภาพสูง
2.โครงการคุณธรรมจริยธรรมและบำเพ็ญประโยชน์ (เด็กดีมีที่เรียน)

โดยมีนักเรียนผู้ที่สนใจสมัครในรอบดังกล่าวจำนวนทั้งสิ้น 723 คน โดยคณะได้ทำการคัดเลือกคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์มีผู้ผ่านจำนวนทั้งสิ้น 34 คน ซึ่งนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกดังกล่าวต่างเตรียมความพร้อมทั้งประวัติและความสามารถพิเศษแสดงต่อคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ โดยมีผู้ปกครองรอคอยให้กำลังใจ

IMG_9279 IMG_9282 IMG_9283 IMG_9284 IMG_9285 IMG_9286 IMG_9291 IMG_9296 IMG_9311

คณะนิติศาสตร์ ทำบุญเสริมสิริมงคลรับปีใหม่ พร้อมปันน้ำใจเพื่อสังคม

คณะนิติศาสตร์จัดกิจกรรมทำบุญตักบาตร และถวายภัตตาหารพระภิกษุสงฆ์ จากวัดป่ากิตติญานุสรณ์ จำนวน ๙ รูป และมอบสิ่งของบริจาคให้สำนักงานมูลนิธิโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น

เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2563 คณะนิติศาสตร์ ร่วมกับ กลุ่มจิตตปัญญาและภาวะผู้นำทางจริยธรรมจัดกิจกรรมตักบารโฮมบุญต้อนรับปีใหม่ 2563 ซึ่งได้รับพระเมตตาจากพระอาจารย์ปรีดีย์ ผลญาโน เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วยพระสงฆ์จำนวน 9 รูปจากวัดป่ากิตติญานุสรณ์ อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาเตรียมสิ่งของตักบาตร และถวายภัตตาหารให้พระภิกษุสงฆ์ และรับฟังธรรมเทศนา เพื่อความเป็นสิริมงคลรับปีใหม่ ณ บริเวณลานกิจกรรม หลังจากนั้น ได้มีการนำสิ่งไปบริจาคโดยการร่วมสมทบทุนจากคณาจารย์และบุคลากรให้กับสำนักงานมูลนิธิโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น เพื่อเป็นการแบ่งปันน้ำใจสู่สังคม อีกด้วย

อาจารย์กชพร มุกสิกบุญเลิศ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล ในฐานะประธานโครงการฯ ได้กล่าวว่า “กิจกรรมที่จัดขึ้นในปีนี้เป็นกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างพลังใจและความเป็นสิริมงคลในการเริ่มต้นปีใหม่ของบุคลากรและยังมีการแบ่งปันสู่สังคมด้วยการบริจาคสิ่งของเครื่องใช้ให้กับผู้ป่วยที่โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเสริมสร้างความสามัคคีของบุคลากรของคณะคือการแข่งเกมและกองเชียร์ของแต่ละสีที่ในปีนี้ได้ให้โจทย์ในการคือ “แฟนซีรักษ์โลก” ให้บุคลากรได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และแบ่งฝ่ายแบ่งหน้าที่กันให้เกิดความสามัคคีและมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันเพื่อเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของคณะและมหาวิทยาลัยและร่วมกันสร้างนักกฎหมายที่มีนิติทัศนะรับใช้สังคมต่อไป”

81828523_470550317160105_5127075380913504256_o IMG_0316 IMG_0320 IMG_0324 IMG_0367 IMG_0393 IMG_0397 IMG_0401 IMG_0411 IMG_0455 IMG_0503 IMG_0780 IMG_0785 IMG_0896 IMG_0898 IMG_0902

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ โครงการผู้มีศักยภาพสูง

ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกมีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์
ในการรับนักเรียนโครงการผู้มีศักยภาพสูง หลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิต
สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ ปีการศึกษา 2563
รอบที่ 1 Portfolio
———–
คลิกดูประกาศที่นี่ http://bit.ly/2T923oH
Download แบบฟอร์มตรวจสุขภาพ http://bit.ly/305oxbA

งานสื่อสารองค์กร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
#โรงเรียนสอนกฎหมายที่ผลิตบัณฑิตให้มีนิติทัศนะรับใช้สังคม