Archives มีนาคม 2018

นิติฯมข. ร่วม มูลนิธิสื่อชาวบ้าน นำ นศ.ลงพื้นที่จริง เรียนรู้จากฐานชุมชน เสริมสร้างนิติทัศนะรับใช้สังคม

คณะนิติศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิสื่อชาวบ้าน (มะขามป้อม) เสริมสร้างทักษะให้นักกฎหมายรุ่นใหม่ เรียนรู้บนฐานชุมชน ปลูกฝั่งจิตสำนึกพลเมืองให้มีนิติทัศนะรับใช้สังคม

เมื่อวันที่ 3 – 5 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา คณะนิติศาสตร์ ได้จัดอบรมหลักสูตร “เรียนรู้บนฐานชุมชน” (Community Project Based Learning) ให้นักศึกษากฎหมายซึ่งได้รับความร่วมมือจากวิทยากร มูลนิธิสื่อชาวบ้าน (มะขามป้อม) โดย คุณพฤหัส พหลกุลบุตร คุณธนาวัตน์ รายะนาคร และคุณวรวัส สบายใจ สำหรับ Community Project Based Learning (PBL) คือ เครื่องมือการเรียนรู้แบบโครงการบนฐานปัญหาของชุมชน ซึ่งถือเป็นแนวทางการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้นักศึกษากฎหมายได้เข้าใจรากของปัญหาชุมชนอย่างแท้จริง และสามารถเอาหลักทางกฎหมายมาบูรณาการแก้ไขปัญหาช่วยเหลือชุมชนได้ ถือเป็นการเปิดห้องเรียนขนาดใหญ่ให้นักศึกษาได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาช่วยเหลือชุมชน

กิจกรรมที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลา 3 วัน โดยทีมวิทยากรได้มีการเตรียมความพร้อม Work Shop เครื่องมือ 7 ชิ้น ได้แก่ แผนที่เดินดิน ผังเครือญาติ โครงสร้างองค์กรชุมชน ระบบสุขภาพชุมชน ปฏิทินชุมชน ประวัติศาสตร์ชุมชน ประวัติชีวิต เพื่อการเรียนรู้บนฐานชุมชุนก่อนลงพื้นที่จริงในเขตชุมชนรอบรั้วมหาวิทยาลัยขอนแก่น หลังจากนั้นทีมวิทยากร พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องนำนักศึกษาลงพื้นที่ชุมชนบ้านโนนม่วง นางสาวธัญญลักษณ์ สิทธิศักดิ์นวกุล ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ได้เผยความรู้สึกว่าเป็นการเปลี่ยนความคิดของการเข้าร่วมกิจกรรม และเป็นการเรียนรู้ที่สนุก ได้เจอกับสภาพปัญหาจริงๆ เข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริงของชุมชน และสร้างทักษะการพูดการถามคนอื่นอีกด้วย

“ตลอดสามวันที่ได้ทำกิจกรรมมความรู้สึกแรกๆทุกๆคนคงไม่อยากเข้ามาร่วมกิจกรรมเพราะทุกคนคิดว่ามันคงจะน่าเบื่อมากๆทำไมต้องเข้ามาด้วย อยากกลับบ้านแต่พอวันแรกที่ได้ทำกิจกรรมเริ่มได้ทำความรู้จักกับทุกคนมันไม่ได้เป็นอย่างที่คิด กลับกลายเป็นว่ามันสนุกมาก คือเป็นการอบรมที่ไม่มีกฎเกณฑ์อะไรเลย ทำให้เราทำตัวสบายคุยกันอย่างเป็นกันเอง พี่วิทยากรทั้งสามคนก็ใจดีมากๆให้คำปรึกษาตลอดแม้ว่าเราจะถามบ่อยแค่ไหนแถมยังพาเราทำกิจกรรมทำให้เราไม่ง่วงนอนด้วย ในวันแรกที่ได้เริ่มเรียนรู้การใช้เครื่องมือทั้ง 7 ชิ้นตอนแรกก็งงๆนะว่าทำไปทำไมจะรู้จักการทำแบบนี้ไปเพื่ออะไร แต่พอมาวันที่สองมันสนุกกว่าเดิมอีกเพราะได้ลงพื้นที่ ได้ทำอะไรแบบจริงๆจังๆ ไปเรียนรู้จากคนพื้นที่จริงๆ คือตอนก่อนไปก็ยังบ่นอยู่ว่าวันนี้มันร้อนจังไม่อยากทำเลย แต่พอถึงชุมชนโนนม่วงจริงๆตอนนั้นไม่นึกถึงแดดแล้วมีแต่คิดว่าจะไปสัมภาษณ์ใครดี เขาจะตอบเราไหมแล้วเราจะถามอะไรบ้างดี วันนั้นเดินไปไกลมากกก เป็นกลุ่มเดียวเลยก็ว่าได้ที่เดินไปไกกลขนาดนั้น แล้ววันนั้นเราได้ไปสัมภาษณ์คนในชุมชนอยู่  3 คนซึ่งแต่ละคนก็มีท่าทีที่แตกต่างกันออกไป บางคนก็ตอบบ้างไม่ตอบบ้าง บางคนก็ไม่ตอบเลย หรือบางคนก็จะชอบเล่าเรื่องราวของตนให้เราฟัง ซึ่งการที่เราได้ลงพื้นที่แบบนี้มันก็ทำให้เรามันก็มีหลายอย่างที่ทำให้เราได้รู้เพราะไม่ได้มาลงพื้นที่จริงๆเราก็ไม่รู้เลยว่าชุมชนนี้แท้จริงแล้วเป็นอย่างไร เขามีปัญหาหาอะไรบ้าง เพราะถ้าหากพูดกันจริงๆคนเราขัยรถผ่านก็ไม่รู้ถึงขนาดนี้เราก็คงคิดว่าเป็นหมู่บ้านธรรมดาๆหมู่บ้านหนึ่งก็คงไม่ได้มีปัญหาอะไรมากมาย และการลงพื้นที่ก็ยังทำให้เรามีทักษะการพูดและการถามคนอื่นมากขึ้นอีกด้วย เพราะเมื่อเราเจอการลงพื้นที่ครั้งนี้แล้วมันจะทำให้เราได้แก้ไขว่าครั้งหน้าเราควรทำอย่างไร วันนั้นเป็นวันที่เราต้องเอาข้อมูลที่คนในกลุ่มแต่ละคนไปหามาวิเคราะห์ข้อมูลกันอีกเพราะต่างคนต่างความคิด ต่างคำพูดเราก็ต้องนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์แล้วเขียนลงไปเป็นเครื่องมือทั้ง 7 ชิ้นการทำกิจกรรมในวันนั้นมันทำให้เราได้เข้าใจในสังคมขึ้นมาก จากที่พี่วิทยากรหรือที่ท่านอาจารย์พูดว่าเด็กนิติศาสตร์ในปัจจุบันสนใจในตัวบทมากเกินไปมันคือเรื่องจริงว่าเราสนใจในสิ่งที่เรารู้ เราไม่ได้สนใจจากความจริงที่เกิดขึ้นเลยว่ามันเป็นยังไง ส่วนในวันที่สามเป็นวันสุดท้ายแล้วเป็นวันที่ทุกกลุ่มจัดนิทรรศการของกลุ่มตัวเอง เป็นการเอาเครื่องมือทั้ง 7 ชิ้นที่เราทำเมื่อวานนั้นมาให้คนดูแล้วมานำเสนอว่าเราได้เจอหรือพบอะไรบ้าง ซึ่งแต่ล่ะกลุ่มได้ไปเจอไม่เหมือนกันเลยอาจจะเพราะมองในมุมที่ต่างกันด้วยและถามคนในวัยที่แตกต่างกันก็จะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอออกไปจากคนเก่าแก่ที่อยู่ในชุมชนนั้น วันนั้นก่อนการนำเสนอพี่ๆวิทยากรก็ให้ทุกกลุ่มมีการจัดการแสดงก่อนการนำเสนอด้วย เป็นอะไรที่สนุกมากเพราะทุกคนแต่ละกลุ่มก็จะมานั่งคิดว่าทำอะไรดีบางกลุ่มก็เต้น บางกลุ่มก็ทำการแสดงละครโดยการเล่าเรื่องไปในตัว มันเป็นวันสุดท้ายที่สนุกมากๆแล้วก็มีความรู้สึกว่าคนไหนที่ตัดสินใจไม่มาเราคงเสียดายแทนเพราะการเข้าอบรมในครั้งนี้ทำให้เราเรียนรู้อะไรได้หลายอย่างจริงๆแล้วยังทำให้เราได้เพื่อนใหม่เพิ่มมากขึ้นจากเดิมที่เราเรียนในเชี่ยวชาญเราก็คุยกับเพื่อนแค่ไม่กี่คนในห้องนั้น และถ้าจะพูดในความรู้สึกในภาพรวมถือว่าเป็นการอบรมที่ดีมากๆคือตั้งแต่ได้เข้าอบรมมาถือว่าการอบรมนี้สนุกจริงๆพี่ๆวิทยากรเป็นกันเอง สอนสนุกพาทำกิจกรรมหลายๆอย่างที่ไม่เคยทำ ไม่เคยบ่นพวกเราเลยถึงแม้พวกเราจะเล่นกันตลอดเวลา พี่ๆที่ดูแลก็ดูแลดีมากๆเหมือนเป็นพี่น้องกันเลยให้คำปรึกษาได้เสมอ และสุดท้ายก็เป็นอาจารย์ใจดีที่เลี้ยงข้าวเที่ยงอีกด้วย สุดท้ายก็ต้องขอบคุณอาจารย์ที่ทำให้เราได้เข้ามาอบรมอะไรดีๆแบบนี้ค่ะ ” นางสาวธัญญลักษณ์ สิทธิศักดิ์นวกุล กล่าว

นอกจากนี้ นางสาวชุติพันธ์ เจียรประดิษฐ์ ก็ยังได้กล่าวถึงความรู้สึกประทับใจกับวิทยากรอบรมที่สนุกสนามไม่น่าเบื่อ และได้ลงพื้นเรียนรู้จากประสบการณ์จริง สามารถคิด วิเคราะห์ในสิ่งที่เราอยากทำ ได้เข้าใจปัญหาและเราจะสามารถนำเอาความรู้ที่เรามีไปช่วยเหลือคนเหล่านั้นได้อย่างไร

“รู้สึกประทับใจมากที่ได้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรกับกลุ่มมะขามป้อมค่ะตอนแรกคิดว่าการที่เข้ามาอบรมนี่คงจะน่าเบื่อมกๆแบบมานั่งฟังอะไรที่ไม่สนุก มีแต่วิชาการอะไรแบบนี้ ก็ประทับใจพี่ๆวิทยากรมากๆเพราะพี่ๆเขาน่ารักและเป็นกันเองมากๆพี่ๆเขาใจดีมากๆพี่ๆเขาน่ารักและเป็นกันเองมากๆเลยค่ะ ไม่เข้าใจก็ถามรายละเอียดนั้นได้ ทำไม่ถูกพี่เขาก็สอนว่าทำแบบนี้ไม่ถูกนะ มาเจาะลึกลงไปให้เห็นว่าการที่เราจะทำในเครื่องมือเหล่านี้เราต้องลงรายละเอียดอะไรบ้าง พาเล่นเกม สนุกสนาน การอบรมไม่น่าเบื่อเลยค่ะ ได้ลองประสบการณ์จริงๆได้คิด วิเคราะห์ ได้ทำในสิ่งที่เราอยากคิดอยากทำ เพราะเป็นการอบรมที่เปิดกว้างและหาสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ในห้องเรียนและตำราเลยค่ะ ได้ทั้งสาระหลักการลงพื้นที่ว่าเราควรเก็บข้อมูลอะไรบ้างในการลงพื้นที่ต่างๆ เช่น การที่เราลงไปพื้นที่ในชุมชนโนนม่วงหลังมหาวิทยาลัยนั้น ถ้าเห็นทั่วๆไปก็จะเห็นว่าอยู่ดีมีความสุข   แต่ใครจะทราบว่าเป็นที่ดินที่ไม่มีโฉนด เป็นการลงพื้นที่จริงๆ ได้ไปลองประสบการณ์ที่เราได้ไปลงพื้นที่นั้นๆในขนาดย่อมๆได้ไปเจอชาวบ้านในชุมชนนั้น ได้พูดคุยต่างๆถามความเป็นมาในอดีต ถามประวัติว่าขาดเรื่องอะไรบ้างที่ขาดไปเป็นการลองพื้นที่จริงด้วย การที่ลงพื้นที่นี้ทำให้รู้ว่าคืออะไรจะได้ทราบถึงข้อบกพร่องที่ต้องนำไปสู่การลงพื้นที่จริงๆในครั้งต่อไปมีปัญหาอะไรที่เราสามารถช่วยเขาได้บ้าง ได้ฝึกการนำเสนอต่างๆที่เราต้องเจาะลึกข้อมูลอะไรไปบ้างเพื่อที่จะเอามานำเสนอแบบที่เราจะให้เป็นให้ผู้อื่นได้รู้ถึงปัญหานั้นที่เราจะแก้ไขมัน ไดฝึกการกล้าแสดงออกหลายๆอย่างทั้งตัวเราและเพื่อนๆ ได้ประสบการณ์การทำงานกันเป็นกลุ่มกับเพื่อนๆหลายๆคน บางคนก็ไม่เคยรู้จักกันไม่เคยสนิทกันมาก่อนแต่เราก็ดีใจที่เราได้ละลายพฤติกรรมตรงนั้นในการทำงานกับเพื่อนๆ ได้ดึงความสารถตรงนั้นของเพื่อนออกมาว่าเพื่อเก่งอะไรด้านไหน เพราะว่าทุกคนมีความเก่งนั้นไม่กันแล้วก็ทำให้พวกเราสนิทกัน ได้มิตรภาพที่พวกเรานั้นได้ร่วมกันทำงานค่ะ” นางสาวชุติพันธ์ เจียรประดิษฐ์

อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0001 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0002 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0003 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0004 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0005 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0006 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0007 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0009 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0010 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0011 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0012 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0013 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0014 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0015 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0016 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0017 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0018 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0019 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0020 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0021 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0022 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0023 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0024 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0025 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0026 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0027 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0028 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0029 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0030 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0031 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0032 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0033 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0034 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0035 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0036 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0037 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0038 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0039 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0040 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0041 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0042 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0043 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0044 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0045 อบรม ชช.ปี 2_๑๘๐๓๐๙_0046

เสริมประสบการณ์ เรียนรู้จากสถานที่จริง

คณะนิติศาสตร์ เสริมสร้างประสบการณ์ให้นักศึกษา ลงพื้นที่เรียนรู้และรับการถ่ายทอดจากผู้มีประสบการณ์จริงของศาลจังหวัดขอนแก่น และศาลแขวงขอนแก่น

เมื่อวันที่ 6 – 7 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา รายวิชา 777328 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม โดย อาจารย์อนันต์ ธรรมราช ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 และอาจารย์พิเศษคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำนักศึกษาเรียนรู้ดูงาน ณ ศาลจังหวัดขอนแก่น และ ศาลแขวงขอนแก่น เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้และการถ่ายทอดจากผู้มีประสบการณ์ในการทำงานของศาลจัหวัดขอนแก่น และศาลแขวงจังหวัดขอนแก่น โดยได้รับเกียรติจากท่านเพิ่มพูน พิศาลธุรกิจ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดขอนแก่น ให้การต้อนรับและถ่ายทอดประสบการณ์ พร้อมทั้งนำนักศึกษาดูสถานที่ต่าง ๆ ภายในศาลจังหวัด ต่อมาได้เข้าศึกษาดูงานที่ศาลแขวงขอนแก่น โดยได้รับเกียรติจากท่านปราโมทย์ ฉิมพินิจ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงให้การต้อนรับและถ่ายทอดประสบการณ์ให้ความรู้ในการทำงานของกระบวนการยุติธรรม อีกด้วย

ด้าน นางสาวนัฐลดา โพธิ์งาม นักศึกษาชั้นปีที่ 3 เผยความรู้สึกที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ว่า เป็นโอกาสที่ดีที่จะได้เรียนรู้นอกห้องเรียนได้ไปเจอสถานที่จริงและเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้ตนเองในการเรียนด้านกฎหมาย “ตอนแรกที่คณะได้จัดโครงการให้นักศึกษาไปดูงานที่ศาล หนูรู้สึกว่าเป็นโอกาสดีมากๆเลยค่ะที่จะได้เรียนรู้นอกห้องเรียน จากที่เราอ่านหนังสือเราก็ได้ไปเจอของจริงว่าเป็นอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไร ได้เข้าไปดูการพิจารณาของจริง ได้ไปดูห้องพิจารณาคดีของจริง มีเจ้าหน้าที่ศาลคอยให้ความรู้ เป็นความรู้ที่อยู่นอกห้องเรียนที่ดีมากๆเลยค่ะ ที่สำคัญการที่เราได้ไปดูงานที่ศาลก็เป็นการสร้างแรงบันดาลใจของเรา เหมือนเติมไฟในใจเรา ให้เราตั้งเป้าหมายสำหรับตัวเราด้วย ต้องขอบคุณทางคณะที่ส่งเสริมกิจกรรมดีๆนี้ให้กับนักศึกษาคณะนิติศาสตร์นะคะ” นางสาวนัฐลดา โพธิ์งาม กล่าว

ดูงานศาล_๑๘๐๓๐๙_0001 ดูงานศาล_๑๘๐๓๐๙_0002 ดูงานศาล_๑๘๐๓๐๙_0003 ดูงานศาล_๑๘๐๓๐๙_0004 ดูงานศาล_๑๘๐๓๐๙_0005 ดูงานศาล_๑๘๐๓๐๙_0006 ดูงานศาล_๑๘๐๓๐๙_0007 ดูงานศาล_๑๘๐๓๐๙_0008 ดูงานศาล_๑๘๐๓๐๙_0009 ดูงานศาล_๑๘๐๓๐๙_0010 ดูงานศาล_๑๘๐๓๐๙_0011 ดูงานศาล_๑๘๐๓๐๙_0012 ดูงานศาล_๑๘๐๓๐๙_0013 ดูงานศาล_๑๘๐๓๐๙_0014 ดูงานศาล_๑๘๐๓๐๙_0015 ดูงานศาล_๑๘๐๓๐๙_0016 ดูงานศาล_๑๘๐๓๐๙_0017 ดูงานศาล_๑๘๐๓๐๙_0018 ดูงานศาล_๑๘๐๓๐๙_0020 ดูงานศาล_๑๘๐๓๐๙_0021

ขอขยายเวลาการรับสมัครเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสโมสรนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ประจำปี ๒๕๖๑

ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสโมสรนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ประจำปี ๒๕๖๑ (ฉบับที่ ๐๓ /๒๕๖๑)

เรื่อง  ขอขยายเวลาการรับสมัครเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสโมสรนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ประจำปี ๒๕๖๑

ตามที่ คณะกรรมการการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสโมสรนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ประจำปี ๒๕๖๑ ได้ดำเนินการรับสมัครเลือกตั้งฯ โดยรับสมัครระหว่างวันที่ ๕ – ๘ มีนาคม ๒๕๖๑ นั้น ยังไม่มีกลุ่มนักศึกษายื่นเอกสารการสมัครรับเลือกตั้งฯ ภายในระยะเวลาที่กำหนด จึงเห็นสมควรขยายเวลาการสมัครเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสโมสรนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ประจำปี ๒๕๖๑    จากเดิม ในวันที่ ๕ – ๘ มีนาคม ๒๕๖๑ เป็น วันที่ ๙ – ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๑ ณ งานพัฒนานักศึกษา คณะนิติศาสตร์

ตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารองค์การนักศึกษา สมาชิกนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น

นักศึกษาคณะนิติศาสตร์สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารองค์การนักศึกษา สมาสภาชิกนักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๑ ได้ที่เว็บไซด์ กองพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์

https://sac.kku.ac.th/electionsac