รายชื่อผู้มีสิทธิ์สัมภาษณ์ทุนการศึกษาประเภท ข ภาคต้น ปีการศึกษา ๒๕๖๑

ประกาศรายชื่อนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ผู้มีสิทธิ์เข้าสัมภาษณ์ทุนการศึกษาประเภท ข ประจำภาคต้น ปีการศึกษา ๒๕๖๑

สัมภาษณ์วันอาทิตย์ที่ ๒ กันยายน ๒๕๖๑ ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ น. เป็นต้นไป ณ ห้อง International Leaning Center @ Law (ข้าง Office @ Law 1)

180828 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สัมภาษณ์ทุนประเภท ข ภาคต้น ปีการศึกษา ๒๕๖๑

180828 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สัมภาษณ์ทุนประเภท ข ภาคต้น ปีการศึกษา ๒๕๖๑

** นักศึกษาที่ไม่เข้าสัมภาษณ์ในวันดังกล่าวข้างต้นถือว่าสละสิทธิ์

ประชุมนักศึกษาชั้นปี 3 เตรียมพร้อมเสริมทักษะทางวิชาการและการบริการแก่สังคม

คณะกรรมการบริหารจัดการการศึกษาชั้นปี 3 เข้าพบนักศึกษา เพื่อชี้แจงในการจัดกิจกรรมเสริมทักษะทางวิชาการและการบริการวิชาการแก่สังคม

เมื่อวันที่ 21 – 23 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา คณะกรรมการบริหารจัดการการศึกษาชั้นปี 3 โดย อาจารย์กชพร มุสิกบุญเลิศ อาจารย์อัษฎาวุธ วสนาท และอาจารย์กิตติทร สุดประเสริฐ พร้อมด้วยบุคลากรสายสนับสนุน เข้าพบและชี้แจงเกี่ยวกับแผนการดำเนินงานในภาคต้น ประจำปีการศึกษา 2561 โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. กิจกรรมอาจารย์ที่ปรึกษาเข้าพบนักศึกษา เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนักศึกษา และแจ้งตาราง Office Hour และช่องทางในการติดต่อสื่อสารในการขอคำปรึกษา
2. กิจกรรมทางวิชาการ
2.1 กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน โดยจัดทำในรูปแบบคณะกรรมการวิชาการคอยให้ความช่วยเหลือในแต่ละรายวิชา
2.2 กิจกรรมทบทวนเนื้อหาและฝึกการตอบข้อสอบกฎหมาย
3. กิจกรรมบริการวิชาการแก่สังคม โดยกิจกรรมดังกล่าวได้สอดแทรกอยู่ในรายวิชาที่มีการจัดการเรียน การสอนในรูปแบบ Interactive Learning
โดยแผนการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของคณะกรรมการบริหารจัดการการศึกษาชั้นปี 3 เพื่อเป็นการเสริมทักษะด้านต่าง ๆ ให้กับนักศึกษาให้มีความรู้คู่คุณธรรมและมีนิติทัศนะรับใช้สังคมต่อไป

DSC_9384DSC_9395DSC_9389DSC_9349 DSC_9352 DSC_9369 DSC_9372 DSC_9392 DSC_9414 DSC_9421 DSC_9422 DSC_9426 DSC_9427 DSC_9438 DSC_9483 DSC_9493 DSC_9502 DSC_9505

ภาพ/ข่าว : พชร โนนทิง

ประชุมนักศึกษาชั้นปี 4 มุ่งเสริมทักษะที่จำเป็นเตรียมพร้อมสู่การเป็นบัณฑิต

คณะกรรมการบริหารจัดการการศึกษาชั้นปี 4 ประชุมชี้แจงการจัดกิจกรรมเสริมทักษะพร้อมแนะนำเตรียมความพร้อมด้านการเรียน

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม 2561 คณะกรรมการบริหารจัดการการศึกษาชั้นปี 4 ประจำปีการศึกษา 2561 โดย อาจารย์ดร.รุ่งลาวัลย์ สุดมูล อาจารย์นรากร วรรณพงษ์ อาจารย์ปัทมาภรณ์ สินทรัพย์ พร้อมด้วยบุคลากร เข้าพบนักศึกษาเพื่อให้คำแนะนำและเตรียมความพร้อมในการเรียนประจำภาคต้น ปีการศึกษา 2561 ดังนี้
1. รูปแบบการจัดการเรียนแบบ interactive learning ในรายวิชาต่าง ๆ อาทิ วิชาสัมมนากฎหมายอาญา วิชาสัมมนากฎหมายธุรกิจ และหลักวิชาชีพกฎหมาย เป็นต้น
2. การเตรียมความพร้อมสำหรับการศึกษาวิจัยในรายวิชาวิธีวิทยาวิจัยทางกฎหมาย
3. ตารางนัดหมายอาจารย์ที่ปรึกษา การขอเข้าพบและให้คำปรึกษาในเรื่องต่าง ๆ
นอกจากนี้ยังแนะนำกิจกรรมเสริมทักษะเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาเพื่อสำเร็จการศึกษาเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะนิติศาสตร์ คือ (1) กิจกรรมการถ่ายทอดประสบการณ์ในการประกอบอาชีพสาขาต่าง ๆจากศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์ รวมไปถึงการแนะนำการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น (2) กิจกรรมเสริมทักษะด้านการสื่อสารและทักษะภาษาสำหรับนักศึกษา การจัดทำ Resume เพื่อสมัครงาน (3) กิจกรรมอบรมบุคลิกภาพและเสริมทักษะการพูดในที่ชุมนุมชน โดยกิจกรรมดังกล่าวจะจัดขึ้นประจำภาคต้น ปีการศึกษา 2561

DSC_8946 DSC_8948 DSC_8949 DSC_8951 DSC_8952 DSC_8959 DSC_8966 DSC_8971 DSC_8973 DSC_8975 DSC_8979 DSC_8991 DSC_8993 DSC_8994 DSC_9000 DSC_9021 DSC_9030 DSC_9037 DSC_9046

ภาพ/ข่าว : พิเชษฐ์ อินทร์นอก

การสอบปิดเล่มวิจัย นักศึกษาภาคบัณฑิต ปีการศึกษา 2560

วันที่ 3 สิงหาคม 2561
คณะนิติศาสตร์ได้จัดให้มีการสอบปิดเล่มวิจัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนในวิชา 777 400 วิธีวิทยาวิจัยทางกฎหมาย สำหรับนักศึกษาภาคบัณฑิต ภาคการศึกษาที่ 3 ปีการศึกษา 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ และใช้ทักษะการวิจัยและระเบียบวิธีวิจัยทางกฎหมายที่ถูกต้องและเหมาะสม จากการศึกษาที่ผ่านมานักศึกษาได้ดำเนินการจัดทำวิจัย โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำ ตามกระบวนการขั้นตอนต่างๆ จนมาถึงการนำเสนอเพื่อสอบปิดเล่มวิจัยในครั้งนี้ ซึ่งมีผู้สนใจเข้ารับฟังเป็นจำนวนมาก

โดยนักศึกษาได้นำเสนองานวิจัย ต่อกรรมการ คนละ 10 นาที หลังจากนั้นกรรมการสอบวิจัยได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วนิดา แสงสารพันธ์ อาจารย์ ดร.รุ่งลาวัลย์ สุดมูล อาจารย์ ดร.ปาริฉัตร บุตรวงค์ และ อาจารย์กัญญารัตน์ โคตรภูเขียว ได้ซักถามข้อสงสัย และให้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงเล่มวิจัยให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้การสอบปิดเล่มวิจัย ก่อนการนำข้อเสนอแนะจากกรรมการมาปรับปรุงเล่มวิจัยนั้น ถือเป็นกระบวนการสุดท้าย ที่แสดงให้เห็นว่านักศึกษามีความเข้าใจถึงระเบียบวิธีวิจัยทางกฎหมายที่ถูกต้องและเหมาะสม ทางคณะหวังเป็นอย่างยิ่งว่านักศึกษาจะได้นำทักษะระเบียบวิธีการวิจัยทางกฎหมายไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในอนาคตต่อไป

ฝ่ายสื่อสารงานวิชาการ งานวิชาการและวิจัย
#FacultyOfChoice
#SmallSmartSocialResponsibility

38498864_1904143212998270_3913756839304495104_n 38600607_1904143196331605_1154049839760146432_n 38492591_1904142649664993_7310991269390450688_n 38469573_1904142669664991_1288536514317254656_n 38462771_1904142676331657_673144000894468096_n 38658510_1904142862998305_7557847869097508864_n38454810_1904142842998307_5150982324229242880_n 38654442_1904142822998309_7268754354843156480_n 38462377_1904142856331639_686836240669999104_n 38465871_1904142962998295_6539873880448696320_n 38526577_1904143039664954_6923722598115180544_n 38470313_1904142629664995_6886912095573508096_n

คณะนิติศาสตร์ เตรียมความพร้อมคณะทำงานกิจกรรมต้อนรับนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2561

วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม 2561

คณะนิติศาสตร์ โดยงานพัฒนานักศึกษา จัดโครงการอบรมเตรียมความพร้อมคณะทำงานกิจกรรมต้อนรับนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2561 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับข้อกฎหมาย หลักเกณฑ์ แนวปฏิบัติ และประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมต้อนรับนักศึกษาใหม่ ให้แก่คณะทำงานที่รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ ในการเป็น “โรงเรียนสอนกฎหมายที่ผลิตบัณฑิตให้มีนิติทัศนะรับใช้สังคม” โดยในการอบรมแบ่งเป็นช่วงดังนี้

1. พิธีเปิดโครงการ โดย อาจารย์ปริศนา คำชาย ผู้ช่วยคณบดี กล่าวเปิดงาน พร้อมด้วย อาจารย์กัญญารัตน์ โคตรภูเขียว โดยได้กล่าวให้กำลังใจคณะทำงาน และแนะแนวทางการจัดกิจกรรมต้อนรับนักศึกษาใหม่อย่างสร้างสรรค์
2. การบรรยายเรื่อง การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ และ สิทธิรักษาพยาบาลสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย นางกัลยา อารยางกูร พยาบาลชำนาญการพิเศษ และคณะ ทั้งนี้เพื่อให้ความรู้กับคณะทำงานที่รับผิดชอบ แนวทางปฏิบัติและเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมต้อนรับนักศึกษาใหม่
3. การบรรยายเรื่อง บทบาทและหน้าที่ของคณะทำงาน และการเคารพสิทธิ การจัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่ โดย นายอนุชิต ปัสสาสุ พนักงานบริหารวิชาการ เพื่อให้คณะทำงานมีความเข้าใจถึงบาทบาท หน้าที่ ของคณะทำงาน ให้สามารถดำเนินกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ขัดต่อระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ที่เกี่ยวข้อง

โดยในช่วงท้ายได้ร่วมทำกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ เป็นการระดมสมองร่วมกัน ตลอดจนการเสนอแนะ ปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้กิจกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นมีความสมบูรณ์และความเหมาะสมต่อไป

ฝ่ายสื่อสารงานวิชาการ งานวิชาการและวิจัย

DSC_5768 DSC_6003 DSC_5997 DSC_5989 DSC_5988 DSC_5975 DSC_5974 DSC_5960 DSC_5957 DSC_5944 DSC_5933 DSC_5929 DSC_5927 DSC_5919 DSC_5917 DSC_5895 DSC_5892 DSC_5889 DSC_5886 DSC_5884 DSC_5882 DSC_5876 DSC_5868 DSC_5867 DSC_5865 DSC_5863 DSC_5852 DSC_5841 DSC_5837 DSC_5830 DSC_5827DSC_5819DSC_5807 DSC_5786DSC_5778DSC_5769

ค่ายนิติศาสตร์สู่ชุมชนครั้งที่ 6 เติมพลังความมุ่งมั่นสร้าง “จิตสาธารณะ”

 ค่ายนิติศาสตร์สู่ชุมชนครั้งที่ 6 เติมพลังความมุ่งมั่นสร้าง “จิตสาธารณะ” สู่การเป็นบัณฑิตที่มีนิติทัศนะรับใช้สังคม ณ โรงเรียนบ้านหนองแสง ต.เขาพระนอน อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์

วันที่ 27 – 31 พฤษภาคม 2561 คณะนิติศาสตร์ ดำเนิน โครงการวิจัยและบริการสังคมเพื่อเสริมสร้างนิติทัศนะรับใช้สังคมให้กับนักศึกษาคณะนิติศาสตร์  ณ โรงเรียนบ้านหนองแสง ต.เขาพระนอน อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ เพื่อให้บริการชุมชนด้านกฎหมาย และให้นักศึกษาเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีในชุมชน และเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาเรียนรู้การทำงานร่วมกันอันจะส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างระหว่างนักศึกษาด้วยกันเอง ร่วมกันพัฒนาพื้นที่โรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ รวมถึงศึกษาปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนแห่งนี้ และหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ร่วมออกเยี่ยมค่ายและดูแลนักศึกษาตลอดโครงการ

ในการออกค่ายในครั้งนี้พบว่าพื้นที่บ้านหนองแสง ต.เขาพระนอน อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธ์ุ มีประชาชนอาศัยอยู่ประมาณ 215 หลังคาเรือน มีโรงเรียนระดับปฐมศึกษา  1 โรงเรียน คือโรงเรียนบ้านหนองแสง มีครู 3 คน และนักเรียนรวมประมาณ 50 คน ซึ่งยังขาดแคลนสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานในโรงเรียนที่อยู่ภายในชุมชนอันเป็นพื้นที่แหล่งเรียนรู้สำคัญของเด็กและเยาวชนในหมู่บ้าน รวมถึงการสนับสนุนอุปกรณ์ทางการศึกษา และชาวบ้านมีความต้องการได้รับความรู้เบื้องต้นทางกฎหมายที่จำเป็นสำหรับชีวิตประจำวัน เพื่อที่จะได้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถเป็นเกาะป้องกันตัวเองในยามเกิดปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ตลอดระยะเวลา 5 วัน 4 คืน นักศึกษาได้ช่วยกันบูรณะซ่อมแซมโรงเรียน คือ ทาสีอาคารเรียน บูรณะหอพระพุทธรูป  ทาสีรั้วโรงเรียน ทำเตาเผาขยะ และทำศาลาอเนกประสงค์สำหรับใช้ทำกิจกรรมของนักเรียนและคนในชุมชน  โดยในแต่ละวันนักศึกษาได้แบ่งกลุ่มพักกับคนในชุมชนในแต่ละหลังคาเรือนหรือที่ในค่ายนี้เรียกว่า “บ้านพ่อฮักแม่ฮัก” เพื่อได้ทำความรู้จักคุ้นเคยกับคนในชุมชนมากยิ่งขึ้น และศึกษาวิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การทำฟาร์มกุ้ง การใช้ใบกาวย้อมผมธรรมชาติ เป็นต้น รวมถึงร่วมกันศึกษาวิจัยเรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการชุมชนในพื้นที่ตำบลเขาพระนอน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ : กรณีศึกษาหมู่บ้านหนองแสง” เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะของการวิจัย การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม การสรุปและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างมีส่วนร่วมของคนในชุมชนอีกด้วย

นายเจตนิพัทธ์ จตุพรม นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในฐานะประธานค่ายนิติศาสตร์สู่ชุมชนครั้งที่ 6 ได้เผยความรู้สึกในการจัดค่ายในครั้งนี้ว่า “การทำค่ายนิติศาสตร์สู่ชุมชนในครั้งนี้ทำให้เราได้เรียนรู้สังคม วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่นและรู้สึกดีใจที่ทีมงานทุกคนช่วยกันจนค่ายนี้สำเร็จ และต่อมาคือความประทับใจ ที่พ่อแม่พี่น้องชาวบ้านหนองแสง ได้ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น และเป็นกันเองมากๆ  สุดท้ายนี้ ต้องขอขอบคุณทุกๆคนที่มีส่วนร่วมในการทำค่ายในครั้งนี้ครับ”

การจัดค่ายนิติศาสตร์สู่ชุมชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2555 และปีนี้เป็นปีที่ 6 ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้ทำงานร่วมกันและนำเอากำลังแรงกาย แรงใจและองค์ความรู้ออกไปช่วยเหลือสังคมในพื้นที่ต่าง ๆ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้นอกห้องเรียนได้เข้าใจและเห็นสภาพปัญหาจากพื้นที่จริง โดยครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล

 

18425383_1555697907893008_263271917467729920_o 33992985_1555698851226247_4299225678764572672_o 34018384_1554429484686517_6433095259688796160_o 34075991_1554407964688669_1390221329633902592_o 34092954_1554356258027173_6802136124119580672_o 34109673_1554408634688602_1910892226288812032_o 34117944_1554400328022766_6599212354041282560_o 34119480_1555590391237093_8454839440836132864_o 34121290_1555689107893888_595893632481886208_o 34133059_1555686291227503_165053553075814400_o 34135447_1555686884560777_3376230687093817344_o 34138178_1555688824560583_3861717572437147648_o 34138233_1555505957912203_2668078549503574016_o 34199426_1555506891245443_4912248624370417664_o 34199608_1554414511354681_2334659052904120320_o 34199983_1555509637911835_3102148087833952256_o 34203685_1555588141237318_5273276359727120384_o 34216324_1555694864559979_5640616382748950528_o 34216330_1555587537904045_6676928326973521920_o 34268526_1555581991237933_6503623720815296512_o 34307633_1555506367912162_441027514198917120_o 34308280_1555683887894410_5343419291704229888_o 34339204_1555587144570751_5712551840801882112_o33920305_1891442194233681_2092808856055840768_n33693395_1891442327567001_2779706604952485888_n

ภาพ : นายทศพร เวสประชุม นักศึกษาชั้นปี 4

ข่าว : พชร โนนทิง

 

 

กิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาฝึกภาคปฏิบัติการ ประจำปีการศึกษา 2560

กิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาฝึกภาคปฏิบัติการ ประจำปีการศึกษา 2560

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม 2561 ณ ห้องประดิษฐ์มนูธรรม 1 เวลา 13.30-16.00 น. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกิจกรรมโดยมีกิจกรรมกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาฝึกภาคปฏิบัติการ ประจำปีการศึกษา 2560 ให้หลักคิด ความสำคัญและการปฏิบัติตัวในการฝึกงานแก่นักศึกษา โดยท่านอาจารย์ยศ นาคะเกศ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ฝึกงานของรุ่นพี่ที่ฝึกงานในปีที่ผ่านมา หลังจากนั้นเป็นการอธิบายขั้นตอนและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการฝึกงาน โดย งานพัฒนานักศึกษาคณะนิติศาสตร์
ทั้งนี้ กิจกรรมที่จัดขึ้นทำให้นักศึกษามีความพร้อมในการฝึกงานภาคปฏิบัติการและเข้าใจการปฏิบัติตัวเองที่เหมาะสม ซึ่งนักศึกษามีความตั้งใจและเข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี

24-5-61 ปฐมนิเทศนศฝึกงาน 33339733_1798435643569028_1663417666687205376_o 33457351_1798435526902373_3797376475557003264_o 33596133_1798435606902365_6702789261365608448_o 33610993_1798435456902380_8476142117847040000_o

ภาพ/ข่าว : งานพัฒนานักศึกษา

นิติฯ มข. จัด Intellectual Property Campaigns ส่งเสริมการเรียนรู้ทรัพย์สินทางปัญญา

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัด Intellectual Property Campaigns การเรียนรู้ทรัพย์สินทางปัญญา  พร้อมสร้างห้องเรียน แบบ Interactive Learning เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา

วันที่ 24 เมษายน 2561 เวลา 09.00 น. นักศึกษาชั้นปี 3 ได้จัดกิจกรรมโครงการนิทรรศการส่งเสริมการเรียนรู้ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property Campaigns)โดยมี อาจารย์ดารณี ราชภูเขียว และอาจารย์แทนรัฐ คุณเงิน เป็นอาจารย์ประจำรายวิชา 777 342 กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา  เพื่อเป็นการพัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา พร้อมการจัดการเรียนการสอนในลักษณะ Interactive Learning พร้อมเพิ่มเติมข้อมูล (Information) โดยอาจารย์ผู้สอน โดยให้นักศึกษาจัดทำผลงาน สื่อการเรียนรู้ สื่อประชาสัมพันธ์ หรือกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา โดยไม่จำกัดรูปแบบการนำเสนอ รวมถึงจัดซุ้มนิทรรศการเพื่อนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่ม รวมทั้งสิ้น 36 กลุ่ม  โดยแต่ละกลุ่มได้มีการเตรียมข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเสนอต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม อาทิ การแสดงในรูปแบบรายการทีวี การทำวิดิโอเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา การทำ Photo Book แผ่นพับ การเล่มเกมส์ตอบปัญหากฎหมายชิงของรางวัล เป็นต้น

อาจารย์ดารณี ราชภูเขียว อาจารย์ประจำวิชา ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ว่า “เพื่อให้นักศึกษาในรายวิชา 777 342 กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ที่ได้รับฟังการบรรยายเนื้อหาไม่ว่าจะเป็น พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า ในชั้นเรียนมาแล้วนั้น ได้ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญาในแง่มุมต่างๆ หรือมุมมองจากประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดขึ้นในสังคมนอกเหนือจากการบรรยายในชั้นเรียนเท่านั้น ด้วยการค้นคว้าและเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับการเรียนรู้แบบ Interactive Learning และยังเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาฝึกการคิด วิเคระห์และการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังเป็นการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการนำเสนอผลงาน ผ่านสื่อการเรียนรู้ หรือสื่อประชาสัมพันธ์ที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่บุคคลต่างๆที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้ค่ะ”

นายภาณุพงศ์ จันทร์อ้วน นักศึกษาชั้นปี 3 ได้เผยความรู้สึกสำหรับกิจกรรมในวันนี้ว่า “เป็นกิจกรรมที่ให้นักศึกษาได้ต่อยอดจากการฟังบรรยายในห้องเรียนเพื่อมาค้นคว้าหาข้อมูลด้วยตัวเองในการจัดทำนิทรรศการเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา อีกทั้งได้เรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อนๆในการทำงานกลุ่มร่วมกันครับ”

DSC_8665 DSC_8700 DSC_8702 DSC_8704 DSC_8706 DSC_8709 DSC_8710 DSC_8712 DSC_8713 DSC_8714 DSC_8717 DSC_8730 DSC_8733 DSC_8734 DSC_8737 DSC_8739 DSC_8740 DSC_8744 DSC_8747 DSC_8750 DSC_8753 DSC_8756 DSC_8759 DSC_8761 DSC_8764 DSC_8766 DSC_8770 DSC_8773 DSC_8775 DSC_8778 DSC_8781 DSC_8783 DSC_8790 DSC_8791 DSC_8794 DSC_8796 DSC_8799 DSC_8800 DSC_8805 DSC_8817 DSC_8820 DSC_8824 DSC_8828 DSC_8832 DSC_8836 DSC_8844 DSC_8847 DSC_8850 DSC_8861 DSC_8864 DSC_8867 DSC_8868 DSC_8870

ภาพ/ข่าว : พชร โนนทิง

 

ปัจฉิมนิเทศว่าที่บัณฑิตทางกฎหมายพร้อมเสริมทักษะต่างๆที่จำเป็น เตรียมพร้อมสู่การรับใช้สังคม

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดโครงการปัจฉิมนิเทศ ประจำปีการศึกษา 2560 พร้อมการเสริมทักษะที่จำเป็นให้นักศึกษา ก่อนก้าวสู่การเป็นบัณฑิตเพื่อออกไปรับใช้สังคม

วันที่ 29 มีนาคม 2561 คณะนิติศาสตร์ ได้จัดโครงการปัจฉิมนิเทศ ประจำปีการศึกษา 2560 ณ โรงแรมเจริญธานี ขอนแก่น เพื่อเตรียมความพร้อมนักศึกษาของคณะสู่การเป็นบัณฑิตทางกฎหมายออกสู่สังคม ให้มีความพร้อมทั้งด้านวิชาการด้านกฎหมาย และทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพ พร้อมด้วยทักษะการเรียนรู้เชิงสหวิชาการสำหรับศตวรรษที่ 21 ให้นักศึกษาก้าวสู่วิชาชีพด้านกฎหมายอย่างภาคภูมิใจ ในกิจกรรมครั้งนี้คณะได้มีการเตรียมความพร้อมทักษะด้านต่าง ๆ คือ ทักษะการรู้จักวางตัวในสังคม ทักษะโลกศตวรรษที่ 21 ทักษะชีวิตงาน และ ทักษะการเข้าสังคม โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2560 เข้าร่วมกิจกรรมกันอย่างพร้อมเพรียง

ในลำดับแรกได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติบดี ใยพูล คณบดีคณะนิติศาสตร์ ได้กล่าวปัจฉิมนิเทศให้นักศึกษาว่าที่บัณฑิตของคณะประจำปีการศึกษา 2560 ความตอนหนึ่งว่า “ขอชื่นชมกับนักศึกษาทุกคนที่ได้ฝ่าฟันจนประสบความสำเร็จมาถึงวันนี้และขอบคุณนักศึกษาที่ให้ความร่วมมือตลอดระยะเวลาการทำงานร่วมกันตลอดหลักสูตร และขอบคุณไปยังผู้ปกครองที่ได้กรุณาไว้วางใจคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้เป็นสถาบันในการปลูกปัญญาในทางวิชาชีพกฎหมายแก่พวกเราทุกคน คณะไม่สามารถสร้างให้ทุกคนได้เป็นอย่างที่ทุกคนต้องการได้ เพียงแต่คณะมีหน้าที่ในการสร้างโอกาส สร้างพื้นที่ในการเรียนรู้ สร้างทักษะทางวิชาการ ตลอดระยะเวลา 4 ปี พร้อมทั้งเสริมสร้างนิติทัศนะให้กับว่าที่นักกฎหมายรุ่นใหม่ ต้องมีความรอบรู้ไม่เพียงแต่ศาสตร์ทางด้านกฎหมาย แต่ความรอบรู้ที่สังคมคาดหวังยังต้องมีความรู้ของศาสตร์อื่น ๆ เพื่อเติมเต็มความเป็นนักกฎหมายให้สมบูรณ์ และการสร้างนิติทัศนะ คือ การสร้างวิสัยทัศน์นักกฎหมายจะต้องเติมเต็มกับโลกในศตวรรษที่ 21 และวันนี้เป็นอีกโอกาสหนึ่งที่คณะได้จัดกิจกรรมนี้เพื่อเป็นการเตือนว่าที่บัณฑิตของคณะว่าทักษะที่จำเป็นในโลกอนาคตของการเข้าสู่วิชาชีพนั้นมีอะไรบ้าง และตัวนักศึกษาก็ต้องเป็นผู้ที่จะแสวงหาต่อยอดเพิ่มเติม และเป็นกลุ่มนักกฎหมายรุ่นใหม่ที่เป็นหลักให้สังคมและสืบทอดปณิธานนิติทัศนะรับใช้สังคมต่อไป”

หลังจากนั้นเป็นการบรรยายพิเศษในหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้

ทักษะการรู้จักวางตัวในสังคม เรื่อง “การวางตัวและมรรยาททางสังคม”  โดย พลเอกนิพนธ์ สีตบุตร ประธานที่ปรึกษาประจำคณะนิติศาสตร์  ได้บรรยายเรื่องของการวางตัวและมรรยาททางสังคมความตอนหนึ่งว่า “การวางตัวและมรรยาททางสังคมเป็นคุณลักษณะประจำตัวของบุคคล ได้แก่ การสัมมาคารวะ ความสุภาพ อ่อนน้อม ความมีวินัยและพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ปรากฏแก่สายตาของผู้อื่น บุคคลที่มีกริยามารยาทดีจะมีโอกาสได้รับความนิยมชมชอบและชื่นชมจากบุคคลรอบข้าง  มารยาททางสังคมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ทำให้คนเรารู้สึกดีต่อกัน สิ่งที่ดูเล็กน้อยแต่สำคัญ เพราะการมีมารยาทดีเปรียบเสมือนมีอาภรณ์ประดับกายที่งดงาม เป็นที่ชื่นชนและยอมรับของบุคคลรอบข้าง ผู้ที่มีมรรยาทดี มักประสบความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงาน เนื่องจากได้รับการยอมรับและเชื่อถือทางสังคม การมีมารยาทดีจึงเปรียบเสมือนในเบิกทางไปสู่ความสำเร็จ  เพราะฉะนั้นการเป็นนักกฎหมายนอกจากการมีความรู้ทางกฎหมายแล้ว การรู้จักกาลเทศะและวางตัวให้เหมาะสมก็จะยิ่งเป็นตัวช่วยส่งเสริมให้มีความก้าวหน้าและประสบความสำเร็จในเส้นทางอาชีพด้วย”

ทักษะโลกศตวรรษที่ 21 เรื่อง “คิดอย่างมีวิจารณญาณ : ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Critical Thinking) โดย อาจารย์วีระศักดิ์ จิตตะวิริยะพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกอบรมและบริการข้อมูลแห่งประเทศไทย (TBIC) ได้บรรยายถึงหลักการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) ซึ่งเป็นกระบวนการใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา เป็นการใช้ข้อมูลและการแก้ปัญหา เพื่อช่วยตัดสินใจ อย่างมีเหตุผล เกี่ยวกับสิ่งที่จะทำหรือเชื่อต่อไป  มีหลายกลยุทธ์ (Strategies) ที่ช่วยให้เราคิด เชิงวิเคราะห์ ประเมินปัญหา และตัดสินใจแก้ปัญหาอย่าง สร้างสรรค์ เมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาออกไปต้องเข้าสู่ชีวิตวัยทำงานประกอบกับยุคปัจจุบันที่ถือเป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสารที่สามารถสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วผ่านเทคโนโลยีที่เรียกว่า Smart Phone จึงมีความจำเป็นต้องใช้ทักษะการคิดในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยตัดสินใจเกี่ยวกับความถูกต้องของข้อมูล เพื่อเลือกสิ่งต่างๆ จากตัวเลือก (Choices) ทั้งหลายที่มีอยู่มากมาย โดยได้แนะนำในการฝึกทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ เช่น 1.การตั้งคำถาม คือการไม่รีบด่วนตัดสินใจ แต่จะต้องฝึกหัดในการตั้งคำถามก่อนเสมอ  2.การกระตุ้นให้มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาและกระบวนการ  3.การหลีกเลี่ยงการแสร้งทำเป็นว่ารู้คำตอบทั้งๆที่ไม่รู้  โดยจุดมุ่งหมายของการฝึกทักษะการคิดแบบวิพากษ์ (Critical Thinking) ก็คือการกระตุ้นให้เกิดคำถามอยู่เสมอ ให้สงสัยในสิ่งที่ได้ยิน ได้เห็น ได้อ่าน และสำรวจความคิดของตนเอง ในฐานะของการเป็นนักกฎหมายรุ่นใหม่ว่าที่บัณฑิตนิติศาสตร์ต้องคำนึงถึงแนวความคิดที่แตกต่างกันและหลากหลาย และเปิดโอกาสให้อภิปรายแสดงความเห็นอย่างอิสระในลักษณะระดมสมองพร้อมกับยอมรับความคิดเห็นของทุกคนด้วย

ทักษะชีวิตงาน เรื่อง “เทคนิคการปรับตัวสู่ชีวิตวัยทำงาน” โดย อาจารย์สุทธิพงศ์  เมธาภิวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคคลและระบบคุณภาพ ได้บรรยายถึงเทคนิคการเตรียมความพร้อมสู่ชีวิตวัยทำงาน ซึ่งในโลกของการทำงานอาจดูงดงามสวยหรูในสายตาของนักศึกษาจบใหม่หลายๆคน แต่ที่จริงแล้วนั้น หากเปรียบมหาวิทยาลัยเป็นโรงเรียนเตรียมทหาร โลกของการทำงานก็คือสนามรบที่แท้จริงนั่นเอง ซึ่งถือเป็นเวทีชีวิตที่แท้จริง รอให้เหล่าว่าที่บัณฑิตทั้งหลายไปเรียนรู้และลงมือทำ ดังนั้น การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนก้าวเข้าสู่ โลกวัยทำงาน ถือเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการเตรียมพร้อมต่าง ๆ เช่น ทำความเข้าใจในหน้าที่ความรับผิดชอบ  เรื่องของการสื่อสาร การสร้างความเป็นมืออาชีพ เป็นต้น การเริ่มต้นวัยทำงานของนักศึกษาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2560 นี้ ให้ประสบความสำเร็จ นั้นมีอยู่หลายวิธี ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกใช้วิธีการไหนมาปฏิบัติ บางคนสังเกตเอาจากเพื่อนร่วมงาน หรือรุ่นพี่คนอื่น ๆ แล้วเอามาพิจารณาดูว่าวิธีการไหนมีความเหมาะสม แล้วควรนำมาปฏิบัติตาม การทำงานที่ก้าวหน้านั้นไม่ได้เริ่มต้นแล้วสำเร็จภายในวันเดียว แต่ต้องอาศัยเวลาในการฝึกฝน แล้วการเริ่มต้นวัยทำงานเหล่าว่าที่บัณฑิตของคณะนิติศาสตร์จะไม่เป็นเรื่องยากอีกต่อไป

หลังจากนั้นเป็นช่วงเสริมทักษะพร้อมปฏิบัติจริงในเรื่องของ ทักษะการเข้าสังคม เรื่อง “มารยาทบนโต๊ะอาหาร”  โดยได้รับเกียรติจากทีมวิทยากรของโรงแรมเจริญธานีได้บรรยายการรับประทานอาหารแบบ Europe Set พร้อมให้นักศึกษาได้ปฏิบัติไปพร้อมๆกัน อาทิ การใช้ช้อน-ส้อม (มีด) ตามลำดับให้ถูกต้อง การระมัดระวังกริยาบนโต๊ะอาหาร รักษาความเร็วในการรับประทานอาหาร เป็นต้น

นายภูมิภาค ภูพันนา นักศึกษาชั้นปี 4 ที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ได้เผยความรู้สึกว่า “รู้สึกดีใจที่คณะจัดกิจกรรมในครั้งนี้ให้กับนักศึกษาเป็นงานปัจฉิมนิเทศที่ไม่เหมือนที่คิดไว้เดิมจะมีเพียงการกล่าวปัจฉิมจากผู้บริหาร คณาจารย์และก็จบกิจกรรม แต่กิจกรรมในวันนี้ทำให้รู้ว่าคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นไม่ได้เพียงแต่สร้างทักษะทางวิชาการให้แก่นักศึกษา แต่ยังพัฒนาให้นักศึกษามีทักษะชีวิต ทักษะในการทำงานเพื่อให้เราเป็นบัณฑิตที่มีนิติทัศนะรับใช้สังคมอย่างแท้จริง”

DSC_5306 DSC_5201 DSC_5222 DSC_5212 DSC_5268 DSC_5325 DSC_5273 DSC_5279 DSC_5226 DSC_5196 DSC_5197 DSC_5309 DSC_5313 DSC_5348 DSC_5349 DSC_5358 DSC_5450 DSC_5465 DSC_5513 DSC_5671 DSC_5723 DSC_5717 DSC_5479 DSC_5459 DSC_5342 DSC_5698 DSC_5668 DSC_5462

ภาพ/ข่าว : พชร โนนทิง

 

ห้องเรียนสิทธิมนุษยชน และสันติศึกษาสัญจร

คณะนิติศาสตร์ ร่วมกับ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล จัดกิจกรรมห้องเรียนสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาสัญจร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาให้กับนักศึกษา

วันที่ 24 มีนาคม 2561 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม “ห้องเรียนสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาสัญจร” เพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาให้กับนักศึกษาซึ่งถือเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนสังคม โดยกิจกรรมมีการบรรยายเรื่อง องค์ความรู้สิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา สถาการณ์สิทธิมนุษยชนสากล โดยสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึง การเสวนาพูดคุยเกี่ยวกับ กรณีปัญหาสิทธิมนุษยชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย นายเดชา เปรมฤดีเลิศ ผู้ทรงคุณวุฒิเทศบาลนครขอนแก่น และนายสุวิทย์ กุหลาบวงษ์ นายกสมาคมสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมและเลขาธิการคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคอีสาน (กป.อพช.) และปิดท้ายด้วยการถอดสรุปกิจกรรมองค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา และข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อไป

ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0001 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0003 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0004 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0005 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0006 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0007 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0008 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0010 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0011 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0012 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0013 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0014 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0021 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0029 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0030 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0043 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0044 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0047 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0048 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0051 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0052 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0054 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0056 ห้องเรียนสิทธิ #1_๑๘๐๓๒๖_0057