Archives พฤษภาคม 2017

คณะนิติศาสตร์ ประชุมร่วม กสม. วางแผนยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนการทำงานศูนย์สิทธิฯ ภาคอีสาน

คณะนิติศาสตร์ประชุมร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน เพื่อร่วมกันวางแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ณ ห้องกัลปพฤกษ์ 7 ชั้น 2 อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วันที่ 26 พฤษภาคม 2560 เวลา 13..00 – 16.00 น. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ประชุมร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) พร้อมด้วยเครือข่ายการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนภาคอีสาน เพื่อร่วมกันวางแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ตั้งขึ้นเป็นเต็มรูปแบบแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อเป็นต้นแบบของการทำงานเพื่อสิทธิมนุษยชนในส่วนภูมิภาค ที่จัดตั้งขึ้นที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

โดยสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้วางแนวทางแผนงานปฏิบัติการประจำปีไว้เป็น 3 ด้าน คือ 1.แผนงานด้านคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 2.แผนงานด้านส่งเสริมสิทธิมนุษยชน และ 3.แผนงานด้านการปลูกฝังกระบวนทัศน์ด้านสิทธิมนุษยชน ด้วยการสร้างกลยุทธ์ด้านสิทธิมนุษยชนด้วยการรณรงค์ (Campaign) ให้กับเยาวชนในพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีกระบวนการเพื่อติดตามและประเมินผลโดยการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ และนักศึกษาเพื่อเป็นการสร้างและพัฒนาคนรุ่นใหม่ให้มีกระบวนทัศน์ด้านสิทธิมนุษยชน

ในส่วนของ ผศ.กิตติบดี ใยพูล คณบดีคณะนิติศาสตร์ ได้นำเสนอแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานของศูนย์ฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดรูปแบบของจุมมุ่งหมาย นโยบาย โครงการ กิจกรรม และการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการทำโครงการหรือกิจกรรม โดยต้องมองบริบททางสังคมกับความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนในมิติใหม่เพื่อให้เท่าทันต่อสังคมในศตวรรษที่ 21 กระแสโลกาภิวัตน์ และสังคมที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงเป็น Privacy in Global Digital Age รวมถึงต้องสร้างหุ้นส่วนที่หลากหลายเพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่มีบทบาทการทำหน้าที่ที่สอดคล้องกับภารกิจของศูนย์ฯ เพื่อสามารถแก้ไขปัญหาในลักษณะองค์รวมให้ได้ ซึ่งได้กำหนดวิสัยทัศน์รวมกัน คือ “การสร้างคนรุ่นใหม่เพื่อสังคมแห่งการเคารพสิทธิมนุษยชน” (Build to Global Citizenship) โดยมีประเด็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญอยู่ 4 ประเด็น คือ 1.การสร้างการรับรู้ (Awareness) งานด้านจัดกิจกรรมรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชน (Campaign) การผลิตสื่อสารสนเทศ การอบรมให้ความรู้ต่าง ๆ   2.การสร้างคุณค่า (Appreciation) สอดคล้องกับงานด้านคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยต้องทำงานทั้งเชิงรับและเชิงรุก 3.การสร้างความเข้าใจ (Understanding) เป็นงานด้านส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เช่นการจัดห้องเรียนสิทธิมนุษยชน การจัดอบรม Workshop เป็ฯต้น  และ 4. การสร้างความรับผิดชอบ (Responsibility) เป็นงานด้านเครือข่ายและพื้นที่ เพื่อลงพื้นที่เรียนรู้ และสามารถนำมากำหนดโจทย์วิจัยเพื่อตอบสนองความต้องการของคนในพื้นที่ รวมถึงการสร้างโมเดลเพื่อการพัฒนางานส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ซึ่งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นในฐานะสถานบันการศึกษานั้นได้มีบทบาทในการผลิตบัณฑิตเพื่อให้มีทักษะทางด้านวิชาการแล้ว คณะยังได้มุ่งเน้นความสำคัญอีก 2 ทักษะคือ1.ทักษะการคิด และ2.ทักษะที่จำเป็น (Non-Technical Skill) สำหรับนักศึกษา เพื่อให้ตอบโจทย์กับความต้องการของสังคมที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงไปในทุกๆรุ่น (Gen)

สำหรับเป้าหมายร่วมกันในการทำงานในครั้งนี้ คือการเผยแพร่งานทางด้านสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ การประสานงานกับพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายร่วมกันคือ การสร้างนักรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชน นักกฎหมายที่มีความรู้พื้นฐานด้าน Non-Technical Skill นักกฎหมายที่มีฐานคิดด้านสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรมทางสังคม รวมถึงการสร้างอาสาสมัครด้านสิทธิมนุษยชน ด้วย โดยภารทั้งหมดต้องเน้นความต่อเนื่องและมีความยั่งยืนเพื่อร่วมกันพัฒนาสังคมต่อไป

 

DSC_6603 DSC_6598 DSC_6600 DSC_6602 DSC_6604 DSC_6607 DSC_6620 DSC_6623

ภาพ/ข่าว : พชร โนนทิง

คณะนิติศาสตร์ ต้อนรับคณะดูงานจาก มรภ.นครสวรรค์

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ต้อนรับ คณะศึกษาดูงานจาก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการศึกษาและระบบการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างกันระหว่างวันที่ 15-16 พฤษภาคม 2560 ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2560 เวลา 13.00 น. คณะนิติศาสตร์ได้ให้การต้อนรับและนำคณะผู้ศึกษาดูงานกราบสักการะศาลเจ้าพ่อมอดินแดง อันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำมหาวิทยาลัยขอนแก่น หลังจากนั้นนำคณะฯ เข้าเยี่ยมชมพื้นที่การจัดการศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติบดี ใยพูล คณบดีคณะนิติศาสตร์ กล่าวต้อนรับคณะศึกษาดูงานในครั้งนี้พร้อมทั้งแนะนำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นในเบื้องต้น อาทิ ประวัติความเป็นมาของคณะ การบริหารงาน นโยบายการจัดการศึกษา และการเตรียมความพร้อมของคณะในการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัยและ World Ranking   ให้กับคณะผู้ศึกษาดูงานในครั้งนี้ ซึ่งนำโดย อาจารย์ปราชญ์ ปรัชญาพันธ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผนและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ พร้อมด้วยคณาจารย์ ณ ห้องประดิษฐ์มนูธรรม ๒

หลังจากนั้นในวันที่ 16 พฤษภาคม 2560 เวลา 09.00 น. ได้มีกิจกรรม Work Shop เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างทั้งสองมหาวิทยาลัย โดยมีการแลกเปลี่ยนในด้านการพัฒนาการจัดการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2559 ของคณะนิติศาสตร์ ใน 2 ห้วข้อหลักคือ 1.การพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ เช่น ระบบทบทวนและสรุปประมวลผลความรู้ ระบบอาจารย์ Coaching นักศึกษา ระบบอาจารย์พี่เลี้ยงสำหรับนักศึกษาที่มีผลการเรียนไม่ถึงเกณฑ์สำเร็จการศึกษา และระบบการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วิชาชีพ เป็นต้น และ 2. การบริหารเครือข่ายทางวิชาการ เช่น ศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชน ระดับภูมิภาค ศูนย์ช่วยเหลือทางกฎหมายและพัฒนางานบริหารงานยุติธรรมระดับภูมิภาค หลักสูตรร่วมผลิตระหว่างคณะนิติศาสตร์กับกระทรวงยุติธรรม การผลิตงานวิจัยและการบริการทางวิชาการ (ศูนย์บริหารงานวิจัยทางกฎหมายและความยุติธรรมทางสังคม) เป็นต้น โดยการแลกเปลี่ยนครั้งนี้ได้รับความสนใจจากคณะผู้เข้าศึกษาดูงานอย่างยิ่งและในอนาคตจะได้พัฒนางานด้านวิชาการระหว่างสองมหาวิทยาลัยในทางกฎหมายและความยุติธรรมทางสังคมร่วมกันต่อไป

DSC_6324 DSC_6342 DSC_6348 DSC_6349 DSC_6377 DSC_6380 DSC_6383 DSC_6394 DSC_6395 DSC_6396 DSC_6397 DSC_6398 DSC_6399 DSC_6400 DSC_6401 DSC_6409 DSC_6410 DSC_6427 DSC_6436 DSC_6443 DSC_6446 DSC_6453 DSC_6459 DSC_6464 DSC_6469 DSC_6490 DSC_6494 DSC_6497 DSC_6505DSC_6417DSC_6406

ภาพ/ข่าว : พชร โนนทิง

เสวนาวิชาการ”การข้ามแดนของแรงงานข้ามชาติและมายาคติในสังคมไทย”

วันที่ 2 พฤษภาคม 2560 เวลา 13.00 น. คณะนิติศาสตร์ มข.ร่วมกับศูนย์ศึกษาและประสานด้านสิทธิมนุษยชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดเสวนาโครงการเสียงที่เงียบไว้ในใจเธอ งานส่งเสริมสิทธิมนุษยชนเนื่องในวันแรงงานประจำปี 2560 ตอน “การข้ามแดนของแรงงานข้ามชาติและมายาคติในสังคมไทย” โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์ ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ คุณวิลาสินี โสภาพล และคุณจักกฤษ์ วนาใส ร่วมเสวนาในหัวข้อดังกล่าว โดยมีนักศึกษาที่สนใจเข้าร่วมรับฟัง หลังจากนั้นอาจารย์พงศ์จรัส รวยร่ำ ผู้ทรงคุณวุฒิประจำคณะฯได้ให้เกียรติมอบของที่ระลึกและกล่าวปิดกิจกรรมเสวนาในครั้งนี้

DSC_6087 DSC_6101 DSC_6106 DSC_6111 DSC_6126 DSC_6133 DSC_6165 DSC_6167 DSC_6182 DSC_6185 DSC_6190 DSC_6192 DSC_6207 DSC_6211

DSC_6144DSC_6089DSC_6179DSC_6116

 

สิทธิหน้าที่ นายจ้างและลูกจ้าง

วันแรงงาน

1. เวลาทำงานปกติ งานทั่วไปไม่เกิน 8 ชม./วัน หรือตามที่นายจ้างลูกจ้างตกลงกัน และไม่เกิน 48 ชม./สัปดาห์ งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง ได้แก่ งานที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือในที่อับอากาศ งานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสี งานเชื่อมโลหะ งานขนส่งวัตถุอันตราย งานผลิตสารเคมีอันตราย งานที่ต้องทำด้วยเครื่องมือ หรือเครื่องจักร ซึ่งผู้ทำได้รับความสั่นสะเทือนอันอาจเป็นอันตราย และงานที่ต้องทำเกี่ยวกับความร้อนจัดหรือความเย็นจัดอันอาจเป็นอันตราย ซึ่งโดยสภาพของงานมีความเสี่ยงอันตรายสูงหรือมีภาวะแวดล้อมในการทำงานเกิน มาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดไว้ซึ่งไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขที่แหล่งกำเนิดได้ และต้องจัดให้มีการป้องกันที่ตัวบุคคล ให้มีเวลาทำงานปกติไม่เกิน 7 ชม./วัน และไม่เกิน 42 ชม./สัปดาห์

2. เวลาพัก
ระหว่างการทำงานปกติ
ไม่น้อยกว่า 1 ชม./วัน หลังจากลูกจ้างทำงานมาแล้วไม่เกิน 5 ชม. ติดต่อกันหรืออาจตกลงกันพักเป็นช่วงๆ ก็ได้แต่รวมแล้วต้องไม่น้อยกว่า 1 ชม./วัน งานในร้านขายอาหารหรือร้านขายเครื่องดื่มซึ่งเปิดจำหน่ายหรือให้บริการใน แต่ละวันไม่ติดต่อกันอาจพักเกิน 2 ชม./วันก็ได้ นายจ้างอาจจะไม่จัดเวลาพักได้กรณีเป็นงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำ ติดต่อกันไปโดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือเป็นงานฉุกเฉิน
ก่อนการทำงานล่วงเวลา กรณีให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาต่อจากเวลาทำงานปกติไม่น้อยกว่า 2 ชม. ต้องจัดให้ลูกจ้างพักก่อนเริ่มทำงานล่วงเวลาไม่น้อยกว่า 20 นาที

3. วันหยุด
วันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ โดยให้มีระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน สำหรับงานโรงแรม งานขนส่งงานในป่า งานในที่ทุรกันดาร หรืองานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงอาจตกลงกันสะสมและเลื่อนวันหยุดประจำ สัปดาห์ไปหยุดเมื่อใดก็ได้ภายในระยะเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน
วันหยุดตามประเพณี ไม่น้อยกว่า 13 วัน/ปี โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติ โดยพิจารณาจากวันหยุดราชการประจำปี วันหยุดทางศาสนา หรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าวันหยุดตามประเพณีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ให้หยุดชดเชยวันหยุดตาม ประเพณีในวันทำงานถัดไป สำหรับงานในกิจการโรงแรม สถานมหรสพ ร้านขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม ฯลฯ อาจตกลงกันหยุดวันอื่นชดเชยวันหยุดตามประเพณี หรือจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้ก็ได้
วันหยุดพักผ่อนประจำปี ไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน/ปี สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาครบ 1 ปี อาจตกลงกันล่วงหน้าสะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปี ไปรวมหยุดในปีต่อๆ ไปได้

4. การทำงานล่วงเวลา การทำงานในวันหยุด
อาจให้ลูกจ้างทำได้โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราวๆ ไป
อาจ ให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา และทำงานในวันหยุดได้เท่าที่จำเป็น ถ้าลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน หรือเป็นงานฉุกเฉิน
อาจให้ทำงานในวันหยุด สำหรับกิจการโรงแรม สถานมหรสพ งานขนส่ง ร้านขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม สโมสร สมาคม และสถานพยาบาลได้ โดยไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน
ชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา การทำงานในวันหยุด และการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด รวมแล้วต้องไม่เกิน 36 ชม./สัปดาห์

5. วันลา
วันลาป่วย ลูกจ้างลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไปนายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้น หนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการได้ หากลูกจ้างไม่อาจแสดงได้ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบวันที่ลูกจ้างไม่อาจ ทำงานได้เนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยซึ่งเกิดจากการทำงานหรือวันลา เพื่อคลอดบุตรไม่ถือเป็นวันลาป่วย
วันลากิจ ลูกจ้างลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
วันลาทำหมัน ลูกจ้างลาเพื่อทำหมันและเนื่องจากการทำหมันได้ตามระยะเวลาที่แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งกำหนดและออกใบรับรอง
วันลารับราชการทหาร ลูกจ้างลาเพื่อรับราชการทหารในการเรียกพล เพื่อตรวจสอบฝึกวิชาทหาร หรือทดลองความพรั่งพร้อมตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารได้
วันลาคลอดบุตร ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ลาเพื่อคลอดบุตรได้ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน โดยนับรวมวันหยุด
วันลาฝึกอบรม ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถเพื่อประโยชน์ ต่อการแรงงานและสวัสดิการสังคมหรือการเพิ่มทักษะความชำนาญเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการทำงานของลูกจ้างตามโครงการหรือหลักสูตร ซึ่งมีกำหนดช่วงเวลาที่แน่นอนและชัดเจน และเพื่อการสอบวัดผลทางการศึกษาที่ทางราชการจัดหรืออนุญาตให้จัดขึ้น ลูกจ้างต้องแจ้งเหตุในการลาโดยชัดแจ้ง พร้อมทั้งแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) ให้นายจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันลา นายจ้างอาจไม่อนุญาตให้ลาหากในปีที่ลาลูกจ้างเคยได้รับอนุญาตให้ลามาแล้วไม่ น้อยกว่า 30 วัน หรือ 3 ครั้งหรือแสดงได้ว่าการลาของลูกจ้างอาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือกระทบต่อ การประกอบธุรกิจของนายจ้าง

6. ค่าตอบแทนในการทำงาน
ค่าจ้าง จ่ายเป็นเงินเท่านั้น จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ถ้ากำหนดเวลาทำงานปกติเกิน 9 ชม./วัน ให้จ่ายค่าตอบแทนแก่ลูกจ้าง ซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนสำหรับการทำงานที่เกิน 9 ชม. ขึ้นไป ไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงหรือต่อหน่วยในวันทำงาน และในอัตราไม่น้อยกว่า 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงหรือต่อหน่วยในวันหยุด
ค่าจ้างในวันหยุด จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี และวันหยุดพักผ่อนประจำปี ยกเว้นลูกจ้างรายวัน รายชั่วโมง หรือตามผลงาน ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์
ค่าจ้างในวันลา จ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยไม่เกิน 30 วันทำงาน/ปี จ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อทำหมัน จ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อรับราชการทหารไม่เกิน 60 วัน/ปี จ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อคลอดบุตรไม่เกิน 45 วัน/ครรภ์
ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด
1. ถ้าทำงานเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อ ชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวน ชั่วโมงที่ทำหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วย ในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงาน
2. ถ้าทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตราสามเท่าของอัตรา ค่าจ้างต่อชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำหรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างที่ ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
3. ถ้าทำงานในวันหยุดในเวลาทำงานปกติ นายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างใน วันหยุดเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าของค่าจ้าง ในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุด หรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้ สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย สำหรับลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของค่าจ้างในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุดหรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้ สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

ค่าชดเชย
1. ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หากนายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิด ดังนี้
1.1 ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
1.2 ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
1.3 ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
1.4 ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน
1.5 ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน
2. ในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุปรับปรุงหน่วยงาน กระบวนการผลิตการจำหน่าย หรือการบริการอันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่อง จักรหรือเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องลดจำนวนลูกจ้างลง นายจ้างต้องปฏิบัติดังนี้
2.1 แจ้งวันที่จะเลิกจ้าง เหตุผลของการเลิกจ้าง และรายชื่อลูกจ้างที่จะถูกเลิกจ้าง ให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงาน ทราบล่วงหน้าไม่ น้อยกว่าหกสิบวันก่อนวันที่จะเลิกจ้าง
2.2 ถ้าไม่แจ้งแก่ลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้า หรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าระยะเวลาหกสิบวัน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้างเท่ากับค่า จ้างอัตราสุดท้ายหกสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานหกสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่า จ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

ค่าชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านี้ ให้ถือว่านายจ้างได้จ่ายค่าสินจ้างแทน การบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายด้วยนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจาก ค่าชดเชยปกติดังต่อไปนี้
1. ลูกจ้าง ทำงานติดต่อกันครบหกปีขึ้นไป นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชย พิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยปกติซึ่งลูกจ้างนั้นมีสิทธิได้รับอยู่แล้ว ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสิบห้าวันต่อการทำงานครบหนึ่งปี หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสิบห้าวันสุดท้ายต่อการทำงาน ครบหนึ่งปีสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
2. ค่าชดเชยพิเศษนี้รวมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อย หกสิบวัน หรือไม่เกินค่าจ้างของการทำงานสามร้อยหกสิบวันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย แต่รวมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยหกสิบวัน
3. เพื่อประโยชน์ในการคำนวณค่าชดเชยพิเศษ เศษของระยะเวลาทำงานที่มากกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ให้นับเป็นการทำงานครบหนึ่งปี

3. ในกรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่นอันมีผลกระทบ สำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว
1. นายจ้างต้องแจ้งล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อน ย้าย ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วย ลูกจ้างมีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาจ้างได้โดยได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าร้อย ละห้าสิบของอัตราค่าชดเชยปกติที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิ์ได้รับ
2. ถ้านายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบการย้ายสถานประกอบกิจการล่วงหน้า นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษ แทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน

ข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย : ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังนี้
1. ลูกจ้างลาออกเอง
2. ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
3. จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
4. ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
5. ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน ซึ่งหนังสือเตือนนั้นให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
6. ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันสมควร
7. ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
8. กรณีการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และนายจ้างเลิกจ้าง ตามกำหนดระยะเวลานั้น ได้แก่งานดังนี้
8.1 การจ้างงานในโครงการ เฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือ การค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน
8.2 งานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว ที่มีกำหนดงานสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงาน
8.3 งานที่เป็นไปตามฤดูกาล และได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้นซึ่งจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี โดยนายจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง

ที่มา : กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน